ตื่น!หวั่นซ้ำรอยโรค“อีเอ็มเอส” ฉุดส่งออกกุ้ง 6 หมื่นล้านวูบ

30 เม.ย. 2562 | 04:40 น.

ผวาซ้ำรอยโรคตายด่วน  กรมประมงตื่นประกาศเพิ่มชื่อโรค "เอสเอชไอวี" และ "อีเอชพี"  ไวรัส 2 ตัวใหม่ คร่าชีวิตกุ้งผลผลิตลด บีบอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ฯ ป้องอุตสาหกรรม 6 หมื่นล้านฉุดส่งออกวูบ  ป้องนำเข้า ชี้ผู้ส่งออกต้องสำแดงแจงแหล่งที่มานำเข้าชัด สกัดตรวจสอบ

 

สมาคมกุ้งไทย มีการคาดการณ์ในปี 2562 คาดว่าไทยจะมีผลผลิต ที่ 3.1-3.2 แสนตัน เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน และคาดว่าจะส่งออกได้ 2 แสนตัน มูลค่า 6 หมื่นล้านบาท โดยตลาดส่งออกหลักกุ้งไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น 3.จีน อสเตรเลีย  และสหภาพยุโรป (อียู)  

ตื่น!หวั่นซ้ำรอยโรค“อีเอ็มเอส” ฉุดส่งออกกุ้ง 6 หมื่นล้านวูบ

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าในปัจจุบันนี้โรคระบาดที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตกุ้ง จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ (1) โรค Hepatopancreatic microsporidioisis caused by Enterocytozoon hepatopenaei หรือ EHP ที่เกิดจากเชื้อไมโครสปอริเดีย ส่งผลให้กุ้งโตช้า แตกไซส์ อาจทำให้เกิดอาการขี้ขาวกุ้งทยอยตาย และ (2) โรค Shrimp hemocyte iridescent virus หรือ SHIV ซึ่งมีรายงานการเกิดโรคนี้ในต่างประเทศ  มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุทำให้กุ้งมีอัตราการตายสูง คล้ายที่ไทยเคยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคกุ้งตายด่วน หรือ "อีเอ็มเอส" ในช่วง 6-7 ปีก่อนหน้านี้ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตกุ้งลดลงอย่างมาก และมีผลกระทบต่อเนื่องถึงยอดการส่งออกกุ้งของไทยในปัจจุบัน

ตื่น!หวั่นซ้ำรอยโรค“อีเอ็มเอส” ฉุดส่งออกกุ้ง 6 หมื่นล้านวูบ

ดังนั้น​เพื่อเป็นการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เชื้อโรคดังกล่าวเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย โดยเฉพาะจากพ่อแม่พันธุ์กุ้งหรืออาหารมีชีวิตที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 กำหนดให้ โรค "อีเอชพี" และ "โรคเอสเอชไอวี" ซึ่งเกิดในกุ้ง เป็นโรคภายใต้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  (ฉบับที่3) พ.ศ. 2562 เช่นเดียวกับโรคอื่นๆ ในสัตว์น้ำที่เคยมีการประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ จำนวน 38 โรค

ตื่น!หวั่นซ้ำรอยโรค“อีเอ็มเอส” ฉุดส่งออกกุ้ง 6 หมื่นล้านวูบ

จากการประกาศครั้งนี้จะทำให้กรมประมงสามารถกำหนดมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นบนฐานของกฎหมาย รวมทั้งกำหนดให้กุ้งที่นำเข้ามาจะต้องมาจากแหล่งที่ปลอดโรคที่ภาครัฐกำหนด นอกจากนั้น การเพาะเลี้ยงภายใน ประเทศก็จำเป็นต้องปรับเข้าสู่ระบบปิดและจัดการฟาร์มตามหลักไบโอซีเคียวริตี้ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดในกุ้งไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตกุ้งเหมือนช่วงที่โรค EMS ระบาด ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยปกป้องและรักษาเสถียรภาพอุตสาหกรรมกุ้งไทยให้เข้มแข็งต่อไปได้

ตื่น!หวั่นซ้ำรอยโรค“อีเอ็มเอส” ฉุดส่งออกกุ้ง 6 หมื่นล้านวูบ