เมื่อ "ดีแทค" พลิกกำไร 1.4 พันล้าน

29 เม.ย. 2562 | 04:48 น.

  คอลัมน์ : Move On

| เรื่อง
มื่อ "ดีแทค" พลิกกำไร 1.4 พันล้าน

| โดย : คนท้ายซอย

 

ใครจะไปเชื่อว่าไตรมาสแรกของปีนี้ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  จะพลิกกลับมากำไร 1.4 พันล้านบาท 
    ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้  ดีแทค ยอมควักเงินก้อนโต จำนวน 9.5 พันล้านบาท เพื่อปลดล็อกข้อพิพาท กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่เกิดขึ้นช่วงที่อยู่ภายใต้สัมทปานคาราคาซังมายาวนานเกือบ 27 ปี สิ้นสุดสุดสัมปทานไปแล้วเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2561 
    หลังจาก ดีแทค  ยอมค้าความกับ กสท ส่งผลให้ตัวเลขผลประกอบการประจำปี 2561 ขาดทุนถึง  4.4 พันล้านบาท
    แต่สิ่งที่น่าตกใจเมื่ดผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2561 ปรากฏว่า ดีแทค พลิกกำไรเป็นบวก แม้กำไรอยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ทว่ารายได้จากการให้บริการจะลดลง 
    รายได้ที่ปรับตัวลดลงครั้งนี้ ดีแทค ชี้แจงว่าซึ่งเป็นผลจากโครงสร้างต้นทุนใหม่เต็มไตรมาสเป็นครั้งแรกหลังการสิ้นสุดระบบสัมปทาน ซึ่งรวมถึงการลดลงของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 
    ขณะที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (EBITDA – CAPEX) สำหรับไตรมาส 1/62 กลับมาเป็นบวกที่ 1.7 พันล้านบาท แม้ว่ายังมีการดำเนินการขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ายังมีการดำเนินการขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง 

 

เมื่อ "ดีแทค" พลิกกำไร 1.4 พันล้าน
     นอกจากนี้ ฐานะทางการเงินยังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA อยู่ที่ 1.3 เท่า และมีเงินสด ณ สิ้นไตรมาส 1/62 จำนวน 1.28 หมื่นล้านบาท
    ส่วนจำนวนลูกค้า ณ สิ้นปี 2561 มีจำนวน 21.2 ล้านเลขหมาย แต่ไตรมาสนี้ลดลงอยู่ที่ 20.7 ล้านเลขหมาย และ มีจำนวนสถานีฐานอยู่ที่ 15,400 สถานีซึ่งเพิ่มขึ้น 2,700 สถานีในช่วงไตรมาสนี้ ลูกค้าประมาณ 7.8 ล้านราย หรือร้อยละ 76 ของฐานลูกค้า 4G ได้ใช้บริการบนโครงข่ายคลื่นความถี่ 2300 MHz ทั้งนี้โครงข่ายโดยรวมของดีแทคครอบคลุม 94% ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ 
    แม้จำนวนรายได้ และ ฐานลูกค้าปรับตัวลดลงก็ตาม ในส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ "เทเลนอร์" ไม่ค่อยกังวลในเรื่องนี้ เพราะสิ่งที่ผู้ถือหุ้นกังวล คือ ผลประกอบการ ถ้าทำกำไรไตรมาสแรกได้ถึงขนาดนี้ "เทเลนอร์" ยิ้มแทบไม่หุบ
    คงรอลุ้นว่าวันที่ 10 พ.ค.นี้ ดีแทค จะยื่นความจำนงขอยืดชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz หรือไม่ หากรับเงื่อนไขสิ่งที่ตามมา คือ ต้นทุนจากการจ่ายค่าคลื่น 900 MHz ในปี 2563 จำนวน 8,000 ล้านบาท จากเดิมในปี 2563 และ 2564 ที่ ดีแทค จะต้องจ่ายปีละ 2,151 ล้านบาท และปี 2565 ที่จะต้องจ่าย 32,126 ล้านบาท จะเปลี่ยนมาเป็น ปี 2563 จ่าย 7,917 ล้านบาท และอีก 7 ปีที่เหลือ จนถึงปี 2570 จะจ่ายปีละ 4,073 ล้านบาท
    

   งานนี้ต้องวัดใจ! "ดีแทค" เช่นเดียวกัน 

 

                                                            เมื่อ "ดีแทค" พลิกกำไร 1.4 พันล้าน