อาเซียนวิกฤตการค้าพลาสติกรีไซเคิลระดับโลก 

24 เม.ย. 2562 | 07:55 น.

รายงานของเครือข่ายสากลเพื่อยุติเทคโนโลยีเผาขยะและส่งเสริมทางเลือกในการจัดการของเสีย(GAIA -Global Anti Incinerator Alliance) ที่ใช้ข้อมูลการค้าขยะทั่วโลกจากกรีนพีซเอเชียตะวันออก(Greenpeace East Asia) มาวิเคราะห์  ระบุว่าขยะพลาสติกที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำการตายของพืชการเจ็บป่วยของผู้คนและมลพิษจากการเผาขยะในที่โล่งได้ไหลบ่าเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนในรูปแบบของการรีไซเคิล

อาเซียนวิกฤตการค้าพลาสติกรีไซเคิลระดับโลก 

“ขยะพลาสติกจากประเทศอุตสาหกรรมกำลังคุกคามชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงพื้นที่อันสดใสและสวยงามให้เป็นหลุมฝังกลบขยะพิษนี่คือที่สุดของความไม่เป็นธรรมซึ่งประเทศและชุมชนต่างๆที่มีศักยภาพและทรัพยากรอย่างจำกัดในการจัดการมลพิษพลาสติกได้ตกเป็นเป้าหมายของการระบายขยะพลาสติกจากบรรดาประเทศอุตสาหกรรม” วอนเฮอร์นันเดซผู้ประสานงานระดับสากลของเครือข่ายBreak Free from Plastic กล่าว

เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของขยะพลาสติกรีไซเคิลทั้งก่อนและหลังการห้ามนำเข้าขยะพลาสติกของจีนในปี2561 กรีนพีซเอเชียตะวันออกได้รวบรวมข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกจากผู้ส่งออก21 อันดับแรกโดยมีสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรเยอรมนีและญี่ปุ่นที่ถูกจัดอยู่ในลำดับต้นๆ  รวมถึงการรวบรวมข้อมูลผู้นำเข้าเศษพลาสติก21 อันดับแรก

ในขณะเดียวกันการสำรวจภาคสนามของเครือข่ายGAIA ในอินโดนีเซียมาเลเซียและไทยได้ลงลึกถึงกิจการรีไซเคิลที่ผิดกฎหมายและเกี่ยวข้องกับอิทธิพลมืด การเผาขยะในที่โล่งการปนเปื้อนในแหล่งน้ำการตายของพืชและการเจ็บป่วยที่เพิ่มมากขึ้นที่เชื่อมโยงกับมลพิษในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ทำให้ประชาชนลุกขึ้นประท้วงและทำให้รัฐบาลเดินหน้าออกข้อบังคับเพื่อป้องกันประเทศจากการเป็นที่ทิ้งขยะพลาสติกหลายประเทศทำตามแบบจีนในการออกนโยบายห้ามนำเข้าขยะพลาสติก

ข้อมูลบ่งชี้ว่าวิกฤตพลาสติกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันเป็นสุดยอดของการค้าขยะพิษระดับโลกโดยมีทั้งขยะที่ส่งออกและขยะที่สะสมพื้นที่ของทุกๆประเทศที่เกี่ยวข้องไม่เว้นแต่ประเทศที่เคยเป็นผู้ส่งออกขยะในภาพรวมการส่งออกขยะพลาสติกลดลงเกือบร้อยละ50 จาก12.5 ล้านตันในปี2559 เป็น5.8 ล้านตันในปี2561 (ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2561) ทั้งนี้เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าการผลิตพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นดังนั้นการส่งออกที่ลดลงนั้นหมายถึง“พลาสติกรีไซเคิล” จะยังคงถูกสะสมหรือถูกนำไปกำจัดอย่างไม่เหมาะสมในประเทศต้นทาง[1]

แต่ถึงกระนั้นการส่งออกขยะพลาสติกก็ไม่ได้รับประกันถึงการกำจัดขั้นสุดท้ายที่เหมาะสม  ปัจจุบันการส่งออกขยะมีเส้นทางไปยังประเทศต่างๆที่มีข้อบังคับไม่เพียงพอที่จะปกป้องตนเองยกตัวอย่างเช่นNorth Sumengko ในอินโดนีเซียกลายเป็นพื้นที่ทิ้งขยะพิษจากต่างประเทศเพียงชั่วข้ามคืนการสำรวจภาคสนามของเครือข่ายGAIA พบกองขยะทับถมกันสูงถึง2 เมตรการทิ้งอย่างมักง่ายและการเผาขยะในที่โล่งในเขตชุมชนเกษตรกรรม

กระบวนการเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไปนอกเสียจากว่าจะมีการจัดการอย่างเด็ดขาดและหลังจากที่จีนประกาศห้ามนำเข้าขยะพลาสติกขยะจะถูกส่งไปยังมาเลเซียเวียดนามและไทยซึ่งในเวลาต่อมาไม่นานได้มีความเข้มงวดการนำเข้าขยะ  ท้านที่สุดการส่งออกขยะจึงมุ่งไปยังอินโดนีเซียอินเดียและตุรกี

“เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งควบคุมการนำเข้าขยะพลาสติกขยะพลาสติกเหล่านั้นก็ถูกผลักไปสู่ปลายทางที่ไม่มีการควบคุมและเมื่อประเทศนั้นมีการตั้งกฎควบคุมขึ้นขยะดังกล่าวก็จะถูกผลักไปสู่ประเทศอื่นอีกนี่คือระบบการล่าเหยื่อและยังไร้ประสิทธิภาพมากขึ้นสิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงการมีพลาสติกมากขึ้นที่อยู่หลุดรอดไปในที่ที่เราไม่เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น  นี่คือสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้”เคทลินผู้ประสานงานณรงค์อาวุโสกรีนพีซเอเชียตะวันออกกล่าว

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลที่จะจัดขึ้นในวันที่29 เมษายนถึง10 พฤษภาคมพ.ศ.2562 ที่สวิตเซอร์แลนด์เพื่อพิจารณาข้อเสนอจากนอร์เวย์ในประเด็นเรื่องความโปร่งใสและตรวจสอบได้มากขึ้นในการค้าขยะพลาสติกทั่วโลกข้อเสนอดังกล่าวระบุว่าผู้ส่งออกขยะพลาสติกควรได้รับอนุญาตจากประเทศปลายทางล่วงหน้าซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่า“การยินยอมล่วงหน้า” ซึ่งเป็นระบบที่ใช้อยู่แล้วสำหรับกากของเสียอันตรายประเภทต่างๆ

"ในขณะที่ประเทศที่ร่ำรวยทิ้งขยะพลาสติกคุณภาพต่ำของพวกเขาไปยังประเทศกำลังพัฒนาสิ่งที่ประชาคมโลกสามารถทำได้อย่างน้อยที่สุดคือการปกป้องสิทธิของการรับรู้ข้อมูลว่าสิ่งที่พวกเขาได้รับคืออะไรอย่างไรก็ตามประเทศส่งออกขยะพลาสติกต้องจัดการปัญหามลพิษพลาสติกในประเทศของตนแทนที่จะผลักภาระไปสู่ประเทศอื่นๆ” โบว์บาคองกีส  ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลาสติกประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกองค์กรGAIA กล่าว

วิกฤตพลาสติกนี้ยังที่มาที่ชัดเจนคือบริษัทที่ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อเพิ่มผลกำไร

“การรีไซเคิลตามไม่ทันกับการผลิตพลาสติกมีเพียงร้อยละ9 ของพลาสติกที่ผลิตได้เท่านั้นที่ถูกนำมารีไซเคิลทางออกเดียวสำหรับการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกคือการผลิตพลาสติกให้น้อยลงผู้ใช้พลาสติกรายใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างเช่นเนสท์เล่และยูนิลิเวอร์และยังรวมถึงซูเปอร์มาเก็ตจำเป็นต้องลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและมุ่งสู่ระบบการเติมและการใช้ซ้ำ” เคทลินกล่าวเสริม