วสท.เสนอรัฐผนึกกำลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5

21 เม.ย. 2562 | 08:56 น.

วสท.ผนึกพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมจัดเวทีเสวนาระดมความคิดเสนอแนะรัฐ“ผนึกกำลังฝ่าวิกฤติฝุ่นพิษPM 2.5 ชี้แนะอยู่กับฝุ่นอย่างไร…ให้ชีวิตรอดปลอดภัย” ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน

วสท.เสนอรัฐผนึกกำลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5

ดร.ธเนศ  วีระศิริ  นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) เปิดเผยว่าร่วมกับศ.ดร. ธเรศศรีสถิตย์สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทยรศ.วงศ์พันธ์ลิมปเสนีย์กรรมการสาขาวิศวกรรมยานยนต์วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(วสท.) และวิทยาลัยพัฒนามหานครมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และคุณสนธิคชวัฒน์ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทยจัดเวทีเสวนาระดมความคิดเรื่อง“ผนึกกำลังฝ่าวิกฤติฝุ่นพิษPM 2.5 อยู่กับฝุ่นอย่างไร…ให้ชีวิตรอดปลอดภัย” พร้อมข้อแนะนำแก่ภาครัฐโดยมุ่งเสนอการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการด้วยองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนแก่รัฐบาลและประชาชนในการอยู่กับฝุ่นอย่างไรให้ชีวิตรอดปลอดภัยทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน

วสท.เสนอรัฐผนึกกำลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5          

ดร.ธเนศ กล่าวอีกว่าสำหรับปัญหาและสาเหตุฝุ่นควันพิษในภาคเหนือมีสาเหตุที่แตกต่างไปจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) โดยมาจากการลักลอบเผาไฟป่าการเผาตอซังเกษตรและการเผาในที่โล่งการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และฝุ่นควันจากประเทศใกล้เคียงเนื่องจากในฤดูร้อนจะเกิดการทับถมของใบไม้และกิ่งไม้จำนวนมากจึงกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีและยากต่อการควบคุม 

 

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ไฟป่า9 จังหวัดภาคเหนือในช่วงระหว่าง1 ต.ค. – 27 มี.ค. ในพื้นที่ภาคเหนือปีงบประมาณ2562 จำนวน49,565 ไร่และปี2561 จำนวน28,118 ไร่จนรัฐบาลมีคำสั่งคลี่คลายปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อลดฝุ่นควันและจุดความร้อนHot Spot 

 

ประการสำคัญสถิติประเทศไทยพบว่ามีการปลูกข้าวโพดกว่า7 ล้านไร่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีเผาเพื่อเตรียมเพาะปลูกใหม่นอกจากสร้างมลพิษแล้วยังทำให้ดินเสียหายถึงเวลาที่เกษตรกรไทยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่มาใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นโดยใช้วิธีไถกลบเป็นปุ๋ยแทนการเผาทำลายหรือแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 

ทั้งนี้ภาครัฐและชุมชนควรจัดหาอุปกรณ์เครื่องจักรกลหรือบริการเช่าราคาไม่แพงเช่นนำซังข้าวโพดมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์และนำเปลือกข้าวโพดมาหมักใช้เป็นอาหารสัตว์เป็นต้น 

วสท.เสนอรัฐผนึกกำลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5

สำหรับการฟื้นฟูคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมระยะยาวพบว่าประเทศจีนเร่งโครงการปลูกป่าในระยะเวลา5 ปีนี้ครอบคลุมพื้นที่รวม7 หมื่นตร.กม. ซึ่งมีอาณาเขตกว้างกว่าขนาดประเทศฝรั่งเศสด้วยความร่วมมือจากภาครัฐเอกชนและประชาชน

 

ส่วนปัญหาฝุ่นพิษในกทม.นั้นในขณะที่ประเทศไทยมียอดจดทะเบียนรถยนต์สะสมประมาณ20 ล้านคันในจำนวนนี้10.3 ล้านคันจดทะเบียนในกรุงเทพฯและเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซล2.6 ล้านคันซึ่งใช้มาตรฐานไอเสียยูโร1,2,3,4 หากใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้นเป็นยูโร5 ก็จะช่วยลดปริมาณฝุ่นควันจากท่อไอเสียทางกระทรวงอุตสาหกรรมควรเร่งรัดความร่วมมือกับ12 ค่ายรถยนต์ให้เป็นจริงโดยเร็วเช่นยกระดับการผลิตรถยนต์มาตรฐานยูโร5 สำหรับรถยนต์ทุกคันภายในปี2564 และวางแผนเตรียมยกระดับเป็นมาตรฐานยูโร6 ภายในปี2565 เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นPM 2.5 โดยสามารถลดการปล่อยฝุ่นละอองที่เป็นพิษจากรถยนต์ใหม่ลงได้ถึง80% 

 

ทั้งนี้สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เรียกร้องการผลิตน้ำมันระดับยูโร5 ด้วยเพราะทั้งรถเก่าและรถที่ขายในปัจจุบันหากใช้น้ำมันระดับยูโร5 ก็จะสามารถลดมลพิษได้ทันทีรวมถึงการยกระดับใช้น้ำมันไบโอดีเซลB20 ในรถยนต์ดีเซลจะทำให้การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ง่ายขึ้นการเผาไหม้ดีขึ้นเครื่องสตาร์ทติดง่ายและการหล่อลื่นที่ดีกว่าซึ่งช่วยลดการปล่อยควันดำสาเหตุของฝุ่นPM 2.5 

 

ประการสำคัญจะต้องมีการเตรียมความพร้อมทุกด้านทั้งผู้ผลิตรถยนต์ชิ้นส่วนรถยนต์และบริการน้ำมันยูโร5 อย่างทั่วถึงและรัฐบาลต้องเข้มงวดในการตรวจสภาพรถยนต์เก่าโดยใช้มาตรการตรวจสอบการปล่อยไอเสียอย่างจริงจังและเก็บภาษีรายปีเพิ่มขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รถเปลี่ยนซื้อรถคันใหม่แทนการเสียค่าบำรุงรักษาที่สูงเกินไป

 

นอกจากนั้นปัญหาฝุ่นPM 2.5 มีมานานหลายปีแต่เพิ่งจะเกิดการตื่นตัวตรวจคุณภาพอากาศกันจริงจังในปีนี้เนื่องจากมีข้อมูลจาก50 สถานีทั่วประเทศซึ่ง24 สถานีอยู่ในกทม. ได้พบค่าฝุ่นPM 2.5 สูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพนอกจากนี้ในภาคเหนือตอนบน9 จังหวัดมีฝุ่นPM 2.5 สูงกว่าในกทม.ค่อนข้างมากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งควรกำหนดเป็นนโยบายด้านมลพิษอากาศและจะต้องมีมาตรการรองรับอย่างเข้มแข็ง

ดร.ธเนศกล่าวอีกว่าสำหรับข้อสรุปวสท.เสนอแนะการแก้ปัญหาแก่ภาครัฐได้แก่1.มาตรการด้านรถยนต์ได้แก่การปรับเปลี่ยนมาตรฐานน้ำมันและเครื่องยนต์เป็นยูโร5 และ6 ภายใน4 ปี, ผลักดันให้รถขนส่งธารณะและรถยนต์พ่วงบรรทุกขนาดใหญ่ใช้NGVหรือเป็นเครื่องยนต์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ยูโร5, ในเขตกทม.เมื่อรถไฟฟ้าครบLoop ต้องจำกัดปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินเช่นต้องมีที่จอดรถเท่านั้นถึงจะจดทะเบียนได้,ส่งเสริมและจูงใจการลงทุนการผลิตรถเครื่องยนต์ไฟฟ้าจากภาคเอกชน,ห้ามรถเครื่องยนต์ดีเซลอายุเกิน10 ปีวิ่งในเขตกรุงเทพและปริมลฑล,กำหนดให้รถเครื่องยนต์ดีเซลติดตั้งDiesel Particulate Filter หรือDPF,ควบคุมการจราจรไม่ให้ใช้รถยนต์เช่นลดราคาค่ารถไฟฟ้าและลดโดยสาร ห้ามจอดรถริมถนน จำกัดที่จอดรถในเมือง กำหนดเลนจักรยาน จำกัดปริมาณมอเตอร์ไซด์ส่วนบุคคล ปิดลานจอดรถตามหน่วยงานรัฐ เข้มงวดการจอดรถยนต์ริมถนนเป็นต้น

2. มาตรการด้านโรงงานอุตสาหกรรมและกิจกรรมใช้ฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงได้แก่การกำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยฝุ่นที่ปลายปล่องใหม่โดยกำหนดเป็นค่า Loading (ความเข้มข้น*อัตราการปล่อย)คือในช่วงปกติและช่วงฤดูหนาว( พฤศจิกายน-มีนาคม),เพิ่มประเภทโรงงานเพื่อให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติที่ปลายปล่อง,เก็บภาษีการปล่อยมลพิษทางอากาศ

3. มาตการลดการเผาในที่โล่งได้แก่กำหนดช่วงเวลาห้ามเผาขยะ ชีวมวลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้ชัดเจนและกำหนดมาตรการจูงใจเพิ่มเติม, รัฐสร้างเตาเผาที่มีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่เพื่อประชาชนใช้ร่วมกันโดยมีหน่วยราชการดูแลอย่างใกล้ชิด, ภาครัฐส่งเสริมวิธีการที่เป็นมิตรกับสวล. เช่นการไถกลบวัสดุทางการเกษตรการทำปุ๋ยหมัก การทำก๊าซชีวมวลเป็นต้น 

4. ผังเมืองและพื้นที่สีเขียวได้แก่การควบคุมการขยายตัวของอาคารสูงตามแนวรถไฟฟ้าและถนนที่ตัดขึ้นใหม่ให้มีระยะห่างช่องทางของลมพัดผ่าน, การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มต้นไม้ในเมือง(City Garden) ทั้งแนวเส้นทางจราจรและสวนสาธารณะให้ได้อย่างน้อย9.0 ตร.ม./คนเป้าหมายคือ15 ตร.ม./คน, ริมเส้นทางจราจรที่เปิดใหม่ให้นำสายไฟและสายอื่นๆลงใต้ดินและปลูกต้นไม้แทน

5. การบริหารจัดการจัดทำAction plansให้มีรูปแบบของการจัดการภัยพิบัติเพื่อตอบโต้กรณีฉุกเฉินทางมลพิษทางอากาศในช่วงWinter smog ให้ชัดเจน, มีศูนย์บัญชาการตอบโต้โดยให้ผู้ว่าการจังหวัดเป็นCommander และหน่วยงานต่างๆร่วมสนับสนุน, ให้ภาคประชาชนและนักวิชาการเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินการทั้งทางตรงและทางอ้อม, สร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนทำงานอย่างโปร่งใสใส่ใจต่อสุขภาพของประชาชนเป็นหลักและต้องบอกความจริงเป็นระยะ, เป้าหมายทุกมาตรการนำไปสู่การลดค่ามาตรฐานฝุ่น2.5 เฉลี่ย24 ชั่วโมงที่กำหนดไว้50 มค.ก./ลบ.ม. ให้เป็น35 มค.ก./ลบ.ม. ภายในระยะเวลา3 ปี

“ทั้งนี้ประเทศไทยต้องอาศัยกลไกในการเป็นประธานอาเซียนนำเรื่องการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนเป็นวาระสำคัญในการพิจารณาของอาเซียนตลอดจนรัฐบาลไทยต้องจัดให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดการปัญหานี้ให้ได้, ต้องทำความเข้าใจและเข้าถึงประชาชนรากหญ้าที่ทำการเผาทุกพื้นที่โดยต้องทราบถึงปัญหาของเขาอย่างแท้จริงและถ้าไม่เผาจะร่วมมือกับรัฐอย่างไรรัฐจะช่วยเหลืออะไรซึ่งต้องอาศัยกลไกของอำเภอตำบลและหมู่บ้านในระดับกำนันและผู้ใหญ่บ้านต้องขับเคลื่อนดูแลพื้นที่ตนเองรวมทั้งใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดด้วยโดยมีตัวชี้วัดคือจำนวนHotspot ต้องลดลง, ต้องหารือและจัดการกับทุนใหญ่ไม่ให้รับซื้อข้าวโพดและพืชไร่ที่มาจากพื้นที่ที่ทำการเผาทั้งในและนอกประเทศรวมทั้งตรวจสอบหากพบว่าผู้ประกอบการรายใดสนับสนุนและอยู่เบื้องหลังการเผาต้องแอนตี้สินค้าและดำเนินคดี”

วสท.เสนอรัฐผนึกกำลังฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5