การเรียนรู้ยุคใหม่ ที่ไหน - เมื่อไรก็ได้ ถ้าอยากรู้

20 เม.ย. 2562 | 00:35 น.

บนโลกของการเรียนรู้ยุคใหม่ การเรียนไร้ขอบเขต ไม่ต่างจากการสื่อสาร เพราะมันคือยุคที่เด็กๆ หรือผู้ต้องการเรียนรู้ มีอุปกรณ์อยู่ในมือ นั่นก็คือ โทรศัพท์มือถือ เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต มีไวไฟ ทุกอย่างก็สามารถค้นหาได้ เรียนรู้ได้ทันที และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่การเรียนรู้ยุคใหม่ ถูกดิสรัปแล้วด้วยเทคโนโลยี นอกจากผู้เรียน ต้องปรับตัว เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ จกาเครื่องมือที่มีอยู่ติดกับตัว สำหรับตัวผู้สอน ก็ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปทุกคน โดยเฉพาะการเข้าถึงและเข้าใจผู้เรียน และทำหน้าที่เป็นโค้ช ที่สามารถให้คำปรึกษาได้ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และการใช้ชีวิต

“อริญญา เถลิงศรี” กรรมการผู้จัดการ เอสอีเอซี (SEAC) เล่าว่า การเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ต้องไม่ติดกรอบ จึงได้จัดเสวนา หัวข้อ #TestofLife:’เรียนรู้’ สู่การสร้างทางเลือกชีวิตที่ไม่ยึดติดกรอบ โดย “ศุ บุญเลี้ยง” ศิลปินนักร้อง ได้ให้ข้อคิดว่า ถ้าเราอยากพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ต้องทำตัวเองให้ว่างเปล่าอยู่เสมอเพื่อที่จะได้เติมความรู้ ในมุมมองใหม่ๆ ลงไป การฟัง คือ สิ่งที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพคนได้ การเรียนรู้ยุคใหม่  ที่ไหน - เมื่อไรก็ได้ ถ้าอยากรู้ การเรียนรู้ยุคใหม่  ที่ไหน - เมื่อไรก็ได้ ถ้าอยากรู้ การเรียนรู้ยุคใหม่  ที่ไหน - เมื่อไรก็ได้ ถ้าอยากรู้

พื้นฐานของการเรียนรู้ที่ดี คือการตั้งคำถาม ต้องสงสัยไว้ก่อน เพราะการสงสัยและการตั้งคำถามจะทำให้เราสนุกมากขึ้น พอเรายิ่งสนุกเรายิ่งเกิดการเรียนรู้ มีคนอีกมากมีประสบการณ์แต่ไม่เกิดการเรียนรู้ บางคนปิดกั้นตัวเองโดยปฏิเสธที่จะรับรู้ในสิ่งที่คิดว่าตนรู้ดีแล้วจะทำให้มีการหยุดพัฒนาซึ่งมันผิด เพราะการเรียนรู้ที่ดีคือการ ‘สังเคราะห์’ ประสบการณ์ โดยการมองสิ่งรอบตัวในมุมใหม่ๆ ข้อมูลไม่ใช่ความรู้ ความรู้ไม่ใช่ปัญญา การมีปัญหา แต่ไม่มีทักษะ ก็ไม่สามารถนำเอาความรู้มาทำประโยชน์ได้

การเรียนรู้มี 2 ทาง หนึ่งคือการเรียนรู้จากคนอื่น (ปรโตโฆสะ) เช่นการไปพูดคุยกับผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ และสองคือการใช้ตัวเองเป็นเครื่องมือที่จะนำความรู้ที่ได้รับนั้นมาพัฒนา (โยนิโสมนสิการ)

ด้านครูผู้สอน “สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์” อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ให้ข้อคิดของการปรับตัวสำหรับครุทั้งหลายว่า ต้องลดช่องว่างระหว่างครูและลูกศิษย์ โดยครูและผู้บริหารจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองจากการเป็นโปรเฟสเซอร์ (Professor)สู่การเป็น “พี่” หรือเป็น “โค้ช” ที่พร้อมนำประสบการณ์และความรู้ที่มี ส่งต่อให้กับผู้เรียนด้วยการให้คำปรึกษาและเสนอแนะ เพื่อตอบ 3 ความต้องการผู้เรียน ได้แก่

1.ทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเสมือนปัจจัยที่ห้าของการใช้ชีวิต กูเกิล (Google) ก็สามารถเป็นครูให้กับเด็กๆ ได้ ดังนั้น การครูในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชัน จำเป็นจะต้องมีทักษะได้มากกว่าการสอนในเชิงวิชาการ นั่นคือ การเป็นที่ปรึกษาทักษะชีวิต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กเข้าใจและรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และเป็นการสอนให้เขาเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้ได้อย่างดี เช่น ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม ทักษะการมองโลกในแง่ดี ไปจนถึงการความเป็นมิตร บุคลิกภาพ และการแสดงออกทางสังคม เป็นต้น

2. การสร้างดีเอ็นเอการเรียนรู้ที่เข้าใจในหัวใจผู้เรียน เห็นได้ชัดว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีทำให้เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และในโลกในอีก 5 ปีข้างหน้าการเปลี่ยนแปลงอยากจะทำให้เราทำนายอนาคตได้ยากขึ้น สิ่งสำคัญที่พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง เริ่มปรับตัวให้เข้ากับน้องๆ นักศึกษายุคใหม่ คือ การยอมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อนำมาสู่การพัฒนาตัวเอง กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และทดลองทำในสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ การมีทักษะเหล่านี้จะทำให้คณาจารย์ สจล. ถ่ายทอดดีเอ็นเอการเรียนรู้สู่น้องๆ อย่างเข้าใจและเข้าถึงพวกเขา เป็น “โค้ช” ที่ดีทั้งด้านวิชาการและการใช้ชีวิต เป็นเพื่อน เป็นพี่ ที่สามารถให้คำปรึกษากับพวกเขาได้

3. เปิดพื้นที่ครีเอทีฟ ออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันสรุปคือ ทั้งผู้เรียน และผู้สอน ต้องปรับตัวหนีการดิสริป พร้อมๆ กับการเติมเต็มสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กรอบของการเรียนการสอน และการเรียนรู้ ไม่มีข้อจำกัดอีกแล้วในโลกปัจจุบัน 

หน้า 18 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3462 วันที่ 18-20 เมษายน 2562

การเรียนรู้ยุคใหม่  ที่ไหน - เมื่อไรก็ได้ ถ้าอยากรู้