ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

15 เม.ย. 2562 | 08:43 น.

จากสถานการณ์ราคาไข่ไก่ตกต่ำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานในรอบนี้ เกิดขึ้นจากอะไร แล้วมาตรการทั้งลดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ จาก 6 แสนตัว ลดลงเหลือ 4.4 แสนตัวในปี 2562 เช่นเดียวกับปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ ลดลงจาก 6 พันตัว เหลือนำเข้า 3,800 ตัว เก็บไข่ห้องเย็นส่งออก รวมทั้งปลดพ่อแม่พันธุ์อีก ทำไม? ราคา “ไข่ไก่” จึงได้ราคาทิ้งดิ่ง จนกระทั่งล่าสุด วันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เป่ามนต์กล่อมพ่อค้าจนทำให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มประกาศราคาที่ 2.40 บาทต่อฟอง ส่วนแนวโน้มสถานการณ์นับจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ รายละเอียดดังนี้

 แนะยั่งยืนทุกคนต้องช่วยลดการเลี้ยงทั้งประเทศ 

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

นายกฤษดา ฤทธิชัยดำรงกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ปีก บมจ. เบทาโกร เผยว่า ราคาไข่ไก่ผลพวงจากนโยบายของนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอให้มีการปรับราคาไข่ไก่คละขึ้นมา 2.50 บาทต่อฟองนั้น มองว่าไม่ยั่งยืน เกษตรกรก็อยู่ได้เฉพาะรายที่หมดค่าเสื่อมแล้ว แต่รายที่ลงทุนใหม่ยังไม่คุ้มทุน เพราะฉะนั้นจึงแบ่งเป็น 2 ภาคส่วน ก็คือ เกษตรกรที่สร้างโรงเรือนมากกว่า 5-10 ปี ต้นทุนจะลดลง แต่เกษตรกรที่สร้างเล้าใหม่ หรือขยายเล้าใหม่ต้นทุนยังสูงอยู่ก็คือ มากกว่า 2.50 บาท เพราะฉะนั้นราคาเฉลี่ยหาก 2.50 บาทคัดขายเองได้บวกเพิ่มมานิดหน่อย แต่ถ้าขายเป็นไข่คละจะขาดทุน คือตอนนี้แนะนำส่วนตัวก็คือต้องไปมองภาพรวมทั้งหมดว่าจะต้องลดกำลังการเลี้ยงลงเอง 10-20%  แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้เล้าว่าง


ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

“ยกตัวอย่าง เลี้ยงไก่100 ตัวอาจจะลดลงเหลือ 80 ตัวได้หรือไม่ก็จะทำให้ปริมาณไก่ลดลงทันทีโดยที่ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับพ่อแม่พันธุ์ แล้วจะเลี้ยงนานเท่าไรก็เรื่องของเขาไม่ต้องไปปลด คือต้องปรับตัวเอง หากในกรณีแบบนี้หากไปปลดพ่อแม่พันธ์เสร็จ แล้วทำให้เกษตรกรที่เคยทำสำเร็จว่าปลดแม่พันธุ์แล้วได้กำไรราคาจะดีขึ้น ทุกคนคิดอย่างนั้นหมด ทำให้วงจรนี้ไม่สำเร็จ แต่ถ้าปัจจุบันการเลี้ยงไก่มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ 37 ล้านตัวเหมือนเช่นในอดีตตอนนี้เป็น 50 กว่าล้านตัว หากทุกคนคิดว่าการปลดแม่ไก่พันธุ์แล้วจะทำให้ราคาไข่ไก่ข้น มันไม่ใช่ เพราะทุกคนคิดก็ยังเลี้ยงอยู่ในเล้าอยู่ คือทุกคนต้องมองว่ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ร่วมช่วยกัน ไม่เลี้ยงให้บางลง ลดปริมาณลงด้วย ลดพ่อแม่พันธุ์ลงใช้ระยะยาว แต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทุกคนต้องร่วมมือช่วยกันลดตัวเติม ก็คือ ลดตัวเอง”

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

นายกฤษดา กล่าวต่ออีกว่าผมถามว่าไข่ไก่มาจากไหนก็มาจากแม่ไก่ยืนกรง เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนยอมลดลงทุกคน ปริมาณการผลิตลดลงทันที จะทำให้ราคาไข่ไก่มีโอกาสสูงได้เช่นเดียวกัน จะไปมองแค่ต้นทางนั้นใช้ระยะเวลาที่นานเกินไป แต่ถ้ามองภาพรวมทั้งประเทศไข่ไก่มาจากไหน ต้องถามตัวเองก่อนว่าไข่ไก่มาจากไหน ถ้าไข่ไก่มาจากไข่ไก่ยืนกรง หากราคาไม่ดีก็ต้องปลดไก่หรือลดการเลี้ยงไก่ยืนกรงลดลงทุกคนให้ร่วมใจกันทุกคน แค่ 10-20% จะมองภาพรวมไข่ไก่น้อยลง ราคาไข่ไก่ก็จะมีโอกาสปรับสูงขึ้น เสร็จแล้วถ้าลดลงแล้วจะต้องไปดูพ่อค้าคนกลางว่าเอากำไรมากเกินไปหรือไม่จะต้องมองภาพรวมทุกมิติพร้อมๆกัน เพราะราคาไข่ไก่ปริมาณน้อยลงแล้วจะต้องซื้อไข่ไก่จากเกษตรกรในราคาสูงเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ไม่เช่นนั้นเกษตรกรก็อยู่ไม่ได้

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

"คือเลี้ยงลงแล้วไปกดราคาลงอีก ทำให้ราคาไม่เพิ่มสูงขึ้น ถามว่าอัตราการบริโภคประเทศไทยเท่าไรพอ ผมคิดว่าเท่าไรก็ไม่พอ เพราะว่า 1.คุณขายแพงไม่มีคนซื้อ แต่คุณขายถูกมีคนกิน เพราะฉะนั้นขายได้แน่นอน เพราะราคาที่ผู้บริโภครับรู้ปัจจุบันราคาไม่ถูก เพราะฉะนั้นคุณไม่ต้องไปห่วงผู้บริโภค ส่วนผู้ขยายรายใหม่อย่าไปมองที่กำไรเพียวอย่างดียว ต้องมองปริมาณการผลิตด้วยว่าเราจะผลิตเท่าไรเพื่อให้ราคาถูกด้วย ปัจจุบันพวกที่ขยายเพราะคิดว่าขายได้ แต่ขายได้ราคาเท่าไรไม่บอก โดยเฉพาะการเลหลังขายไข่ไก่ลดราคา เป็นตัวทำลายตลาดเองโดยไม่รู้ตัว ก็ต้องมองสะท้อนตนเองด้วยเช่นกันทำหรือไม่ดังนั้นอย่าไปโทษภาคบริษัทเพียงอย่างเดียว"

 

ทำทุกอย่างอะไรคือปัญหาไข่ราคาไม่ขึ้น

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

นายธนาวุฑ เอื้อละพันธ์ รองประธานบริษัท แสงทอง สหฟาร์ม และบริษัท อัครากรุ๊ป กล่าวว่า นับตั้งแต่เปิดเสรี ทางฟาร์มสร้างโรงเรือนประมาณวันละ 1.1 แสนตัว แต่ตอนนี้เหลืออยู่ประมาณ 7 หมื่นตัว จากที่โดนปรับลดยอดโควตาเพื่อการจัดการทั้งระบบตามมาตการ โดนลดไป 30% ในปี 2562 ส่งผลทำให้บริษัทขาดทุน เพราะราคาไข่ไก่ราคาตก ยิ่งทำให้บริษัทธุรกิจพันธุ์สัตว์ต้องแบกภาระขาดทุน แต่เมื่อมีนโยบายรัฐขอความร่วมมือบริษัทก็ทำทุกอย่าง

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

“ในฐานะบริษัทก็เป็นผู้เลี้ยงและผู้นำเข้าด้วย ซึ่งมีอะไรขอร่วมมือมาให้ทำบริษัทยินดีที่จะทำ แต่เราอยากเห็นผลที่ดีขึ้นเพราะฉะนั้นถ้ามีแนวทางไหนที่ต้องการอยากให้ทำให้ดีขึ้นพร้อมที่จะช่วยอยู่แล้ว คือยังไม่เห็นภาพจริงๆ ว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหนดังนั้นกรมปศุสัตว์  อะไรคือปัญหาอีก ทั้งดันส่งออก ปลดพีเอส ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้ราคาไข่ไก่ในประเทศขยับสูงขึ้นอะไรคือปัญหา”

อ้างความ "มั่นคง"นำเข้าปู่ย่าพันธุ์ชี้ต้นเหตุราคาไข่ตก

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

นายชัยพร สีถัน ประธานชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง กล่าวว่า วันนี้ต้องเปิดอกพูดกันอย่างตรงไปตรงไม่ได้ใส่ร้ายต้องพูดให้ชัดโควตาของบริษัทใหญ่ที่นำเข้าปู่ย่าพันธุ์เพียงบริษัทเดียว จริงได้โควตานำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่สูงสุดไม่เกิน 1.45 แสนแต่ก็ใช้วิธีเลี่ยงโดยการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์ ปี 2562 เข้ามา 3,800 ตัว แต่เมื่อคิดคำนวณแล้วกับจำนวนพ่อแม่พันธุ์ที่กรมปศุสัตว์อ้างอิงว่า จำนวน 1 ตัวสามารถผลิตได้ 70 ตัว แล้วถ้านำ 3,800 ตัวมาคูณ 70 ตัว 2.66 แสนตัว เกินหรือไม่แล้วที่อ้างว่าเพื่อความมั่นคงผมถามว่าวันนี้เกินความมั่นคงแล้วหรือไม่

จัดระเบียบธุรกิจไก่ไข่

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

แหล่งข่าวเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เผยทางออกจะต้องจัดระเบียบวงจรธุรกิจไก่ไข่ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1.ฟาร์มปู่-ย่าพันธุ์ไก่ไข่ 2.ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ 3.ฟาร์มไก่ไข่ (ไก่รุ่น-ไก่ไข่) 4.ผู้ค้าไข่ และ 5.ผู้บริโภคไข่ ซึ่งวิธีการทำกิจกรรมต้องกำหนดวิธีการที่ให้ทุกฟาร์มทุกผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นเท่าเทียมกัน โดยฟาร์มใหญ่กว่าเสียสละมากกว่าฟาร์มเล็กก็เสียสละน้อยลงแต่ทุกฟาร์มต้องเสียสละร่วมกัน”

ไข่ไก่ราคา"ตกต่ำ"ปัญหาของใคร?

โดยให้แบ่งกลุ่มผู้ประกอบการออกเป็น 16 กลุ่ม ตามจำนวนฟาร์ฒพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แล้วให้แต่ละกลุ่มผู้ประกอบการด้วยพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ 1 รายเป็นแกนนำของกลุ่ม จำนวนฟาร์มผู้เลี้ยงไก่สาวไก่ไข่มากน้อยตามความเหมาะสมขนาดกำลังการผลิตของฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่และผู้ค้าไข่ ที่สำคัญก็คือผู้ประกอบการทุกรายต้องอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อที่จะบริหารจัดการในกลุ่ม โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นผู้กำกับ ดูแลและช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดปริมาณโควตานำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไกไข่หรือปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่,การลดหรือเพิ่มกำลังการผลิต,การทำกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคและการรวบรวมและซื้อขายไข่ไก่ภายในประเทศ  เป็นต้นโดยทุกกิจกรรมสามารถทำได้พร้อมเพรียง "ทั่วถึง" และเป็น "ธรรม" กับทุกฝ่าย