“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

13 เม.ย. 2562 | 04:06 น.

ชาวสวนปาล์มเตรียมถวายฎีกาหลังลิขสิทธิ์ในหลวง ร.9 หมดอายุ ปี 64 ผวา “บี100” ตกเป็นของนายทุน นัดพบ “ชุติมา”พอใจรับทุกข้อเสนอพ่วงสั่งการให้ กกร.จังหวัดจัดประชุมทุกเดือนจี้แก้ปัญหาราคาตกต่ำ พร้อมสั่งรายงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

ด้านนายสัญญา ปานสวี นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ชุมพร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการที่นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาติดตามความคืบหน้ามาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ รวมทั้งติดตามสถานการณ์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มและการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ในพื้นที่จังวหวัดชุมพรนั้น ทางสมาคมได้เดินทางไปยื่นหนังสือ มีทั้งหมด 4 ข้อเรียกร้อง ได้แก่ 1. คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” เพื่อป้องกันการผูกขาดขีดเส้นให้รับรองภายในวันที่ 8 เมษายน 2563 สาเหตุก็เพราะจะหมดอายุ อีกด้านหนึ่งจะร้องถวายฎีกากับในหลวงรัชการองค์ปัจจุบันเพื่อให้ช่วยเหลือเกษตรกรให้ต่ออายุลิขสิทธิ์ดังกล่าวนี้ให้คงอยู่กับคนไทยไม่ใช่ของนายทุน

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม 2.ยุทธศาสตร์แผน 20 ปีที่กระทรวงพาณิชย์ได้ทำเมื่อปีที่แล้วให้มีแผนปฎิบัติเร่งด่วนภายใน 1 ปี ระยะกลาง 2 ปีและระยะยาว 3 ปี โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวเมือมีแผนแล้วชาวสวนขอให้มีนำมาเผยแพร่ให้รับรู้ถ้วนกัน มองว่าใจความดีมาก แต่พอสอบถามไปที่รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ก็บอกว่าได้ "ยกเลิก "แผนดังกล่าวนี้เนื่องจากเวลาเปลี่ยนไปแล้วไม่เหมาะกับการนำมาใช้ ซึ่งก็มองว่าทำไมทำแล้ว เสียงบประมาณแล้ว จะทำทำไมให้สิ้นเปลือง ฝ่ายท่านชุติมา ก็ร้อง อ้าว! ขึ้นมาว่า "อยู่กระทรวงพาณิชย์ฉันไม่รู้เลยว่ามียุทธศาสตร์ 20 ปี แล้วท่านก็แจ้งว่าจะไปติดตามดูให้"

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม 3.ให้ กกจ. ในจังหวัดที่ปลูกปาล์มให้ประชุมทุกเดือนแล็วก็รายงานผลให้ท่านทราบ เพราะ มี พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ 2542 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.ฉบับเดียวที่จะมาใช้กับปาล์มน้ำมันเพราะว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชควบคุมเพราะฉะนั้นถ้าหากว่ารัฐบาลไม่ใช่กฎหมายฉบับนี้แล้วประชาชนก็จะไม่มีกฎหมายไหนที่เข้าถึง

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

4.กฎหมายอื่นรัฐบาลออกเร็วมากแต่ปรากฎว่ากฎหมายปาล์มไปทำประชาพิจารณ์ชุมพร กระบี่ ชลบุรี และเข้าส่วนกลางจากนั้นโยนให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อชาวสวนโดนตัดออกหมดเลย จากนั้นก็โยนให้ ครม.แต่ไม่เข้า สนช. โดนทิ้งเคว้งเลยก็ไม่ทราบสาเหตุว่าเพราะอะไร จึงทำให้ พ.ร.บ.ปาล์มแท้ง ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ให้เหมือนประเทศมาเลเซียได้

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

“ประเทศไทยมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องหลายหน่วย ก็คือกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานดูแลเรื่องปาล์มอยู่หน้างานใครหน่วยงานนั้นก็หาแต่ผลประโยชน์ทำให้ไม่มีการกระจาย และไม่มีเอกภาพ นี่เป็นความล้มเหลวของปาล์มน้ำมันประเทศไทย”

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

ส่วนเรื่องของราคาปาล์มให้อ้างอิงราคาตลาดมาเลเซียเป็นหลัก เพราะเป็นราคาปาล์มโลก เพราะมาเลเซียมีจัดการได้ดีกว่าของประเทศไทย แต่ของไทยก็ต้องจัดการได้ ซึ่งท่านรับปากไว้ว่าจะไปดูแล จึงได้บอกให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจัดประชุมจังหวัดที่มีการปลูกปาล์มโดยสำนักงานคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (สำนักงาน กจร.)  แล้วให้รายงานผลให้ทราบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

นายสัญญา กล่าววว่า ให้คุ้มครองผู้ที่ใช้บี 100 ให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยให้ออกเป็นหนังสือผ่อนผันหรือหนังสืออนุญาตให้มีจุดแลกเปลี่ยน เพราะผิดมาตรา 7 กฎหมายเรื่องการใช้พลังงาน ความจริงแล้วผิดกฎหมายแต่ที่ผ่านมาชาวสวนเลี่ยงใช้คำว่า “จุดแบ่งปัน” คือไปซื้อจากบริษัทผู้ผลิตไบโอดีเซลแล้วมาแบ่งปันกัน เพื่อที่จะทำให้ปาล์มที่สต็อกมีมากอยู่ในประเทศได้ลดลง เพราะการบริโภคและการส่งออกไม่ดีจึงทำให้ไม่มีทางอื่นที่จะแก้ไขได้จึงทำให้มีทางเดียวก็คือให้มาเป็นพลังงานโดยตรง ก็คือ “บี 100”

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

“ราคาของชาวสวนเป็นสิ่งที่ต้องให้รัฐบาลไปจัดการที่จะต้องให้ขึ้นโดยให้ไปดูราคาปาล์มของมาเลเซียเป็นหลัก โดยที่จะต้องมาให้ติดต่อและติดตามดูกันต่อไปว่า โดยท่านก็บอกว่ามารับฟังความคิดเห็นและรับปากว่าจะดูแลให้ ซึ่งทางสมาคมเองก็จะติดตามต่อไป ในส่วนของสมาคมเองก็จะมีการประชุมทุกสัปดาห์ และมีการติดตามไปที่รัฐมนตรีและส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งรัฐบาล และแจ้งเครือข่ายทั่วประเทศการที่จะใช้บี100  ให้เป็นจุดผ่อนผันให้เป็นจุดแลกเปลี่ยนให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งติดตามสต็อกต้องให้ทราบที่แน่นอนให้เป็นปัจจุบันรายงานให้ทราบทุกสัปดาห์”

“ชุติมา”ดอดเงียบลงใต้แก้ปัญหาปาล์ม

ส่วน “ไอ้โม่ง” ที่ผ่านมาในส่วนภาครัฐก็จะบอกปัดว่าไม่มี แต่ในความเป็นจริงในการทำงานแม้แต่เรื่องของไฟฟ้าที่ให้ซื้อจากประชาชนแล้วให้ประชาชนไปขายแล้วให้ราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนั้นก็มีการเปลี่ยนชื่อ โยกชื่อ ทำให้ข้อมูลซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ก็จะบอกว่าทุกอย่าง "จริง" เป็นรายชื่อของเกษตรกรหมดเหมือนกับทุกครั้งที่มีการช่วยเหลือ นี่คือความเป็นจริง แต่รัฐดูแลและควบคุมไม่ถึงการทุจริตและคอรัปชั่นของประเทศในทำนองเดียวกันซึ่งจะต้องให้ปรากฎออกมาว่าเป็นเชิงประจักษ์จับได้แบบคาหนังคาเขาถึงจะยอมรับกัน