ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

17 เม.ย. 2562 | 07:40 น.

เชื่อว่าใครที่เคยไปเช็ก อิน “เก๊าไม้ ล้านนา” รีสอร์ตเล็กๆ ขนาด 34 ห้อง ย่านอ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ภาพจำอันเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ คือ ความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่อายุร่วม 100 ปี กลิ่นอายโรงบ่มใบยาสูบอายุกว่า 60 ปี และความโดดเด่นของต้นตีนตุ๊กแกและดีปลีที่เลื้อยปกคลุมอยู่รอบนอกอาคารดูรื่นรมย์สบายตา แต่วันนี้ที่นี่มีภาพจำใหม่ ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

เมื่อ “เก๊าไม้ล้านนา” (Kaomai Estate 1955) คาเฟ่สุดฮิพ ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของรีสอร์ตแห่งนี้ ได้รับ “รางวัลการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม” (Cultural  Heritage Conservation) สาขาการออกแบบใหม่ในบริบทมรดก (New Design in Heritage Contexts) ประจำปี 2018 จากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ “ยูเนสโก (UNESCO) เอเชีย-แปซิฟิก”

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

ทั้งยังเป็นครั้งแรกที่โครงการจากประเทศไทยได้รับในสาขานี้อีกด้วย ซึ่งยูเนสโก เอเชีย-แปซิฟิก เริ่มการมอบรางวัลในสาขานี้ตั้งแต่ปี 2005 ให้กับโครงการที่มีสิ่งปลูกสร้างใหม่ผ่านการออกแบบอันโดดเด่นให้กลมกลืนกับบริบทในอดีต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

นายจักร์ เชิดสถิรกุล ผู้ริเริ่มและก่อตั้งโครงการ เก๊าไม้ เอสเตท 1955 เปิดใจว่า รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์จากยูเนสโก กว่าจะ ได้มาต้องเขียนเอกสารนำเสนอกับยูเนสโก โดยต้องค้นคว้าข้อมูลในทุกมิติและทุกยุคสมัยของพื้นที่ในโครงการ เก๊าไม้เอสเตท 1955 ที่ถูกริเริ่มขึ้นในปี 2559 การปรับปรุงแนวโรงบ่มบริเวณส่วนด้านหลังของรีสอร์ต พร้อมกับการบูรณะอาคารโรงบ่มบางส่วนให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าความเป็นมาของพื้นที่ รวมไปถึงคาเฟ่โรงบ่ม ซึ่งดัดแปลงอาคารจากโรงบ่มแฝดหลังเดียวของพื้นที่และการปรับภูมิทัศน์ด้านหลังคาเฟ่ให้กลายเป็นลานอัฒจันทร์ดินสำหรับทำกิจกรรมภายนอก

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

รวมถึงตรอกประวัติศาสตร์หลายเส้นทางอันเป็นการให้ความรู้เรื่องราวของพื้นที่ทั้งในเชิงสถาปัตยกรรมและธรรมชาติ พร้อมกันนี้ยังได้จัดแสดงข้อมูลของโรงบ่มในแต่ละยุคสมัย พร้อมรายชื่อพรรณไม้กว่า 100 สายพันธ์ุและสัตว์ป่าโดยเฉพาะนกทั้งหมดกว่า 50 ชนิดในพื้นที่ เพื่อให้ข้อมูลกับผู้มาเยือนในหลักการพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

เก๊าไม้ เอสเตท 1955 เปิดให้บริการในปี 2560 แต่การตั้งชื่อโดยมีตัวเลข 1955 จริงๆ 1955 คือ ปีเกิดของโรงบ่มทุ่งเสี้ยว ซึ่งเจ้าของคนแรกคือเจ้าชื่นสิโรรส เริ่มมาทำ บริษัท แม่ปิงยาสูบฯ เริ่มต้นจากการสร้างโรงบ่มแบบง่ายๆ ด้วยโครงสร้างไม้ไผ่สานแตะฉาบด้วยดินโคลน จำนวน 35 หลัง กระทั่งปี 2529 คุณพ่อ (ธวัชเชิดสถิรกุล) นักธุรกิจการเกษตรชาวเชียงใหม่ เข้ามาซื้อกิจการต่อ และก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟาร์มทุ่งเสี้ยว ขยับขยายโรงบ่มใบยาเพิ่มเป็น 50 หลัง มีพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของเก๊าไม้ล้านนา ทั้งหมดตั้งแต่เริ่มที่มาที่ไปความเป็นมาเป็นไปอย่างไร และหลังจากนี้มีแผนจะพัฒนาอาคารโรงบ่ม อีกแห่งให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ใบยาสูบในภาคเหนือโดยเฉพาะ รวมไปถึงการทำโรงบ่มโกโก้ โรงคั่วโกโก้ โรงงานเล็กๆ ภายในอาคารอีกหลังในอนาคต 

รางวัลที่เราได้รับจากยูเนสโกแสดงถึงความตั้งใจ และเราพยายามจะให้ทุกอย่างอยู่ด้วยกันอย่างผสมกลมกลืน เช่น อาคาร คนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยว เรื่องของการออกแบบรูปแบบดีไซน์ให้เหมือนกับให้ทันสมัยขึ้น และคิดว่าอาจจะเป็นเทรนด์ ของคนที่อยากอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติให้มากขึ้น 

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

จากเรื่องราวของการเปลี่ยนผ่าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พื้นที่เป็นอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ ตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจบ่มใบยาสูบ ที่ทิ้งร่องรอยของอาคารโรงบ่ม ในยุค สมัยต่างๆ แตกต่างกันถึง 3 รุ่นให้ได้เห็นการที่คุณพ่อทำธุรกิจเพาะต้นไม้ จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้หลากสายพันธุ์ รวมไปถึงกระถางดินเผาที่เคยใช้อนุบาลต้นไม้ ก็ยังถูกนำมาจัด วางตกแต่งทั่วสวน และพื้นที่ของรีสอร์ตที่แปรสภาพมาจากอาคารโรงบ่ม กลายมาเป็นธุรกิจหลักของพื้นที่

 

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก

ผมกับพี่สาว (ขัตติรัตน์ เชิดสถิรกุล) ตั้งใจจะอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมจากโครงอาคารโรงบ่มใบยาสูบเก่าดั้งเดิม ไปพร้อมๆ กับต้นไม้ใหญ่และธรรมชาติในพื้นที่ ให้คงอยู่ให้นานที่สุด พร้อมกับให้ความรู้ จิตสำนึกจากมรดกและเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาของท้องถิ่น สันป่าตองให้กับชุมชน ผู้มาเยือน ผ่านการท่องเที่ยวเชิงยั่งยืน 

รายงาน โดย นภาพร ขัติยะ

หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3462 ระหว่างวันที่ 18 - 20 เมษายน 2562

ไขเคล็ดลับ "เก๊าไม้ เอสเตท 1955" คาเฟ่แห่งแรกในไทยคว้ายูเนสโก