"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม

08 เม.ย. 2562 | 11:07 น.


กลายเป็นที่จับจ้องของทุกสายตากับโครงการ "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" โครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท โดยการร่วมทุนของ 2 บิ๊กธุรกิจ "เซ็นทรัล" กับเจ้าของเดิม "ดุสิตธานี" ที่ตั้งเป้าจะพลิกโฉมกรุงเทพมหานครใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปท์ Here For Bangkok ด้วยการผสมผสานการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบมิกซ์ยูสครบวงจร ทั้งรีเทล ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงแรม ตอบทุกโจทย์วิถีคนเมืองในยุคปัจจุบันและอนาคต

 

"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม
 

ฉะนั้น หลังปิดฉากตำนานโรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพ ซึ่งบุกเบิกโดย ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย เมื่อ 50 ปี ไปตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. 2562 แต่ตัวตนของดุสิตธานีมิได้หายไปไหน โรงแรมแห่งใหม่ยังใช้ชื่อดุสิตธานีและคงเอกลักษณ์หลายอย่างเอาไว้

 

"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม


⁍ ตอกย้ำเป็น Super CBD

วันที่ 1 เม.ย. 2562 ทั้ง "ซีพีเอ็น" ของ "ตระกูลจิราธิวัฒน์" ทุนใหม่ และเจ้าของเดิมดุสิตธานี ได้ร่วมกันจัดงานเปิดตัวโฉมใหม่ของโครงการเป็นครั้งแรก โดยตั้งเป้าว่าจะปลุกพื้นที่ 23 ไร่ หัวมุมถนนสีลม ให้เป็น Super Core CBD โดยการต่อจิกซอว์เชื่อมโยงกับย่านธุรกิจ 4 ทิศรอบด้าน ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เชื่อมโยงวัฒนธรรมของย่านเก่าที่มีเอกลักษณ์ "เยาวราช-เจริญกรุง" ศูนย์กลางการเงินอย่าง "สีลม" ย่านคอมเมอร์เชียลอย่าง สุขุมวิท เซ็นทรัลเวิล์ด มีรถไฟฟ้า 2 สาย MRT และ BTS เป็นตัวเชื่อม และยังยึดปอดใหญ่ของคนกรุงสวนลุมพินีเป็นแม่เหล็ก ทำให้เกิด The New Junction

 

"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม

 

ขณะที่ เอกลักษณ์ของตำนานโรงแรมเก่าจะถูกนำมาตกแต่งในโรงแรมแห่งใหม่ด้วยเช่นกัน จากแบบโครงการที่นำมาพรีเซ็นต์อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ทำให้เห็นภาพเค้าลางของโรงแรมดุสิตธานีโฉมใหม่ที่ยังคงเอกลักษณ์เดิมซ่อนไว้ เน้นความทันสมัย แต่ไม่ละทิ้งตัวตนเดิม

 

"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม

 

ก่อนหน้านั้น ฝ่ายบริหารดุสิตธานี เคยระบุว่า 7 เอกลักษณ์ ที่จะถูกนำไปปรากฏในโครงการใหม่ ประกอบด้วย 1.ยอดเสาสีทอง 2.น้ำตกและต้นไม้ 3.ล็อบบี้ 4.ห้องไลบรารี่ 5.ห้องไทยเฮอร์ริเทจ สวีท 6.เปลือกอาคารทองเหลือง และ 7.ห้องอาหารไทยเบญจรงค์

ต้นไม้ (ลีลาวดี) บริเวณน้ำตก คือ ความทรงจำที่ท่านผู้หญิงชนัตถ์ปลูกเองกับมือตั้งแต่เริ่มสร้างโรงแรม จึงต้องอนุบาลอย่างดี เพื่อนำกลับมาปลูกใหม่ แม้จะแพงแค่ไหนก็ยอมจ่าย ห้องอาหารไทยเบญจรงค์ เฟอร์นิเจอร์ รายละเอียดต่าง ๆ ในห้องนี้ ต้องถอดออกแล้วไปเก็บรักษาอย่างดี เพื่อนำกลับเปิดบริการใหม่อีกครั้งให้เหมือนเดิมทุกประการ

รวมถึงเสาหลัก 2 ต้น หรือ เสาเอก ที่เคยตั้งตระหง่านอยู่กลางห้องอาหารเบญจรงค์ ซึ่งมีความสำคัญ ตรงตัวเสามีการเพ้นท์ลวดลายจิตรกรรมไทยผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ของ "ท่านกูฏ" อาจาร์ย ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ แม้การรื้อถอนจะยากลำบากก็ต้องรักษาไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้แสดงความเป็นตัวตนของดุสิตธานีและความผูกพันทางจิตใจของเจ้าของและคนไทย

 

"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม
 

⁍ โฉมใหม่ เค้าลางเดิม

ดังนั้น รูปโฉมโครงการใหม่จึงเริ่มเห็นเค้าลางของเอกลักษณ์เดิมที่ชัดขึ้น โดยเฉพาะเอกลักษณ์ยอดชฏาเสาสีทอง ที่แรงบันดาลใจจากพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฯ ถูกนำกลับมาออกแบบใหม่บนชั้นดาดฟ้า แต่ถูกดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย กลายเป็นจุดชมวิวบนยอดสูงของอาคาร พร้อมยังจัดพื้นที่สำหรับการแสดงแกลอรี่แบบดิจิตอล มีร้านอาหารกับรูฟท้อบบาร์รอบ ๆ ฐานชฎา

 

"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม

 

Sky Box จุดเด่นที่สามารถให้คนเดินชมบรรยากาศไปพร้อมกับการชื่มชมศิลปะของโรงแรม น้ำตกและต้นไม้ ล็อบบี้ ของเดิมก็จะถูกนำมาตกแต่งอยู่ในโครงการใหม่ เปลือกอาคารทองเหลืองที่จะโดดเด่นอยู่ในดุสิตธานีโฉมใหม่ที่ได้รับการออกแบบตกแต่งส่วนนอกของอาคาร ห้องพักเป็นกระจกทั้งหมด เพื่อให้มองเห็นวิวของสวนลุมพินีได้เต็มตา ทุกอาคารจะเห็นสวนลุมพินีในมุมมอง 180 องศา ทั้งยังเชื่อมสวนลุมกับ Rooftop Park พื้นที่สีเขียวเข้ากับชีวิตคนเมืองยุคใหม่

โรงแรมดุสิตธานีโฉมใหม่ยังเป็นแฟล็กชิพของโรงแรมในเครือ เป็นโรงแรมที่ทันสมัย ส่วนจะกลับมาผงาดในวงการเพื่อสร้างตำนานบทใหม่ได้หรือไม่ ปี 2566 มีคำตอบ!!

| รายงานโดย : ภาณี สิงห์แดง

 

"ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค" ปั้น "แลนด์มาร์ก" โลก คงเอกลักษณ์เดิม