“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

20 มี.ค. 2562 | 08:46 น.

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 มีนาคม 2562 จากกรมอุตุนิยมวิทยา ทั้งประเทศมีปริมาณฝนสะสม รวม 58.60 มม. มากกว่าค่าเฉลี่ย (ฝน 30 ปี) 20% แยกเป็นรายภาคได้ ดังนี้ โดยแบ่งเป็น "ภาคเหนือ" มีฝนสะสม รวม 39.80  มม. มากกว่าค่าเฉลี่ย 84 % "ตะวันออกเฉียงเหนือ" ฝนสะสม รวม 26.30 มม. น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 15% "ภาคกลาง" มีฝนสะสม รวม 8.80  มม. น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 67 %  "ตะวันออก" ฝนสะสม รวม  24.60  มม.น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 61% "ใต้ฝั่งตะวันออก" มีฝนสะสม รวม 187.90 มม. มากกว่าค่าเฉลี่ย  63%และ"ใต้ฝั่งตะวันตก"ฝนสะสม รวม 89.40 มม. มากกว่าค่าเฉลี่ย 24 %

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

สถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ จำนวน 447 แห่ง   ภาคเหนือ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 14,379 ล้าน ลบ.ม. (56% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้  7,535 ล้าน ลบ.ม. (40% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 11,447 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 3,981 ล้าน ลบ.ม. (38% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้  2,182 ล้าน ลบ.ม. (25% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 6,386 ล้าน ลบ.ม.

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

ภาคกลาง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 535 ล้าน ลบ.ม. (30% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้  451 ล้าน ลบ.ม. (27% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 1,253 ล้าน ลบ.ม.   ภาคตะวันตก มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 21,225 ล้าน ลบ.ม. (79% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 7,940 ล้าน ลบ.ม. (59% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 5,522 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันทั้งสิ้น 1,269 ล้าน ลบ.ม. (51% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 1,117 ล้าน ลบ.ม. (48% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 1,209 ล้าน ลบ.ม.ภาคใต้ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 6,522 ล้าน ลบ.ม. (74% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้  4,759 ล้าน ลบ.ม. (67% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 2,341 ล้าน ลบ.ม.รวมทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 47,910 ล้าน ลบ.ม. (63% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 23,984 ล้าน ลบ.ม. (46% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 28,158 ล้าน ลบ.ม.

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

ปัจจุบัน มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 13,605 ล้าน ลบ.ม. (55% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 6,909 ล้าน ลบ.ม. (38% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรับน้ำได้อีก 11,266 ล้าน ลบ. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 412 แห่ง ปัจจุบัน (20 มี.ค. 62) แบ่งได้ ดังนี้ อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30%  มีจำนวน   109  แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 30 – 60%  มีจำนวน   174  แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 60 – 100%  มีจำนวน 129  แห่ง มีการวางแผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2561/2562 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 – 30 เมษายน 2562) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ปริมาตรน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้ จำนวน 39,570 ล้าน ลบ.ม. โดยวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศจำนวน 23,100 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับความสำคัญดังนี้ เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,404 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 6,440 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรรม 13,953  ล้าน ลบ.ม. และอุตสาหกรรม 303 ล้าน ลบ.ม. โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 8,000 ล้าน

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

ทั้งนี้ผลจาการวางแผนการใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2561/2562 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 – 30 เมษายน 2562) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ปริมาตรน้ำต้นทุนสามารถใช้การได้ จำนวน 39,570 ล้าน ลบ.ม. โดยวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศจำนวน 23,100 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับความสำคัญดังนี้ เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,404 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 6,440 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรรม 13,953  ล้าน ลบ.ม. และอุตสาหกรรม 303 ล้าน ลบ.ม. โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 8,000 ล้าน ลบ.ม. (เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ 6,500 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 400 ล้านลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ 400 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำแม่กลอง 700 ล้าน ลบ.ม.) แยกเป็น เพื่อการอุปโภค – บริโภค 1,140 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการรักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 1,450 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 5,410 ล้าน ลบ.ม.

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง  

ผลการจัดสรรน้ำ (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง) ทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ถึง  ปัจจุบัน (20 มี.ค. 62) ใช้น้ำไปแล้ว 18,216 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 79 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล  สิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักฯ) วันนี้ใช้น้ำไป 44.52 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ถึง ปัจจุบัน (20 มี.ค. 62)  ใช้น้ำไปแล้ว 7,123 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 89 ของแผนจัดสรรน้ำผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2561/62 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มี.ค. 62)ทั้งประเทศ วางแผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง ทั้งสิ้น 8.03 ล้านไร่ ปัจจุบัน เพาะปลูกไปแล้ว 8.46 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 105.40 ของแผนฯ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา วางแผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง รวม 5.30 ล้านไร่ ปัจจุบัน เพาะปลูกไปแล้ว 5.85 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 110.38 ของแผนฯ

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

อย่างไรก็ตามทางกรมชลประทานได้เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง โดยระดมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,851 กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ 1) ตามสำนักงานชลประทานต่างๆ จำนวน  1,151 เครื่อง และ 2) สำรองไว้ที่ส่วนกลาง จำนวน 700 เครื่อง ทั้งนี้ ได้มีการระดมรถยนต์บรรทุกน้ำอีก 200 คัน ให้กระจายไปตามพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งตามภูมิภาค จำนวน 150 คัน และสำรองไว้ที่ส่วนกลาง จำนวน 50 คัน เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคในช่วงฤดูแล้งอย่างเพียงพอ

“กรมชลประทาน”ไม่ประมาทสำรองน้ำพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)กระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์ภัย ณ วันที่ 20 มีนาคม 2562  ปัจจุบันยังคงมีจังหวัดที่ประกาศเขตภัยแล้ง จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ดและศรีสะเกษ มี 5 อำเภอ 7 ตำบล และ 53 หมู่บ้าน และจากอิทธิพลพายุฤดูร้อนตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมถึงปัจจุบันเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชกแรงในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กำแพงเพชร เลย ลำปาง แพร่ พะเยา ลำพูน อุดรธานี และน่าน จำนวน 16 อำเภอ 31 ตำบล และ 71 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิตจากฟ้าผ่า 1 รายและบาดเจ็บ 1 ราย