ไทย-ต่างชาติเชื่อมั่นอีอีซี ยอดลงทุน4ปีทะลัก2.28 ล้านล.

19 มี.ค. 2562 | 09:58 น.

บีโอไอ เผย 4 ปี นักลงทุนแห่ยื่นขอส่เสริมการลงทุน 5.5 พันโครงการ เงินลงทุน 2.28 ล้านล้านบาท รับ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ชี้นักลงทุนไทยและต่างชาติเชื่อมั่นอีอีซี แห่ขอส่งเสริมลงทุนกว่าครึ่ง ชลบุรี พื้นที่ที่นักลงทุนสนใจสูงสุด

 

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยในการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ 56 แห่ง ในรอบ 4 ปี(2558-2561) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า  มีจำนวนผู้ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอ จำนวน 5,518 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 2.289 ล้านล้านบาท เป็นยอดขอรับการส่งเสริมใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมีมูลค่า 1.49 ล้านล้านบาท  หรือคิดเป็น 65 % ของมูลค่าการขอรับส่งเสริมทั้งหมด แยกเป็น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 1.28 แสนล้านบาท โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ลงทุนสูงสุดที่ 5.46 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นการแพทย์ 3.1 หมื่นล้านบาท  และอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม 1.365 ล้านล้านบาท มีกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ลงทุนสูงสุดที่ 6.46 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นยานยนต์และชิ้นส่วน 3.19 แสนล้านบาท

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์

นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ยื่นขอรับส่เสริมการลงทุนอีก 7.96 แสนล้านบาท เป็นโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ลงทุนสูงสุดที่ 1.59 แสนล้านบาท รองลงมา เป็นขนส่งทางอากาศ ลงทุนที่ 8.6 หมื่นล้านบาท   

 

ขณะที่การยื่นขอรับส่งเสริมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษหรืออีอีซี คิดเป็นมูลค่ารวมที่ 1.24 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 54 % ของมูลค่าลงทุนรวมทั้งสิ้น โดยอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 1.17 แสนล้านบาท ระยอง 3.83 แสนล้านบาท และชลุบรี 7.38 แสนล้านบาท  

 

ส่วนการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนมาตรการปรับปรุงประวิทธิภาพการผลิตช่วงปี 2558-2561 มีจำนวน 435 โครงการ เงินลงทุน 4.98 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 343 โครงการ เงินลงทุน 2.61 หมื่นล้านบาท และเป็นในส่วนของการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 89 โคงการ เงินลงทุน 2.34 หมื่นล้านบาท

 

อีกทั้ง ยังมีการส่งเสริมการลงทุนที่เข้าข่ายเอสเอ็มอี จำนวน 4,266 โครงการ เงินลงทุนรวม 2.32 แสนล้านบาท โดยเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัลมีจำนวนมากที่สุดโดยเฉพาะการพัฒนาซอฟต์แวร์

ไทย-ต่างชาติเชื่อมั่นอีอีซี ยอดลงทุน4ปีทะลัก2.28 ล้านล.

นางสาวดวงใจ กล่าวอีกว่า สำหรับการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในเชิงพื้นที่พิเศษอื่นๆ ในปี 2558-2561 อาทิ 20 จังหวัดรายได้ต่อหัวต่ำ มีจำนวน 206 โครงการ เงินงทุน 5.05 หมื่นล้านบาท เช่น ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงชีวมวล รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูป โดยจังหวัดสระแก้วมีการลงทุนมากสุด และจังหวัดน่านไม่มีการลงทุน

 

ส่วนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศาชายแดน มีการยื่นขอส่งเสริมการลงทุน 54 โครงการ เงินลงทุน 9,417 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก และอาหารสัตว์ จังหวัดตาก สงขลา และสระแก้ว มีการลงทุนมากที่สุด ขณะที่นครพนมและนราธิวาส ไม่มีการลงทุน

ไทย-ต่างชาติเชื่อมั่นอีอีซี ยอดลงทุน4ปีทะลัก2.28 ล้านล.

ขณะที่การยื่นขอรับส่งเสริมการงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวน 25 โครงการ เงินลงทุน 1.27 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล แปรรูปยางขั้นต้น จังหวัดสงขลา และยะลา มีการลงทุนมากสุด ขณะที่จังหวัดสตูล ไม่มีการลงทุน

 

ทั้งนี้ หากแยกการส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทดแทน มีการยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 1,274 โครงการ มีกำลังการผลิตรวมกว่า 8,970 เมกะวัตต์ ขณะที่การผลิตเชื้อเพลิงจากผลผลิตการเกษตร รวม 69 โครงการ มีกำลังผลิตเอทานอล 10.21 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซล 10.51 ล้านลิตรต่อวัน

 

จากการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมในประเทศช่วงปี 2558-2561 คิดเป็นมูลค่าราว 1.44 แสนล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเชื่อมโยงสูงจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และก่อให้เกิดผลประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี  

ไทย-ต่างชาติเชื่อมั่นอีอีซี ยอดลงทุน4ปีทะลัก2.28 ล้านล.