แฉ "โรงงานกะทิ" ฉาว! สวมโสร่งแบรนด์ไทยขายทั่วโลก

19 มี.ค. 2562 | 03:22 น.

เครือข่ายชาวสวนมะพร้าวประจวบฯ ปิดยอดผ้าป่าระดมทุนปกป้องมะพร้าวไทยกว่า 6 หมื่นบาท เตรียมเปิดเกมรุกยื่นหนังสือ 2 รัฐมนตรีใหม่ "เกษตร-พาณิชย์" หลังได้รัฐบาลมาจากเลือกตั้ง ควบคู่กับร้องมูลนิธิผู้บริโภค จี้! ตรวจสอบเส้นทางน้ำกะทิ กระชากหน้ากากไอ้โม่งอนุญาตนำเข้า-ป้องแบรนด์กะทิไทย

เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ผ่านมา ทาง "เครือข่ายชาวสวนมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์" กำหนดการจัดทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุน ณ ศาลาชุมชนบ้านทุ่งเรือยาว อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน ได้แก่ ค่าเอกสาร ค่ายานพาหนะ ตลอดจนการดำเนินการด้านกฎหมายและวิชาการ เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวนั้น
 

แฉ "โรงงานกะทิ" ฉาว! สวมโสร่งแบรนด์ไทยขายทั่วโลก

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผลจากการระดมทุนได้เงิน จำนวน  62,249 บาท ยังไม่รวมกับการขายเสื้อชุดใหม่ หลังจากนี้เมื่อได้รัฐบาลชุดใหม่หลังจากเลือกตั้งแล้ว ในวันที่ 24 มี.ค. 2562 นั้น เตรียมให้การบ้านกับ 2 รัฐมนตรีใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมองว่า ปัญหาของน้ำกะทิที่นำเข้ามาจากอินโดนีเซีย ต้องมาใส่น้ำแป๊ะแซ (สารที่ใส่ลงไปเวลากวนกับสัปปะรดให้มีความเหนียวหนืด) ผสมกับน้ำมันพืช เพื่อให้เปอร์เซนต์ไขมันถึง โดย 2 ตัวนี้ ที่ผสมใส่ไปเพิ่มจะได้ค่าความมันและความหวาน ต่างจากของไทยที่ต้องเติมน้ำเข้าไป เพราะมีความเข้มข้นสูง "ดีเกินไป" ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้หลุดปากมาจากโรงงานกะทิที่ได้มีการพบปะพูดคุยกับชาวสวน ดังนั้น มองว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นของไทย
 

แฉ "โรงงานกะทิ" ฉาว! สวมโสร่งแบรนด์ไทยขายทั่วโลก


"ก้าวต่อไปก็จะคุยกับมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ว่า ในกรณีดังกล่าวจะทำได้หรือไม่ ต้องบังคับให้โรงงานแยกชัดเจน หรือ ติดฉลากให้ชัด ว่า สินค้าข้างกล่องมาจากอินโดนีเซีย หรือ ทับสะแก หรือ จังหวัดไหนของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจถูก ว่า จะบริโภคผลิตภัณฑ์ของไทย หรือ ของนอก จะได้ชัดเจน เพราะถ้ามาสวมเป็นของไทยหมด มองว่า เอาเปรียบเกษตรกรไทย แล้วไม่ยุติธรรมกับลูกค้าทั่วโลกที่อยากได้ผลิตภัณฑ์มะพร้าวของไทย ดังนั้น โรงกะทิจะต้องทำให้ชัดเจน แล้วให้ผู้บริโภคเป็นคนตัดสินใจเลือกซื้อก็ถือว่าไม่การเอาเปรียบ"
 

แฉ "โรงงานกะทิ" ฉาว! สวมโสร่งแบรนด์ไทยขายทั่วโลก


นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า จากที่รัฐบาลมีการขยายเวลาระงับการนำเข้าชั่วคราว ทำให้มะพร้าวขยับขึ้นมา 9 บาทต่อลูก แล้วที่สำคัญจะต้องหาคนที่อนุญาตนำเข้าน้ำกะทิ ใครเป็นผู้อนุญาต ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานก็ต่างโยนความผิดให้กันและกันอยู่ ยังไม่ทราบว่า ไอ้โม่งเป็นใคร ดังนั้น ต้องติดตามไม่กระพริบในช่วงนี้ โดยเฉพาะพรรครัฐบาล ก็คือ "พรรคประชารัฐ" ได้ให้คำมั่นสัญญาแล้วหาเสียงนโยบายไว้กับชาวสวนปาล์ม ว่า จะให้กิโลกรัมละ 5 บาท ส่วนราคายางพารา 65 บาทต่อกิโลกรัม ผมมาคิดว่า ในช่วงที่คุณเป็นรัฐบาลทำไม่ไม่ทำ แล้วชาวบ้านจะเชื่อได้อย่างไร ว่า เมื่อได้กลับเข้ามาบริหารประเทศใหม่จะทำ เชื่อว่า ทุกคนมีวิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกพรรคเข้ามาบริหารประเทศในวันที่ 24 มี.ค. นี้

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ ราคามะพร้าว ณ วันที่ 19 มี.ค. 2562 "ราคาผู้รวบรวม" มะพร้าวผลใหญ่ 7.50 - 9 บาท/ผล มะพร้าวผลกลาง 4-5 บาท/ผล, มะพร้าวผลคละ 6.50-7 บาท/ผล, เนื้อมะพร้าวขาว 13-15  บาท/กก. เนื้อมะพร้าวแห้ง 8 บาท/กก.

"ราคาโรงงาน" มะพร้าวผลคละ 8 บาท/ผล เนื้อมะพร้าวขาว 16 บาท/กก. ส่งปลายทาง 17 บาท/กก. เนื้อมะพร้าวแห้ง 9-10 บาท/กก. และน้ำมันมะพร้าว 20 บาท/กก.

แฉ "โรงงานกะทิ" ฉาว! สวมโสร่งแบรนด์ไทยขายทั่วโลก


อนึ่ง ที่มาของการระดมทุนทอดผ้าป่า สืบเนื่องจากเครือข่ายชาวสวนมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ร่วมกันแก้ไขวิกฤติราคามะพร้าวตกต่ำ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา สาเหตุมาจาก 1) รัฐบาลอนุมัตินำเข้ามะพร้าวจำนวนมาก 2) ปัญหาลักลอบนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบจับกุมที่เข้มงวด ส่งผลให้มะพร้าวในประเทศล้นตลาดและราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
 

แฉ "โรงงานกะทิ" ฉาว! สวมโสร่งแบรนด์ไทยขายทั่วโลก


ดังนั้น เครือข่ายชาวสวนมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงร่วมใจกันขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติมะพร้าวในครั้งนี้ที่ต้องมีเงินทุนเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็มีการขายเสื้อระดมทุนเพื่อขนกองทัพเข้าไปเจรจากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จนประสบความสำเร็จ ทำให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้มีมติให้ชะลอการนำเข้ามะพร้าวตามความตกลงของ WTO และ AFTA ปี 2562 ออกไปก่อนจนกว่าราคามะพร้าวในประเทศจะดีขึ้น
 

แฉ "โรงงานกะทิ" ฉาว! สวมโสร่งแบรนด์ไทยขายทั่วโลก