ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่ ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

18 มี.ค. 2562 | 02:43 น.

รอบ 3 ปีที่ผ่านมา “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง” ได้รับการยกระดับสลัดภาพจำเดิมจากการปล่อยกู้ให้สมาชิก แปรเปลี่ยนเป็นกองทุนที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนได้เป็นผู้ประกอบการ จากโครงการที่ช่วยกันคิดตอบโจทย์ชุมชนตัวเอง

​ปี 2559-2561 กองทุนทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จำนวน 79,598 กองทุน สมาชิกกว่า 12 ล้านคน มีโอกาสด้านการประกอบอาชีพ การผลิตสินค้าและบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาการบริการประชาชน ก่อให้เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้ การจัดสวัสดิการ และการแก้ไขปัญหาในหมู่บ้านและชุมชนในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์หลายมิติ เช่น ร้านค้าชุมชน โครงการน้ำดื่มชุมชน โครงการส่งเสริมการเกษตร โครงการผลิตภัณฑ์ประชารัฐ โครงการตลาดประชารัฐ​มีการจับมือกับ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” ทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นคลังความรู้ เป็นพี่เลี้ยงให้แก่กองทุนทั่วประเทศ ทั้งการให้คำปรึกษา แนะนำการจัดทำและเขียนโครงการเสนอต่อรัฐบาล ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน และเน้นการทำโครงการโดยใช้ศาสตร์พระราชาและแนวทางประชารัฐในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงช่วยผลิตบุคลากรที่กองทุนหมู่บ้านฯ มีความต้องการ เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีที่มีใบอนุญาต

​พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาตอนหนึ่งในมหกรรมการแสดงผลการดำเนินงานโครงการตามแนวทางประชารัฐของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองวันที่ 10 มกราคม 2562 ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม โดยประชาชนเพื่อประชาชนผ่านกลไกประชารัฐ ให้เดินหน้าไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อยู่บนพื้นฐานความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมาขับเคลื่อน ซึ่งประสบการณ์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ การเรียนรู้ รวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิต และการตลาดให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0

​“รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลมีความเชื่อมั่น และไว้วางใจในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้เป็นอย่างดี ทำให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง มีโอกาสฟื้นฟู เป็น กองทุนที่เข้มแข็งตามนโยบายของรัฐไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

​3 ปีที่ผ่านมา มีการจัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการตามแนวทางประชารัฐอย่างต่อเนื่อง คือ 1.โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ในปี 2559 วงเงิน 35,000 ล้านบาท 2.โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ในปี 2560 วงเงิน 15,000 ล้านบาท และ 3.โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชา ตามแนวทางประชารัฐ ในปี 2561 วงเงิน 20,000 ล้านบาท

​อานิสงส์ที่ตามมา ทำให้เกิดโครงการกว่า 200,000 โครงการ ได้แก่ ร้านค้าชุมชนไม่น้อยกว่า 25,000 ร้านค้าทั่วประเทศ โครงการส่งเสริมการเกษตร 56,000 โครงการ โครงการผลิตภัณฑ์ประชารัฐ 37,000 โครงการ และโครงการตลาดประชารัฐ 2,900 โครงการ ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1.6 ล้านคน มีรายได้รวม 3 ปี กว่า 39,000 ล้านบาท กำไรกว่า 8,500 ล้านบาท ที่เป็นรายได้หล่อเลี้ยงกองทุนและปันผลคืนให้กับสมาชิก

​หลายโครงการประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลเป็นเกียรติประวัติแก่ชุมชนจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 20 ปีของประเทศ ใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน สร้างความสุขและความมั่นคง 2.การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนา 3.การพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ 4.การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำ 5.การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6.การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

​โครงการตลาดน้ำประชารัฐวัดแคนอกของดีเมืองนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี หนึ่งในโครงการต้นแบบของกองทุนหมู่บ้านฯที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
“นายสุรชาติ กันนิ่ม ประธานคณะกรรมการตลาดน้ำประชารัฐวัดแคนอก” บอกว่า ตลาดน้ำวัดแคนอกเกิดจากความเข้มแข็งของของกองทุนหมู่บ้านฯ 57 กองทุน ในอำเภอเมืองนนทบุรี ระดมสมองและเงินจากกองทุนของตัวเอง รวมกลุ่มกันเปิดตลาดน้ำเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจำหน่ายสินค้าของดีเมืองนนทบุรีในชุมชนทั้ง 57 ชุมชน นอกจากตลาดน้ำแล้วยังมีเรือนำเที่ยวล่องแม่น้ำเจ้าพระยา ร้านอาหาร เช่าห้องประชุมสัมมนา ทำให้เกิดรายได้ในชุมชนอย่างมาก

​“นอกจากรายได้แล้ว สิ่งที่เราได้คือเราได้จ้างงานคนในพื้นที่ ทำให้สินค้าในชุมชนมีจุดจำหน่าย วัด โรงเรียน ชุมชน ที่อยู่โดยรอบได้อานิสงส์ด้วยจากตลาดน้ำแห่งนี้ เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับคนในชุมชนอย่างมากที่สามารถดูแลเศรษฐกิจฐานรากด้วยตัวของเขาเองที่ช่วยกันคิดช่วยกันทำ”

กองทุนหมู่บ้านฯ
เป็นที่พึ่งและทุนหมุนเวียนให้ประชาชนให้เป็น
กองทุนหมู่บ้านประชารัฐ สร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับชุมชน

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่ ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่ ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่ ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่ ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่ ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’

ถอดรหัส กองทุนหมู่บ้านโฉมใหม่ ‘เพิ่มโอกาส สร้างงาน เติมรายได้’