กฏหมายใหม่ ตั้ง "ศรชล." คุ้มกันประโยชน์ชาติทางทะเล

13 มี.ค. 2562 | 05:24 น.
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 30 ก ลงวันที่ 12 มีนาคม 2562 โดยมีผลให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ตั้งแต่ 13 มี.ค. 2562)
 
กฏหมายใหม่ ตั้ง "ศรชล." คุ้มกันประโยชน์ชาติทางทะเล

โดยที่ในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ซึ่งปัญหาดังกล่าวอยู่ในเขตทางทะเลอันมีลักษณะที่หลากหลาย และประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตย หรือ สิทธิอธิปไตย ที่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไว้ รวมทั้งมีสิทธิหน้าที่อื่นตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติตามอีกด้วย อันทำให้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถใช้บังคับในเขตทางทะเลที่อยู่ภายนอกราชอาณาจักร หรือ อาจไม่ครอบคลุมถึงการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีอยู่อย่างมากมายในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านทรัพยากร หรือ ด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมีเอกภาพ บูรณาการ และประสานการปฏิบัติงานในเขตทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
กฏหมายใหม่ ตั้ง "ศรชล." คุ้มกันประโยชน์ชาติทางทะเล

สาระสำคัญของกฎหมายนี้ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.) มีนายกฯ หรือ รองนายกฯ ที่นายกฯ มอบหมายเป็นประธาน และกรรมการ โดยตำแหน่ง 27 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อัยการสูงสุด

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 3 คน จากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือ ประสบการณ์ด้านกิจกรรมทางทะเล ด้านกฎหมาย ด้านการทหารเรือ หรือ ด้านอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นกรรมการและเลขานุการ

นปท. มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงถึงให้คำแนะนำ ปรึกษา สนับสนุน กำกับติดตามประเมินผลเชิงนโยบายข้างต้น
 

ทั้งนี้ ให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เรียกโดยย่อว่า "ศรชล." ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ มีหน้าที่และอำนาจและรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

ศรชล. อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน และหน้าที่และอำนาจของส่วนงานและอัตรากำลัง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ ศรชล. มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็น รอง ผอ. และให้เสนาธิการทหารเรือเป็นเลขาธิการ ศรชล.
 

กฏหมายใหม่ ตั้ง "ศรชล." คุ้มกันประโยชน์ชาติทางทะเล

ศรชล. มีหน้าที่และอำนาจในการวางแผน อำนวยการ ประสานงาน สั่งการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดตามตรวจสอบและประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและดำเนินการตามนโยบายให้ ครม. เห็นชอบ รวมถึงวางแผน พัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับระบบควบคุมบังคับบัญชาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการปฏิบัติงานของ ศรชล. ให้สามารถติดต่อ เชื่อมโยง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือ หน่วยงานอื่น ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
 

นอกจากนี้ ยังให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เรียกโดยย่อว่า "คณะกรรมการบริหาร ศรชล." ประกอบด้วย ผบ.ทร. เป็นประธานกรรมการ รองผบ.ทร. หรือ ผู้ที่ ผบ.ทร. มอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ อธิบดีกรมการจัดหางาน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมเจ้าท่า อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อธิบดีกรมสรรพสามิต
 

กฏหมายใหม่ ตั้ง "ศรชล." คุ้มกันประโยชน์ชาติทางทะเล

อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ ผอ.ศรชล.ภาค เป็นกรรมการ ให้เสนาธิการทหารเรือเป็นกรรมการและเลขานุการ

มีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการทำแผนงาน งบประมาณ วางระเบียบการอำนวยการ การดำเนินการเพื่อบูรณาการการปฎิบัติงานร่วมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตั้งอนุกรรมการเพื่อการปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลตั้ง ศรชล. ให้กองทัพเรือเป็นแกนนำตรวจสอบการทำประมงผิดกฎหมายไร้การรายงาน (ไอยูยู) ก่อนจะตั้งเป็นหน่วยงานถาวรขึ้นตรงนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายนี้

กฏหมายใหม่ ตั้ง "ศรชล." คุ้มกันประโยชน์ชาติทางทะเล