ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง-ช่วยเหลือประชาชน

06 มี.ค. 2562 | 12:04 น.

ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง-ช่วยเหลือประชาชน

วันนี้ (วันที่ 6 มี.ค.62) นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  เปิดเผยภายหลังจาก เป็นประธานในที่ประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 3/2562  กล่าวว่า ได้รับการยืนยันจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่า จากนี้ไปตั้งแต่เดือนมีนาคมและเมษายน จนกระทั่งถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีฝนตกประปรายบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะในสัปดาห์หน้า ประมาณ 12-14 มีนาคม หลังจากนั้นไปก็จะไม่มีฝนตกแล้ว ที่สำคัญจากนี้ไปเป็นการบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่มีอยู่เดิม คาดว่าฝนจะตกอีกครั้งประมาณกลางเดือนพฤษภาคม แล้วคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนปลายเดือนพฤษภาคม จะเข้าสู่ฤดูฝนเร็วกว่าปีที่แล้ว ยืนยันว่ากระแสแล้งยาวไม่เป็นความจริง

ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง-ช่วยเหลือประชาชน

ส่วนแผนรับมือมีทั้งหมด 7 มาตรการ ได้แก่ 1.แจ้งเตือนเกษตรกรงดการปลูกพืชฤดูแล้งและพืชต่อเนื่อง 2.ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่ในเขตชลประทานและลำน้ำสายหลักตลอดจนพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ 3.ลดการเลี้ยงปลากระชัง และบ่อปลา ช่วงฤดูแล้ง 4.เฝ้าระวังการระบายน้ำเสีย หรือสารปนเปื้อน ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ 5.สำรวจความต้องการใช้น้ำทุกภาคส่วน เพื่อประเมินปริมาณน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูแล้ง 6.เตรียมความพร้อมอุปกรณ์เครื่องจักร เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือ และ 7.มาตรการเผชิญเหตุ อาทิ ให้หน่วยงานพิจารณาใช้น้ำจากแหล่งน้ำในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอันดับแรก สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำและเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบรรเทาความรุนแรง

ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง-ช่วยเหลือประชาชน

ปัจจุบันพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงต้นฤดูแล้ง มีทั้งหมด 11 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ศรีษะเกษ หนองบัวลำภู และภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ซึ่งในขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีมาตรการให้ปลูกพืชอื่นทดแทนนาปรัง ซึ่งมีชาวนาเข้าร่วม จำนวน 6.19 หมื่นไร่ ทำให้มีน้ำปริมาณพอเพียงต่อการเพาะปลูกในพื้นที่เสี่ยงทั้ง 11 จังหวัด ส่วนที่น่าเป็นห่วงก็คือ 34 จังหวัดพื้นที่เพาะปลูกเกินแผน โดยแบ่งเป็นในเขตชลประทาน 31 จังหวัด และนอกเขตชลประทาน พื้นที่เพาะปลูกเกินแผน 5 จังหวัดสำหรับในส่วนภาคอุตสาหกรรมไม่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง-ช่วยเหลือประชาชน

นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า การคาดการณ์ปริมาณยังเร็วเกินไป ต้องขอเวลา 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าจะให้แม่นยำจริงๆ จะต้องหลังวันสงกรานต์ไปแล้ว ภาพจะชัดเจนมากขึ้นว่าปริมาณน้ำฝนมากหรือน้อย อย่างไรก็ดีอยากรณรงค์ให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำเป็นการดีที่สุด

ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง-ช่วยเหลือประชาชน