เนชั่นวิเคราะห์สนามเลือกตั้งด้ามขวาน ปชป.กวาด40 เสียง“วันนอร์”ทวงคืนได้ 2 เสียง

06 มี.ค. 2562 | 09:49 น.

   เนชั่นวิเคราะห์สนามเลือกตั้งด้ามขวาน  ปชป.กวาด40 เสียง“วันนอร์”ทวงคืนได้ 2 เสียง

          “เนชั่น”ได้วิเคราะห์สนามเลือกตั้งภาคใต้ ซึ่งถือเป็นฐานเสียงที่สำคัญที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์กวาดที่นั่ง ส.ส. เขตในภาคใต้ไปถึง 50 จากทั้งหมด 53 ที่นั่ง ถือเป็นการเหมาจังหวัดทั้งสิ้น 12 จากทั้งหมด 14 จังหวัดภาคใต้สำหรับอีก 3 พรรคการเมืองที่สอดแทรกเข้ามาได้ ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคมาตุภูมิ โดยทุกพรรคได้ ส.ส. เขตพรรคละ 1 คนจากภาคใต้

         สำหรับการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ภาคใต้มีทั้งหมด 50 เขตเลือกตั้ง จากการลงพื้นที่โค้งสุดท้ายพบว่า พรรคประชาธิปัตย์กวาดที่นั่งส.ส.ภาคใต้ไปถึง 40 ที่นั่งจากทั้งหมด 50 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นการแบ่งพื้นที่ให้กับ 4 พรรค ประกอบด้วย พรรคพลังประชารัฐ 1 ที่นั่ง พรรครวมพลังประชาชาติไทย 4 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 3 ที่นั่ง และพรรคประชาชาติ 2 ที่นั่ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

จังหวัดนราธิวาส

มี 4 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 นายวัชระ ยาวอหะซัน พรรคพลังประชารัฐ ประธานสโมสรฟุตบอลนรายูไนเต็ด อดีตส.ส.นราธิวาส 2 สมัย จากคะแนนเสียงส่วนใหญ่จากบารมีของพ่อนายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส

เขตเลือกตั้งที่ 2 นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ พรรครวมพลังประชาชาติไทย อดีตส.ส.หลายสมัยพรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ฐานเสียงในพื้นที่ยังเข้มแข็งจะชนะอีกครั้ง

เขตเลือกตั้งที่ 3 นายกูเฮง ยาวอหะซัน พรรคประชาชาติ อดีตส.ส.2 สมัย ซึ่งก็ยังต้องอาศัยบารมีบารมีของบิดา นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาสเช่นกัน

(เขตเลือกตั้งที่ 4) นายเจ๊ะอีลย๊าส โตะตาหยง พรรครวมพลังประชาชาติไทย ลูกชาย นายเจ๊ะอามิง โตะตาหยง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายสมัยบารมีของพ่อ

จังหวัดยะลา

 มี 3 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 นายภูริพงศ์ พงษ์สุวรรณศิริ พรรคประชาธิปัตย์ ลูกชายของนายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ น่าจะยังคงรักษาเก้าอี้สส.ไว้ได้ เพราะฐานเสียงเดิมของบิดา และพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงเหนี่ยวแน่นกว่า

เขตเลือกตั้งที่ 2 นายอับดุลการิม เต็งกะรีนา พรรครวมพลังประชาชาติไทย อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนนิยมในพื้นที่ยังไม่มีตก จะรักษาเก้าอี้ไว้ได้

เขตการเลือกตั้งที่ 3 นายณรงค์ ดูดิง พรรคประชาธิปัตย์  อดีตส.ส.เจ้าของพื้นที่ที่มีฐานเสียงเหนียวแน่นคนหนึ่ง ทำให้เขตนี้เหนือกว่าคู่แข่ง

เนชั่นวิเคราะห์สนามเลือกตั้งด้ามขวาน  ปชป.กวาด40 เสียง“วันนอร์”ทวงคืนได้ 2 เสียง

ปัตตานี

 จังหวัดปัตตานีมี 4 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.เขตนี้  มาถึงวันนี้คะแนนนิยมก็ยังดีไม่มีตก  เกาะติดพื้นที่จึงไม่มีปัญหาสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้

(เขตเลือกตั้งที่ 2) นายอิสมาแอล เบญอิบรอฮีม พรรคประชาธิปัตย์  อดีตส.ส.เจ้าของพื้นที่นี้  จนถึงขณะนี้ก็ยังมองไม่เห็นว่าจะมีคู่แข่งคนไหนมาเบียดได้

(เขตเลือกตั้งที่ 3) นายอนุมัติ ซูสารอ พรรคประชาชาติ อดีตส.ส.พรรคมาตุภูมิ ซึ่งจนถึงวันนี้คะแนนเสียงยังดีอยู่ ซึ่งจะสามารถรักษาพื้นที่เขตนี้ต่อไป

(เขตเลือกตั้งที่ 4) นายฟรีดี  เบญอิบรอน  พรรคประชาธิปัตย์  อดีตเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการคมนาคม คนหนุ่มไฟแรง เกาะติดพื้นที่    

 

สงขลา

 จังหวัดสงขลามี 8 เขตเลือกตั้ง   เขตเลือกตั้งที่1 นายสรรเพ็ชญ  บุญญามณี พรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครหน้าใหม่ ลูกชายนายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา) ค่อนข้างแน่นอนว่าฐานคะแนนเสียงของพ่อในฐานะนายกอบจ.สงขลา ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ จะสามารถส่งให้นายสรรเพ็ชร สอบผ่านได้ฉลุย

เขตเลือกตั้งที่ 2  นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เขตนี้ที่ใครๆมองว่าจะเป็นจุดอ่อน แต่ด้วยการทำงานอยู่เบื้องหลังอย่างหนักและต่อเนื่องไม่ของนายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ อดีตส.ส.ปชป.หลายสมัย ผู้เป็นบิดายังรักษามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อค้า นักธุรกิจ องค์กร สมาคมจีน ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียงสำคัญในเขตนี้ จะยังเป็นคะแนนหนุนให้ นายภิรพล ยังรักษาเก้าอี้ตัวนี้ไว้ได้เช่นเดิมไม่ยากนัก

เขตเลือกตั้งที่ 3 นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์ทำงานให้พรรคของอดีตหัวหน้าทีมกฎหมายพรรคที่โดดเด่นและผลงานในพื้นที่ทำงานใกล้ชิดชาวบ้าน ทำให้เสียงตอบรับทนายวิรัตน์ ยังดีไม่มีตก

เขตเลือกตั้งที่ 4 นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยังเกาะติดพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมคาบสมุทรสทิงพระ ตุนคะแนนไว้มากโข  ก็น่าจะเข้าเส้นชัยไปได้

เขตเลือกตั้งที่ 5 นายเดชอิศม์  ขาวทอง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา) นายกชาย ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ บนถนนการเมืองกว่า 15 ปี ฐานเสียงแน่น เพราะการทำงานการเมืองต่อเนื่อง วันนี้เป้าหมายของนายกชายไม่ใช่แค่การสอบให้ผ่านเท่านั้น แต่ต้องการผลสอบที่ได้คะแนนให้สูงสุดของภาคใต้ในการเลือกตั้งครั้งนี้

เขตเลือกตั้งที่ 6 นายถาวร เสนเนียม ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ที่มีผลงานและทำงานให้พรรคในฐานะทีมกฎหมายได้โดดเด่นโดนใจชาวบ้านในพื้นที่ บวกกับคะแนนจากแม่ยกในฐานะอดีตแกนนำกปปส. ทำให้วันนี้คะแนนเสียงของอดีตอัยการถาวร  ยังยากที่คู่แข่งจะเบียดได้

เขตเลือกตั้งที่ 7 นายศิริโชค โสภา ผู้สมัคร พรรคประชาธิปัตย์ ฉายาวอล์เปเปอร์หัวหน้าพรรค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้การแข่งขันในพื้นที่จะรุนแรงแต่เชื่อว่า1ใน 3 ของทีมสายล่อฟ้า จะมีความสามารถในกล่อมให้แม่ยกตัดใจทิ้งไม่ลง ถ้ายังรัก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ก็อย่าลืม ศิริโชค โสภา

 เขตเลือกตั้งที่ 8  พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่  ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทยป ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ คะแนนเสียงในพื้นที่แข็งเป็นกำแพงเหล็ก ยากที่ใครจะฟันผ่าบวกกับเขตเลือกตั้งเป็นพื้นที่ชุมชนไทยมุสลิม ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ ไม่กลัวว่าคู่แข่งจะมาแบ่งแต้มในมือ

สตูล

จังหวัดสตูลมี 2 เขตเลือกตั้ง   เขตเลือกตั้งที่ 1 นายอิบรอเหม อาดำ พรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าฐานเสียงส่วนตัวอาจจะไม่มาก แต่มีนายธานินทร์ ใจสมุทร อดีตส.ส.พรรคชาติไทยและอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลเป็นกำลังหนุน

เขตเลือกตั้งที่ 2  นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธ์  พรรคภูมิใจไทย ลูกชายของคหบดีแห่งจังหวัดสตูล นายสมเกียรติ เลียงประสิทธิ์ และเป็นหลานชาย นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล

พัทลุง

จังหวัดพัทลุงมี 3 เขตเลือกตั้ง   เขตเลือกตั้งที่ 1 นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร พรรคประชาธิปัตย์  อดีตส.ส.ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะฐานเสียงยังดีการแข่งขันไม่รุนแรง และเกาะติดพื้นที่

เขตเลือกตั้งที่ 2 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์ รองหัวหน้าพรรค/ดูแลพื้นที่ภาคใต้  แม้ว่าจะเจอคู่แข่งที่สูสีการเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่ก็ยังเชื่อมั่นในฐานเสียงปชป. 

เขตเลือกตั้งที่ 3 นายนริศ ขำนุรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.ที่เสียงตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ยังดีอยู่ ไม่น่าจะมีปัญหาสามารถชนะได้

ตรัง

จังหวัดตรังเขต 3 เขตเลือกตั้ง    เขตเลือกตั้งที่ 1 นายแพทย์สุกิจ อัตโถปกรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ ที่แม้ว่าคะแนนนิยมส่วนตัวจะลดลง แต่เสียงของพรรคและฐานเสียงเก่าจะทำให้ชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้

เขตเลือกตั้งที่ 2 นายสาธิต วงศ์หนองเตย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจะอาศัยฐานเสียงเก่าที่มีอยู่ชนะไปได้ เช่นกัน

เขตเลือกตั้งที่ 3  นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์ ลูกสาวนายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ อดีตส.ส.เจ้าของพื้นที่ จะอาศัยบารมีบิดา ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้

 

กระบี่  

จังหวัดกระบี่มี 2 เขตเลือกตั้ง  เขตเลือกตั้งที่ 1  นายสาคร  เกี่ยวข้อง พรรคประชาธิปัตย์  เนื่องจากเขตนี้เป็นที่เป็นพื้นที่ฐานเสียของปชป.มายาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 

เขตเลือกตั้งที่ 2  ดร.สฤษฎ์พงษ์  เกี่ยวข้อง  พรรคภูมิใจไทย  อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบื่ น้องเขยนายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่

พังงา

 จังหวัดพังงามีเขตเลือกตั้งเดียว  นางกันตวรรณ ตันเถียร พรรคประชาธิปัตย์  เสียงตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ดี แฟนคลับยังเหนียวแน่น เกาะติดพื้นที่ต่อเนื่อง  เป้าหมายคือการทำคะแนนให้สูงสุดเท่าที่จะทำได้ 

 

ภูเก็ต

 จังหวัดภูเก็ตมี 2 เขตเลือกตั้ง  เขตเลือกตั้งที่ 1 นายเรวัต อารีรอบ พรรคประชาธิปัตย์ ส.ส. 2 สมัย ด้วยผลงานที่ประจักษ์ เกาะติดพื้นที่ บวกกับฐานคะแนนเสียงของ ปชป.ก็ยังคงมีอย่างเหนียวแน่น ไม่น่าจะมีปัญหา

เขตเลือกตั้งที่2 นายชัยยศ ปัญญาไวย พรรคประชาธิปัตย์  อดีตสมาชิกวุฒิสภาภูเก็ต เป็นคนจ.ภูเก็ตโดยกำเนิด มีเพื่อนฝูงค่อนข้างมากในหลายวงการ 

ชุมพร

จังหวัดชุมพรมี 3 เขตเลือกตั้ง  เขตเลือกตั้งที่ 1 นายชุมพล จุลใส พรรคประชาธิปัตย์  เนื่องจากในเขตนี้มีจำนวนผู้สมัคที่มีน้อยและส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครไม้ประดับ ทำให้เขตนี้ชนะแบบขาดลอย

เขตเลือกตั้งที่ 2  แชมป์เก่าคือ นายสราวุธ  อ่อนละมัย จาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้กระแสพรรค กระแสนายชวน จะเบียดเอาชนะ นายสมบูรณ์ หนูนวล ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐไปได้

 เขตเลือกตั้งที่ 3 น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงก่อนถึงการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม เดิมเขตนี้เจ้าของแชมป์คือ "ธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์" ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ แต่การเลือกตั้งครั้งนี้คอการเมือง เทคะแนนให้ "ลูกช้าง" สุพล จุลใส  พี่ชายของ "ลูกหมี" ชุมพล จุลใส ที่ลงสมัครในนาม "พรรครวมพลังประชาชาติไทย" ของ "ลุงกำนัน" สุเทพ เทือกสุบรรณ โดยมองจากผลงานของ "ลูกช้าง" ที่ทำกิจกรรมการเมืองในพื้นที่ต่อเนื่องในฐานะ "อดีตนายก อบจ.ชุมพร" ขณะที่ “ธีระชาติ” เสียเปรียบ เพราะถูกคำสั่ง คสช.บล็อกการทำกิจกรรมการเมืองในพื้นที่

ระนอง

จังหวัดระนองมีเขตเลือกตั้งเดียว   นายคงกฤษ  มาลีรัตน์  พรรคภูมิใจไทย  อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง (อบจ.) ระนอง มีผลงานที่ชาวบ้านพอใจ  คุมฐานเสียงสจ.ได้เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นคะแนนที่สำคัญในแต่ละพื้นที่ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเครือข่ายอีกเกินครึ่งจะช่วยผลักดันให้อดีตนายกอบจ.ระนองได้รับชัยชนะล้มแชมป์ 8 สมัย ครองใจคนระนอง

เนชั่นวิเคราะห์สนามเลือกตั้งด้ามขวาน  ปชป.กวาด40 เสียง“วันนอร์”ทวงคืนได้ 2 เสียง

สุราษฎร์ธานี

จังหวัดสุราษฎร์ธานีมี 6 เขตเลือกตั้ง  เขตเลือกตั้งที่ 1  นายภาณุ ศรีบุศยกาญจน์ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีและรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีฐานการเมืองท้องถิ่นมายาวนาน 25 ปี แข่งกับ “ธานี เทือกสุบรรณ” ผู้สมัครจากพรรครวมพลังประชาชาติไทย น้องชาย สุเทพ เทือกสุบรรณ แต่คอการเมืองในพื้นที่มองว่าคนใต้ถึงอย่างไรก็ยังรักและภักดีกับ”พรรคประชาธิปัตย์”

 เขตเลือกตั้งที่ 2 นายวิธวรรธน์ นิลวัชรมณี พรรคประชาธิปัตย์ ลูกชายนายประวิช นิลวัชรมณี อดีตส.ส.5 สมัยได้รับแรงหนุนจากฐานเสียงของพรรคปชป.โดยเฉพาะฐานเสียงของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน

เขตเลือกตั้งที่ 3 นางสาววชิราภรณ์กาญจนะ ลูกสาวนายชุมพล กาญจนะ กับนางโสภา กาญจนะ อดีต ส.ส.หลายสมัยลงแข่งขันซึ่งเขตนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ผ่านฉลุยแน่นอนเพราะทั้งชุมพลและโสภา พ่อแม่มีฐานเสียงเหนียวแน่น

เขตเลือกตั้งที่ 4  นายสมชาติ ประดิษฐพร หรือ ส.จ.อ้อย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง จนวันนี้กระแสตอบรับดี แม้จะมีคู่แข่ง “เชน เทือกสุบรรณ”  น้องชาย สุเทพ เทือกสบุรรรณ โดยมองว่าภาคใต้ต้อง “พรรคประชาธิปัตย์”

เขตเลือกตั้งที่ 5 นายสินิตย์ เลิศไกร พรรคประชาธิปัติ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หลายสมัยแม้จะไม่มีบทบาทมากนักแต่ฐานเสียงยังแน่น

เขตเลือกตั้งที่ 6 นายธีรภัทธ พริ้งศุลกะ พรรคประชาธิปัตย์ ลูกชายนางนิภา พริ้มศุลกะ อดีต ส.ส.7 สมัยพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อว่าบารมีของมารดาจะนำพาให้ชนะการเลือกตั้ง

เนชั่นวิเคราะห์สนามเลือกตั้งด้ามขวาน  ปชป.กวาด40 เสียง“วันนอร์”ทวงคืนได้ 2 เสียง

นครศรีธรรมราช

  จังหวัดนครศรีธรรมราชมี 8 เขตเลือกตั้ง  เขตเลือกตั้งที่ 1 นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธ์ พรรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าจะย้ายพื้นที่เขตเลือกตั้งมาสร้างฐานใหม่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 แต่เชื่อว่าจะเป็นผู้ชนะ

เขตเลือกตั้งที่ 2 นายวิทยา แก้วภราดัย พรรคประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่มาต่อเนื่องยาวนานสร้างความสัมพันธ์จนเป็นเนื้อเดียวกับชาวบ้าน เสมอกันไม่ว่าจะมีตำแหน่งหรือไม่มีตำแหน่ง เป็นจุดแข็งที่หาใครมาเทียบยาก

เขตเลือกตั้งที่ 3 น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ มีฐานเสียง และเคยลงสมัครในเขต อ.พระพรหม อ.เฉลิมพระเกียรติ มาอย่างต่อเนื่อง จะชนะนายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ อดีตนายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

 เขตเลือกตั้งที่ 4 นายประกอบ รัตนพันธ์  พรรคประชาธิปัตย์ แม้การแข่งขันในเขตนี้จะสูง แต่ณโค้งนี้ นายประกอบจากค่ายสีฟ้ายังนำอยู่ไม่มาก

เขตเลือกตั้งที่ 5 นายชิณวรณ์ บุณยเกียรติ พรรคประชาธิปัตย์ ที่วันนี้ฐานเสียงในพื้นที่ยังเหนียวแน่นจนยากที่ใครจะเข้ามาเบียดแซงได้

เขตเลือกตั้งที่ 6 นายชัยชนะ เดชเดโช  พรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าในเขตนี้การแข่งขันจะดุเดือดอีกเขตหนึ่ง แต่ท้ายที่สุดแล้วนายชัยชนะ ก็ยังมีแต้มต่อคู่แข่ง

เขตเลือกตั้งที่ 7นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่กันใหม่สร้างฐานเสียงใหม่หลายจุด แต่ก็ยังเป็นตัวยืนในการครองตำแหน่ง

เขตเลือกตั้งที่ 8 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคประชาธิปัตย์  เขตนี้ให้น้ำหนักยังอยู่ที่เจ้าของพื้นที่เดิมคือ“พิมพ์ภัทรา”จากแห่งค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผม

เนชั่นวิเคราะห์สนามเลือกตั้งด้ามขวาน  ปชป.กวาด40 เสียง“วันนอร์”ทวงคืนได้ 2 เสียง