'เนชั่น' เจาะสนามเลือกตั้ง กทม. "ปชป." นำลิ่ว 22 ที่นั่ง - "พท." 8 ที่นั่ง

06 มี.ค. 2562 | 05:02 น.

'เนชั่น' เจาะสนามเลือกตั้ง กทม. "ปชป." นำลิ่ว 22 ที่นั่ง - "พท." 8 ที่นั่ง


ผลเนชั่นวิเคราะห์ เลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. 2562 คาดว่าจะมีเพียงผู้สมัคร ส.ส. ของ 2 พรรคการเมืองเท่านั้น ที่ได้รับเลือกตั้งใน กทม. คือ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ 22 ที่นั่ง ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ 8 ที่นั่ง เหตุผลหลัก คือ ฐานเสียงของเจ้าตัวและกระแสพรรคการเมืองที่สังกัด ส่วนเหตุผลปลีกย่อย คือ การขยันลงพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ดี เป็นคนรุ่นใหม่ หน้าตาดี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ และเขตดุสิต (ยกเว้นถนนนครไชยศรี)

นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากฐานเสียงเดิมของเจิมมาศ เลือกตั้งปี 2554 ได้ 40,328 คะแนน ขณะที่ เพื่อไทย ซึ่งส่ง พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ เภกะนันทน์ ได้เพียง 20,230 คะแนน เจิมมาศชนะกว่าเท่าตัว 2 หมื่นคะแนน คราวนี้เขต 1 เพื่อไทย ส่ง "ลีลาวดี วัชโรบล" ซึ่งเป็น ส.ส. เขต 5 ที่ได้ 38,206 คะแนน มาลงแข่ง เนื่องจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ครั้งนี้ มีเขตดุสิต ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 5 อยู่ด้วย แต่ก็คงสู้เจิมมาศไม่ได้ ที่มีฐานเสียงเจ้าตัวกับกระแสพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ ส่วนพลังประชารัฐ ส่ง นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็น ส.ก. เขตดุสิต ปี 2553 ได้ 10,481 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย เขตปทุมวัน เขตบางรัก และเขตสาทร

นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ ฐานเสียงเดิมยังแน่น เลือกตั้งปี 2554 นางอรอนงค์ได้ 52,178 คะแนน ชนะหม่อมหลวงณัฏฐพล เทวกุล พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้ 26,956 คะแนน บวกกับกระแสพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ และเลือกตั้งครั้งนี้ นางอรอนงค์แข่งกับหม่อมหลวงณัฏฐพลเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าครั้งนี้ หม่อมหลวงณัฏฐพลมาลงพรรคไทยรักษาชาติ โดยที่พรรคเพื่อไทยไม่ส่งผู้สมัครฯ เขตเลือกตั้งนี้


เขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วย เขตบางคอแหลมและเขตยานนาวา

หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนเสียงของเจ้าตัวในพื้นที่กับกระแสพรรคประชาธิปัตย์ เลือกตั้งปี 2554 อภิมงคลได้ 47,982 คะแนน ชนะพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ พรรคเพื่อไทย ที่ได้ 29,976 คะแนน เลือกตั้งครั้งนี้ หม่อมหลวงอภิมงคลแข่งกับพงษ์พิสุทธิ์เหมือนเดิม เพียงแต่ว่า ครั้งนี้ พงษ์พิสุทธิ์ลงในสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ โดยเพื่อไทยไม่ส่งผู้สมัครฯ เขตเลือกตั้งนี้


เขตเลือกตั้งที่ 4 ประกอบด้วย เขตคลองเตยและเขตวัฒนา

นายอนุชา บูรพชัยศรี พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนเสียงของเจ้าตัว เลือกตั้งปี 2554 ได้ 44,621คะแนน ชนะนายวรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ จากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 29,749 คะแนน กับกระแสพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ พรรคเพื่อไทยครั้งนี้ไม่ส่งผู้สมัคร และผู้สมัครจากพรรคไทยรักษาชาติ คือ นายนวธันย์ ธวัชวงศ์ เดชากุล ไม่เคยลงสมัครพื้นที่นี้


เขตเลือกตั้งที่ 5 ประกอบด้วย เขตห้วยขวางและเขตดินแดง

นายธนา ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากเขตดินแดงเป็นพื้นที่ฐานเสียงเดิมของธนา เลือกตั้งปี 2554 ได้ 51,501 คะแนน ส่วนเขตห้วยขวางเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคเพื่อไทยเปลี่ยนตัวผู้สมัครเป็น นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ซึ่งไม่มีฐานเสียงในพื้นที่


เขตเลือกตั้งที่ 6 ประกอบด้วย เขตราชเทวี เขตพญาไท และเขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจตุจักรและแขวงจอมพล)

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนเสียงเจ้าตัวในแขวงจตุจักร เลือกตั้งปี 2554 ได้ 42,352คะแนน อีกทั้งเขตพญาไทเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคเพื่อไทยส่ง นายประพนธ์ เนตรรังสี ซึ่งเป็น ส.ก. เขตจตุจักร เขตที่ 1 ปี 2553 ได้ 10,057 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 7 ประกอบด้วย เขตบางซื่อและเขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)

นายคณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้กระแสพรรคประชาธิปัตย์และแกนนำของพรรคช่วยหาเสียงให้ หน้าตาดี และเป็นวัยรุ่น


เขตเลือกตั้งที่ 8 ประกอบด้วย เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงพลับพลา)

นายสรรเสริญ สมะลาภา พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของพื้นที่ เลือกตั้งปี 2554 ได้ 43,293 คะแนน อีกทั้งผู้สมัคร ส.ส. ในเขตเลือกตั้งนี้ไม่มีฐานเสียงเยอะ


เขตเลือกตั้งที่ 9 ประกอบด้วย เขตหลักสี่และเขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจตุจักรและแขวงจอมพล)

นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย ขยันลงพื้นที่และเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม เลือกตั้งปี 2554 ได้ 28,376 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 10 ประกอบด้วย เขตดอนเมือง

นายการุณ โหสกุล พรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่เดิม เลือกตั้งปี 2554 ได้ 38,351 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 11 ประกอบด้วย เขตสายไหม

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่เลือกตั้งปี 2554 ได้ 51,765 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 12 ประกอบด้วย เขตบางเขน

นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่เลือกตั้ง ปี 2554 ได้ 49,829 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 13 ประกอบด้วย เขตบางกะปิและเขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงพลับพลา)

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ พรรคประชาธิปัตย์ กระแสพรรคประชาธิปัตย์ รวมกระแสหัวหน้าพรรคในเขตนี้ช่วย บวกกับกระแสคนรุ่นใหม่ จึงเป็นเต็งหนึ่ง


เขตเลือกตั้งที่ 14 ประกอบด้วย เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาว (เฉพาะแขวงรามอินทรา)

นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย ขยันลงพื้นที่และกระแสพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ เลือกตั้งปี 2554 ได้ 48,690 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 15 ประกอบด้วย เขตมีนบุรีและเขตคันนายาว (เฉพาะแขวงคันนายาว)

นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่ คะแนนจัดตั้งดี เลือกตั้งปี 2554 ได้ 42,450 คะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 16 ประกอบด้วย เขตคลองสามวา

นางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง พรรคประชาธิปัตย์ กระแสพรรคประชาธิปัตย์ในเขตนี้ คะแนนเสียงจากคนมุสลิม อีกทั้งเป็นน้องสาวของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ส่วน "จิรายุ ห่วงทรัพย์" ที่เลือกตั้งครั้งนี้ก็ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกในสังกัดพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิม ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมที่ได้เป็น ส.ส. ในการเลือกตั้งปี 2554 เพราะกระแสของพรรคเพื่อไทยและแกนนำพรรคฯ คือ วิชาญ มีนชัยนันท์ มาช่วย โดยที่เจ้าตัวคะแนนเสียงไม่ได้มีมาก เลือกตั้งปี 2554 ชนะผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ คือ สมัย เจริญช่าง เพียงพันกว่าคะแนน


เขตเลือกตั้งที่ 17 ประกอบด้วย เขตหนองจอก

นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคเพื่อไทย ส.ส. เจ้าของพื้นที่เดิมหลายสมัย


เขตเลือกตั้งที่ 18 ประกอบด้วย เขตลาดกระบัง

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย ฐานเสียงเดิมหนาแน่น สืบมาตั้งแต่รุ่นพ่อ


เขตเลือกตั้งที่ 19 ประกอบด้วย เขตสะพานสูงและเขตประเวศ (เฉพาะแขวงประเวศ)

นางนาถยา แดงบุหงา พรรคประชาธิปัตย์ ฐานเสียงเดิม กระแสพรรคช่วย


เขตเลือกตั้งที่ 20 ประกอบด้วย เขตสวนหลวงและเขตประเวศ (ยกเว้นแขวงประเวศ)

นายสามารถ มะลูลีม พรรคประชาธิปัตย์ มีฐานเสียงเดิม คะแนนเสียงจากคนมุสลิม ฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์


เขตเลือกตั้งที่ 21 ประกอบด้วย เขตพระโขนงและเขตบางนา

นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้กระแสพรรคประชาธิปัตย์


เขตเลือกตั้งที่ 22 ประกอบด้วย เขตบางกอกใหญ่ เขตคลองสาน และเขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงสำเหร่)

นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเจ้าของพื้นที่เดิม


เขตเลือกตั้งที่ 23 ประกอบด้วย เขตจอมทองและเขตธนบุรี (เฉพาะแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงสำเหร่)

นางนันทพร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเจ้าของพื้นที่เดิมและกระแสพรรคช่วย


เขตเลือกตั้งที่ 24 ประกอบด้วย เขตราษฎร์บูรณะและเขตทุ่งครุ

นายสาทร ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ ได้กระแสพรรคประชาธิปัตย์ช่วย


เขตเลือกตั้งที่ 25 ประกอบด้วย เขตบางขุนเทียน

นายสากล ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ มีฐานคะแนนเสียงเดิมของเจ้าตัวและกระแสพรรคประชาธิปัตย์ช่วยเสริมอีกแรง


เขตเลือกตั้งที่ 26 ประกอบด้วย เขตบางบอนและเขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม)

พ.ต.อ.สามารถ ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ มีฐานเสียงของตระกูลม่วงศิริเต็มพื้นที่บางบอน และได้กระแสพรรค ปชป. จะทำให้ "คนบ้านมีรั้ว" เลือก ซึ่ง 8 ปีมานี้ หมู่บ้านระดับราคา 10-20 ล้าน ผุดขึ้นในเขตนี้มากพอควร ขณะที่ นายวัน อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย แม้ขยันทำงานพื้นที่ แต่ภาพลักษณ์ยังติดลบ


เขตเลือกตั้งที่ 27 ประกอบด้วย เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองค้างพลู) และเขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงฉิมพลีและแขวงตลิ่งชัน)

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้กระแสพรรคและฐานเสียงเดิม


เขตเลือกตั้งที่ 28 ประกอบด้วย เขตบางแค

นางอรอนงค์ คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์ กระแสพรรคดีและเป็นเจ้าของพื้นที่


เขตเลือกตั้งที่ 29 ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงฉิมพลีและตลาดตลิ่งชัน)

นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของพื้นที่เดิม


เขตเลือกตั้งที่ 30 ประกอบด้วย เขตบางกอกน้อยและเขตบางพลัด

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเจ้าของพื้นที่และได้กระแสพรรคช่วย

'เนชั่น' เจาะสนามเลือกตั้ง กทม. "ปชป." นำลิ่ว 22 ที่นั่ง - "พท." 8 ที่นั่ง