"พลิกโฉมไทย ... เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ... ไปกับ "ฐานเศรษฐกิจ"

28 ก.พ. 2562 | 18:53 น.

การขยายตัวของเมืองและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ต่อการขยายโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศเป็นอย่างมาก โดยไทยเป็นประเทศที่เติบโตของเมืองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่มีการขยายตัวของอาคารบ้านเรือนมากขึ้น มีโครงการคอนโดฯ อาคารชุดเกิดขึ้นมากมาย เพื่อรองรับปริมาณประชากรที่เพิ่มในเมืองมากขึ้น ปัจจุบัน ประชากรในกรุงเทพฯ มีความหนาแน่นจัดว่าติดอันดับโลก แม้ว่าอาจน้อยกว่าเมืองใหญ่ติดอันดับโลกอย่างนิวยอร์ก หรือ โตเกียว แต่หากนับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ประชากรในกรุงเทพฯ จัดว่ามากที่สุดในพื้นที่ โดยมีประชากรหนาแน่นมากกว่า 10 ล้านคน

ทั้งนี้ การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ปัญหาของสังคมเมืองทั่วโลกอันดับต้น ๆ คือ ปัญหาการจราจร โดยจากการจัดอันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลก ของ INRIX ได้มีการประเมินสภาพการจราจรทั่วโลกระหว่างปี 2015 -2016 บ่งชี้ว่า กรุงเทพมหานครของประเทศไทยมีปัญหารถติดมากที่สุดในโลก ผลชี้ว่า คนไทยใช้เวลาเดินทางไป-กลับราว 6 ชั่วโมง/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองช่วงเวลาเร่งด่วน บางคนใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงภายในรถ ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้ว คนไทยในเมืองใช้เวลาเดินทางราว 61 ชั่วโมง/ปี รองลงมา คือ ประเทศโคลอมเบียและอินโดนีเซีย ประมาณ 47 ชั่วโมง/ปี หนึ่งในปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาจราจร คือ ระบบขนส่งมวลชน หรือ ขนส่งสาธารณะ ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังไม่ครอบคลุมเข้าถึงทุกชุมชน และส่วนหนึ่งมีความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ทำให้บางคนหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น


"พลิกโฉมไทย ... เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ... ไปกับ "ฐานเศรษฐกิจ"


ปัญหาด้านคมนาคมขนส่งสาธารณะ ไม่ได้เกิดเฉพาะในมหานครใหญ่อย่างกรุงเทพฯ เท่านั้น เมืองหลัก เมืองรอง ในต่างจังหวัด ประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งไทย-เทศ มีความยากลำบากในการใช้บริการระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะเช่นเดียวกัน ทั้งปัญหาทางเลือกบริการ มาตรฐานราคา การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งหลัก

เมืองใหญ่หลายประเทศ มีการนำเทคโนโลยี ทั้งบิ๊กดาต้า AI หรือ IoT มาใช้ในการพัฒนาและบริหารจัดการเมือง วางผังเมือง รวมถึงการวางระบบคมนาคมขนส่ง และการบริหารจัดการจราจร ขณะที่ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยียังก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ขึ้นมารองรับปัญหาสังคมเมือง ปัญหาการคมนาคมขนส่ง และปัญหาจราจร มีการกำหนดกฎระเบียบสำหรับกำกับดูแลธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นมาบนดิจิทัล

ส่วนประเทศไทยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ผลักดันเศรษฐกิจไปสู่ดิจิทัลอีโคโนมี อย่างไรก็ตาม ยังขาดความชัดเจนทางด้านนโยบายผลักดันการนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาประเทศ โดยเฉพาะปัญหาคมนาคมขนส่งและปัญหาจราจร รองรับการขยายตัวของเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งกฎระเบียบที่มีอยู่ยังไม่เอื้อต่อธุรกิจใหม่บนโลกดิจิทัล ที่เข้ามาแก้ปัญหาสังคมเมือง และระบบขนส่งคมนาคม


"พลิกโฉมไทย ... เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ... ไปกับ "ฐานเศรษฐกิจ"


ในปี 2575 กรุงเทพฯ จะก้าวสู่การเป็นมหานครระบบราง เส้นทางทั้งหมด 464 กิโลเมตร ขณะที่ กระทรวงคมนาคมมีแผนลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมอาเซียน รวม 4 เส้นทาง ระยะทาง 2,800 กิโลเมตร มูลค่าลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 1.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม สปป.ลาว-จีน ตอนใต้ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางราว 600 กิโลเมตร 2.รถไฟความเร็วสูงเชื่อมอีอีซีและกัมพูชา เฟสแรก เส้นทางกรุงเทพฯ-สนามบินอู่ตะเภา และเฟส 2 เส้นทางอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทางรวม 400 กิโลเมตร 3.รถไฟความเร็วสูงเชื่อมมาเลเซีย เฟสแรก เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน-สุราษฎร์ธานี และเฟส 2 เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 1,100 กิโลเมตร และ 4.รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางราว 700 กิโลเมตร

แต่ปัญหาที่หลายคนกำลังตั้งคำถาม คือ ความชัดเจนของภาครัฐในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อเชื่อมต่อประชาชนไปยังชุมชน ที่พักอาศัย เชื่อมต่อนักท่องเที่ยวไปสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และมีมาตรฐานราคาที่ชัดเจน โดยที่ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้นั้นจะเป็นอย่างไร เพราะท้ายสุดแล้วหากไม่มีแผนพัฒนาชัดเจน ขาดการเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งหลักที่ภาครัฐลงทุนไป อาจไม่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชน


"พลิกโฉมไทย ... เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ... ไปกับ "ฐานเศรษฐกิจ"


"ฐานเศรษฐกิจ" ในฐานะสื่อสารมวลชนที่นำเสนอข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดในการจัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ "พลิกโฉมไทย เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นทิศทาง และผลกระทบของการขยายตัวของเมือง ระบบคมนาคมขนส่ง ที่รองรับการขยายตัวของเมือง การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะหลักกับระบบขนส่งสาธารณะรอง เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายของคน และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ทำให้เกิดทางเลือกใหม่ ๆ ในการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ตลอดจนนโยบายภาครัฐต่าง ๆ ของภาครัฐ ที่รองรับการขยายตัวของเมือง และการแก้ปัญหาระบบคมนาคมขนส่ง


"พลิกโฉมไทย ... เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ... ไปกับ "ฐานเศรษฐกิจ"

| ปาฐกถาพิเศษ : เชื่อมราง เชื่อมรถ เชื่อมคน ลดเหลื่อมล้ำ เข้าถึงคมนาคมไร้รอยต่อ โดย ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม

| บรรยายพิเศษ : นวัตกรรมขนส่งมวลชนอัจฉริยะเพื่อทุกคน (Smart Public Transportation For All) โดย รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 โฉมหน้า Smart Mobility ประเทศไทยยุคใหม่ หลังเลือกตั้ง พบกับ ...

● กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

● รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย

● อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

● สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

● ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่

| 7 มี.ค. 2562 เวลา 12.30-16.30 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

| ลงทะเบียน : https://nregister.nationgroup.com/TMMSM/register.php


"พลิกโฉมไทย ... เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ... ไปกับ "ฐานเศรษฐกิจ"