ราชบุรีลุยขยายลงทุนต่างประเทศ ทุ่ม2หมื่นล้านดันเป้าผลิต9,000 MW

20 ก.พ. 2562 | 11:11 น.
 

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การดำเนินงานของบริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านโครงการโรงไฟฟ้า โดยเน้นการขยายลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากเดิมสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าในต่างประเทศช่วง 5 ปี (ปี2562-2566) ตั้งไว้ที่ 40% และในประเทศ 60% ปรับเป็น 50:50% จากเป้ากำลังการผลิตปี2566 อยู่ที่ 1 หมื่นเมกะวัตต์ จากปัจจุบันกำลังผลิตอยู่ที่ 7.6 พันเมกะวัตต์

[caption id="attachment_392247" align="aligncenter" width="335"] นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ[/caption]

โดยการให้น้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น มาจากตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(พีดีพี2018) จะยังไม่มีการเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่มากนักใช้ช่วง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งการลงทุนในต่างประเทศยังเดินหน้าทั้งโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลัก และพลังงานทดแทน ประเภท Greenfield หรือ Brownfield หรือโครงการที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว เช่นเดียวกับโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน มีโอกาสทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็เป็นเป้าหมายที่บริษัทฯ ให้น้ำหนักมากขึ้นในปี 2562

ขณะที่การลงทุนในประเทศไทยนั้น ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีฉบับใหม่ จะเปิดให้มีการประมูลโรงไฟฟ้าในภาคตะวันตกทดแทนโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุสัญญา  กำลังผลิตขนาด 700 เมกะวัตต์ บริษัทฯ มีความพร้อมและมุ่งมั่นเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้อย่างแน่นอน

[caption id="attachment_392250" align="aligncenter" width="503"] KONICA MINOLTA DIGITAL CAMERA KONICA MINOLTA DIGITAL CAMERA[/caption]

สำหรับเงินลงทุนปีนี้ บริษัทเตรียมไว้ที่ 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโครงการเดิม 6 พันล้านบาท ได้แก่ โครงการเซเปียนเซน้ำน้อย โครงการนิวเคลียร์ฟังเชงกัง น้ำประปาแสนดิน และ RIAU และโครงการใหม่อีก 1.4 หมื่นล้านบาท ได้แก่ โครงการ M&A โครงการ Greenfield และ Brownfield

นอกจากนี้บริษัทตั้งเป้ากำลังการผลิตปี2562 ไว้ที่ 8.96 พันเมกะวัตต์ เทียบกับปัจจุบัน อยู่ที่ 7.63 พันเมกะวัตต์ ซึ่งจะมีโครงการที่จะ COD ในปี2562-2564 จากโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาและก่อสร้างอยู่ที่ 775.87 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังมีโครงการM&A ตั้งเป้าหาได้อีก 300-400 เมกะวัตต์ต่อปี chart

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2561 บริษัทฯ รับรู้กำไรก่อนผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 6.45 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.5% สำหรับรายได้รวม มีจำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงสร้างรายได้ของบริษัทมาจาก 3 แหล่งที่สำคัญ คือ รายได้จากการขายและบริการและรายได้ตามสัญญาเช่าการเงิน62.4% ส่วนแบ่งจากกิจการที่ควบคุมร่วมกันและเงินปันผล 33.3% และรายได้จากดอกเบี้ยและอื่นๆ 4.3% ในปี 2561 รายได้ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมทุนที่มาจากโรงไฟฟ้าหงสาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 595959859