‘ฟูจิตสึ’ เร่งสปีดส่งออก บาทแข็งไม่กระทบ

23 ก.พ. 2562 | 10:00 น.
“ฟูจิตสึ” มั่นใจบาทแข็งไม่กระทบส่งออก หลังปรับแผนบาลานซ์ต้นทุน ยันไทยยังคงเป็นฐานสำคัญส่งออกกว่า 100 ประเทศต่อจากจีน ญี่ปุ่น ด้วยสัดส่วนผลิตเพื่อส่งออกกว่า 98%

นายสินเมธ อิ่มเอม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศภายใต้แบรนด์ “ฟูจิตสึ” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ค่าเงินบาทที่แข็ง ตัวขึ้นแน่ นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจส่งออก ส่วนจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารจัดการและกลุ่มประเทศที่อุตสาหกรรมนั้นๆ ส่งออกไป โดยในส่วนของบริษัทเองได้มีการประกันค่าเงินไว้ล่วง หน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงอยู่แล้วจึงยังไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งตัว ขึ้นแต่อย่างใด โดยส่วนตัวมองว่าผลกระทบ เรื่องค่าเงินบาทแข็งนั้นเป็นเรื่องชั่วคราวและในแต่ละไตรมาสหรือแต่ละช่วงค่าเงิน จะมีการปรับขึ้นลงเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

[caption id="attachment_391523" align="aligncenter" width="363"] สินเมธ อิ่มเอม สินเมธ อิ่มเอม[/caption]

“ถามว่าค่าเงินบาทที่แข็งตัวมีส่วนกระทบต่อส่วนของการส่งออกของบริษัทหรือไม่ ก็แน่นอนว่าต้องมีบ้างเล็ก น้อย ซึ่งนอกจากเรื่องการประกันค่าเงินล่วงหน้าแล้ว บริษัทยังมีข้อได้เปรียบในการส่งออกคือ วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเครื่องปรับอากาศมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงส์ข้อดีจากราคาต้นทุนที่ถูกลงจากค่าเงินบาทที่แข็งตัวอยู่แล้ว ทำให้บริษัทสามารถบาลานซ์ต้นทุนและรายได้จากการส่งออกเครื่องปรับอากาศและนำเข้าวัตถุดิบได้”

132306

ทั้งนี้แม้ปัจจุบันค่าเงินบาทจะแข็งตัวแต่จากการบริหารจัดการรวมไปถึงความพร้อมของโรงงานในประเทศไทยในทุกด้านโดยเฉพาะด้านกำลังการผลิต เป็นฐานผลิตที่สำคัญ ทำให้บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถเติบโตได้ในตลาดโลกเป็นอย่างดี โดยในส่วนของโรงงานผลิตแอร์ที่แหลมฉบังนั้นอยู่ระหว่างการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรใหม่เพื่อเพิ่มกำลังผลิตแอร์อีก 20% จากเดิมที่มีการผลิตได้ประมาณ 2.7 ล้านเครื่องต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกที่ราว 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท และในประเทศอีก 500-600 ล้านบาท

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503 “สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีหลายส่วนเข้ามาประกอบกันในส่วนของการผลิต ทั้งการนำเข้าวัตถุดิบ ต้นทุนเครื่องจักร แรง งานต่างๆ ทำให้สามารถบาลานซ์ต้นทุนในการผลิตได้ ซึ่งจะแตกต่างจากสินค้าภาคการเกษตรที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางตรงมีการผันผวนตามค่าเงินได้มากกว่า”

อย่างไรก็ตามปัจจุบันฟูจิตสึ เป็น 1 ใน 3 ผู้นำตลาดเครื่องปรับอากาศในประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นผู้นำตลาดในอีก 12 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา คูเวต โอมาน กาตาร์ ฯลฯ และติดท็อป 5 ในอีกหลายประเทศ ส่วนในอาเซียนทำตลาดที่ไทย สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา ซึ่งโรงงานของไทยถือเป็น 1 ใน 3 โรงงานสำคัญรองจากจีนและญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนการส่งออกจากโรงงานในประเทศ ไทยกว่า 98% ไปยังกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยปีนี้บริษัทมีแผนปรับสัดส่วนการส่งออกมาที่ 97% และเดินเครื่องรุกตลาดในประเทศมากยิ่งขึ้นจากเดิมที่มีสัดส่วน 2% เป็น 3%

หน้า 32 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,446 ระหว่างวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว