สจล. เปิดโครงการพัฒนาบุคลากร AI รับยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม

15 ก.พ. 2562 | 11:27 น.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ บริษัท ดาต้า คุกกี้ จำกัด เปิดตัวโครงการก้าวแรกสู่โลกดิจิทัล (CMMG) พัฒนาบุคลากรเอไอ รับยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม ผ่าน 3 ทักษะสำคัญ คือ 1. ทักษะโค้ดเดอร์ 2. ทักษะมัลติมีเดีย และ 3. ทักษะเกมมิฟิเคชั่น

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (2)

ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. เปิดเผยว่า ล่าสุด สจล. ร่วมกับบริษัท ดาต้า คุกกี้ จำกัด เปิดตัวโครงการก้าวแรกสู่โลกดิจิทัล  หรือ ซีเอ็มเอ็มจี (CMMG) เพื่อพัฒนาบุคลากรเอไอ  (Generation AI) ในศตวรรษที่ 21 ให้มีทักษะการคิดเชิงตรรกะและความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม พร้อมตั้งเป้าสร้างนวัตกรไทยให้เป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนและมีศักยภาพแข่งขันได้ในระดับสากล โดยโครงการ ซีเอ็มเอ็มจี (CMMG) เน้นการฝึกทักษะด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ นำร่องทั้งหมด 3 ทักษะ ได้แก่ 1.ทักษะโค้ดเดอร์ – เมกเกอร์ (Coder – Maker) 2.ทักษะมัลติมีเดีย (Multimedia) 3.ทักษะเกมมิฟิเคชั่น (Gamification)

ภาพประกอบ_สจล. เปิดตัวโครงการ โครงการก้าวแรกสู่โลกดิจิทัล 1

สำหรับการพัฒนาทักษะ ประกอบด้วย 1.ทักษะโค้ดเดอร์ – เมกเกอร์ (Coder – Maker) เน้นการฝึกทักษะด้านการเขียนโค้ด (Coding) บนแพลตฟอร์มดิจิทัลและหุ่นยนต์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงธุรกิจ (Maker) เพิ่มมูลค่าของสินค้าด้วยนวัตกรรม โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้อัลกอริธึมชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ การหาข้อบกพร่องของชุดคำสั่ง การเข้ารหัส เพื่อจัดการดิจิทัลคอนเทนต์ต่างๆ ตามต้องการ

ภาพประกอบบรรยากาศ_สจล. เปิดตัวโครงการ โครงการก้าวแรกสู่โลกดิจิทัล 2

2.ทักษะมัลติมีเดีย (Multimedia) การผสมผสานสื่อหลากหลายชนิด เช่น กราฟิคอาร์ต เสียง ภาพ แอนิเมชั่น เป็นต้น ผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการพัฒนาระบบมัลติมีเดียให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น ทักษะมัลติมีเดียจะช่วยพัฒนาการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการ  3.ทักษะเกมมิฟิเคชั่น (Gamification) การนำรูปแบบของเกมมากระตุ้นสร้างแรงจูงใจและประยุกต์ในการเรียนการสอน โดยกลไกของเกมจะดำเนินการอย่างไม่ซับซ้อน ส่งผลให้นักศึกษาเกิดพฤติกรรม การตรวจสอบ ปรับปรุง และการหาวิธีเพื่อแก้ไขปัญหา กระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่

“การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 5G นำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รวมถึงการเตรียมความพร้อมเป็นผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลและหุ่นยนต์”