ธปท.เผยสินเชื่อบ้าน Q4 ปี 61 โตสูงสุดรอบ 4 ปี

15 ก.พ. 2562 | 10:56 น.
ธปท.มองสินเชื่อปี 62 ขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องแบงก์พาณิชย์ตั้งเป้าโต 6-7% เผยผลงานปี 61 สินเชื่อทั้งระบบขยายตัว 6% เพิ่มจาก 4.4% มาจากสินเชื่อรายใหญ่-อุปโภคบริโภค หลังสินเชื่อบ้านไตรมาส 4 โตสูงสุดในรอบ 4 ปี หรือราว 5.7 หมื่นล้านบาท ด้านเอ็นพีแอลเริ่มทรงตัวอยู่ที่ 2.93% เหตุ SM-Re Entry ทยอยปรับลดลง ขณะที่กำไรเพิ่มขึ้น 1.87 หมื่นล้านบาท การตั้งสำรองปรับลดลง

[caption id="attachment_389945" align="aligncenter" width="503"] นายสมชาย เลิศลาภวศิน นายสมชาย เลิศลาภวศิน[/caption]

นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราการเติบโตสินเชื่อทั้งระบบในปี 2562 น่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2561 หากดูธนาคารพาณิชย์คาดการณ์เติบโตสินเชื่ออยู่ที่ระดับ 6-7% ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนจะขยายตัวในกลุ่มใดนั้น จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร แต่จะเห็นการเติบโตในเรื่องของสินเชื่อออนไลน์ หรือ Digital Lending มากขึ้น

สำหรับผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2561 แนวโน้มสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน โดยขยายตัวอยู่ที่ 6% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 4.4% สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 4.4% จากปีก่อนอยู่ที่ 4.1% ส่วนหนึ่งมาจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่กลับมาขยายตัวหลังจากปีก่อนไม่ขยายตัวเลย ซึ่งในปี 2561 สินเชื่อขนาดใหญ่กลับมาขยายตัว 4.1% เนื่องจากมีการซื้อและลงทุนขยายกิจการของผู้ประกอบการรายใหญ่ ส่วนสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ขยายตัวชะลอลงจาก 5.7% ลงมาอยู่ที่ 4.5%

ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวจาก 6.1% เป็น 9.4% โดยสินเชื่อขยายตัวทุกกลุ่มสินเชื่อ โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเร่งตัวจาก 5.5% เป็น 7.8% โดยเฉพาะไตรมาสที่ 4 ที่มีการเร่งตัวสูงมีการปล่อยสินเชื่อปล่อยใหม่ถึง 5.7 หมื่นล้านบาท ถือเป็นยอดสูงสุดในรอบ 4 ปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ประกอบการเร่งปล่อยก่อนมีมาตรการควบคุม LTV ในเดือนเมษายนนี้ ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวต่อเนื่องตามตัวเลขการบริโภคเอกชนที่ปรับดีขึ้น

595959859 ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สัญญาทรงตัว โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.93% จากปีก่อนอยู่ที่ 2.91% โดยมียอดคงค้างเอ็นพีแอลรวมอยู่ที่ 4.33 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.44 หมื่นล้านบาท หรือขยายตัว 3.3% เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งเอ็นพีแอลที่ยังเพิ่มขึ้นนั้นจะมาจากกลุ่มเอสเอ็มอียังคงเพิ่มขึ้นจาก 3.47% มาอยู่ที่ 4.46% ส่วนเอ็นพีแอลอุปโภคบริโภคทรงตัวอยู่ที่ 2.66% ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan :SM) ต่อสินเชื่อรวมปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.42% จาก 2.55% โดยมียอดคงค้างอยู่ที่ 3.66 แสนล้านบาท ส่วนหนี้ปรับโครงสร้างและไหลกลับมาเป็นเอ็นพีแอล (Re-Entry) ปรับลดลงจาก 20% มาอยู่ที่ 16%

“แนวโน้มเอ็นพีแอลเราเห็นจุดสูงสุดผ่านไปแล้วตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ที่ขยายตัวสูงและหลังจากเริ่มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งมาจากหลายธนาคารเริ่มเปลี่ยนนโยบายหันมาบริหารหนี้เองจากเดิมเป็นการตัดขายทิ้ง อย่างไรก็ดี เอ็นพีแอลเอสเอ็มอียังอยู่สูง โดยเฉพาะในเซ็กเตอร์ที่ได้รับผลมาจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป รวมถึงสินเชื่อบ้านและรถที่ยังต้องตามดูต่อ”

สำหรับความเข็มแข็งของธนาคารพาณิชย์ในส่วนของการตั้งสำรองยังอยู่ในระดับสูง 6.68 แสนล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเงินสำรองพึงกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 193.3% จาก 171.9% ขณะที่เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) เพิ่มขึ้นจาก 18.2% เป็น 18.3% โดยเงินกองทุนขั้นที่ 1 เพิ่มขึ้นจาก 15.6% เป็น 15.8%

ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 2.07 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.87 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 10.8% จากปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยตามสินเชื่อที่ขยายตัว และการลดลงของค่าใช้จ่ายที่ลดลง 12.1% แม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมชะลอตัวลงหรือไม่เติบโตอยู่ 0.5% เป็นผลมาจากรายได้นายหน้าที่ติดลบ 3% เนื่องจากธนาคารมีการยกระดับเรื่องการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) และค่าธรรมเนียมการโอนเงินที่มีอัตราติดลบ 6.6% สอดคล้องกับปริมาณธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยธุรกรรมผ่านโมบายเพิ่มขึ้น 400 ล้านรายการในไตรมาสที่ 4 090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503