ขีดเส้นตาย "ซีพี" เจรจา รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ต้องจบ ก.พ. นี้

12 ก.พ. 2562 | 11:51 น.
นับเป็นครั้งที่ 5 สำหรับการเลื่อนเจรจาต่อรองเงื่อนไขสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่างกลุ่มซีพีกับคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่มี นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และรักษาการผู้ว่า รฟท. เป็นประธาน ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ล่าสุด นัดเจรจากันอีกรอบวันที่ 18 ก.พ. ขณะเส้นตายที่กำหนดต้องจบไม่เกินสิ้นเดือนนี้

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า (ร.ฟ.ท.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กล่าวว่า ตามกรอบระยะเวลาที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กำชับให้การเจรจาแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ. นี้ คณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการ ส่วนวันนี้ (12 ก.พ. 62) วาระยังมีจำนวนมาก คงยังไม่แล้วเสร็จทั้งหมดในวันนี้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ช่วงบ่ายของวันที่ 12 ก.พ. นี้ คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังมีประชุมกลุ่มย่อย โดยตนมอบหมายให้ นางพฤฒิพร เนติโพธิ์ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) เป็นประธาน

 

[caption id="attachment_386306" align="aligncenter" width="335"] วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการ รฟท. วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการ รฟท.[/caption]

โดยประเด็นหลักยังคงเน้นการเจรจากฏระเบียบเกี่ยวกับระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญากับภาคเอกชนในโครงการ ซึ่งเป็นกรอบที่ 2 ส่วนกรอบที่ 3 นั้น จะเร่งประชุมให้แล้วเสร็จในช่วงปลายเดือน ก.พ. นี้

"ยืนยันว่า ได้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่คณะกรรมการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ. นี้ ขณะนี้ มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่เพียงบางส่วนที่จะต้องตรวจสอบให้รอบคอบ ก่อนส่งเรื่องผลการเจรจาให้คณะกรรมการอีอีซีต่อไป"

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและติดตามงานสำคัญของกระทรวงคมนาคม ว่า ได้รับรายงานจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะต้องเจรจาจาสรุปให้ได้ภายใน ก.พ. นี้

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการเมกะโปรเจ็กส์อีอีซีที่สำคัญจำนวน 3 โครงการ วงเงินรวมมากกว่า 5 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน - อีอีซี วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท, โครงการพัฒนาเมืองการบินและสนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 2 แสนบ้านบาท, โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 วงเงิน 8.4 หมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้ทุกโครงการเข้าสู่กระบวนการหมดแล้ว ตั้งเป้าหมายว่าจะเร่งขั้นตอนขายซอง TOR และให้เอกชนยื่นข้อเสนอ เพื่อให้ได้ตัวเอกชนที่เสนอเงื่อนไขดีสุด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนเจรจาต่อไปในทุกโครงการก่อนเลือกตั้ง สำหรับโครงการที่ล่าช้ามากที่สุด คือ โครงการพัฒนาแหลมฉบัง เฟส 3 เนื่องจากมีการยกเลิกขั้นตอนการซื้อซองออกไป หลังจากที่มีเอกชนร้องเรียนให้ขอขยายเวลา เชื่อว่าโครงการนี้จะช้ากว่าแผนไม่น้อนกว่า 2 เดือน

ติดตามฐาน