BAY อัดงบไอที 8.5 พันล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้า KMA สิ้นปี 5 ล้านราย

05 ก.พ. 2562 | 12:00 น.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อัดงบไอที 7.5-8.5 พันล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 5 พันล้านบาท สร้างประสบการณ์ลูกค้า-เพิ่มนวัตกรรม เล็งปล่อยกู้ดิจิตอลเลนดิ้ง ระบุมองจีดีพีไทยโต 4.1% พร้อมตั้งเป้าสินเชื่อโต 6-8% คาดสินเชื่อรายย่อยโตดี 8-10% ชี้ เกณฑ์ธปท.กระทบยอดสินเชื่อปล่อยใหม่หด 10% ด้านเอสเอ็มอีขอโต 3-5% เหตุคุณภาพยังไม่ดีมาก เผยรักษาเอ็นพีแอลไม่เกิด 2.5% ส่วนต่างดอกเบี้ยกรอบ 3.4-3.6% เหตุดิจิตอล-หลักเกณฑ์การกำกับกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมหาย

[caption id="attachment_384910" align="aligncenter" width="503"] นายโนริอากิ โกโตะ นายโนริอากิ โกโตะ[/caption]

นายโนริอากิ โกโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ทุ่มงบประมาณการลงทุนด้านไอทีเพิ่มขึ้นราว 7,500-8,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อมุ่งเน้นการดำเนินการด้าน Transformation เพื่อเร่งให้เกิดการดำเนินงานในรูปแบบดิจิตอลและนวัตกรรมต่างๆ ธนาคารมีแผนงานที่จะลงทุนในโครงการใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital Lending) การปรับเปลี่ยนรูปแบบสาขา (Branch Transformation) และการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระบบไอที รวมถึงการใช่ช่องทาง Multi Channel และ Omni Channel เพื่อสร้างประสบการณ์ด้านดิจิตอลให้กับลูกค้า โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มฐานลูกค้า Krungsri Mobile Application หรือ KMA เป็น 5 ล้านราย จากปัจจุบันมีฐานลูกค้าอยู่ที่ 2.5 ล้านราย

ส่วนเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในปี 2562 ธนาคารมองอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้อยู่ที่ 4.1% จากปีก่อนเติบโต 4.3% โดยตั้งเป้าสินเชื่อสอดคล้องกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 6-8% จากปีก่อนสินเชื่อเติบโตอยู่ที่ 7.8% หรือมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 1.67 ล้านล้านบาท ซึ่งตั้งเป้าเติบโตสินเชื่อรายใหญ่อยู่ที่ 5-6% สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) อยู่ที่ 3-5% เนื่องจากสินเชื่อเอสเอ็มอียังคงมีความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์ จึงตั้งเป้าขยายตัวไม่สูงมาก

ขณะที่ สินเชื่อรายย่อยตั้งเป้าเติบโตอยู่ที่ 8-10% โดยจะมาสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัว 7-8% สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัว 7-8% และสินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ 8-10% อย่างไรก็ดี จากหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่จะผลบังคับใช้ในเดือนเมษายนนี้ ธนาคารมองว่าคงจะมีผลกระทบต่อยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ให้ปรับลดลงราว 10% แต่ในแง่ยอดสินเชื่อคงค้างยังคงขยายตัว 8%

595959859 สำหรับสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อนั้น ธนาคารพยายามให้สัดส่วนสินเชื่อรายย่อย และรายใหญ่มีสัดส่วนเท่ากันอยู่ที่ 50% เนื่องจากธนาคารเห็นธุรกิจสินเชื่อรายย่อยมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องซึ่งปัจจุบันสัดส่วนรายใหญ่ลดลงมาอยู่ที่ 52% จากอดีตจะอยู่ที่ 60% โดยมุ่งเน้นการเติบโตในแง่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมากขึ้น และสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มมาอยู่ที่ 48% จากเดิมอยู่ที่ 40% นอกจากนี้ พยายามรักษาความเป็นผู้นำตลาดในด้านสินเชื่อธุรกิจเพื่อรายย่อยที่มีฐานบัตรเครดิตกว่า 9 ล้านบัญชี และผู้นำด้านสินเชื่อรถยนต์ที่มียอดสินเชื่อคงค้างกว่า 3.68 แสนล้านล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด(มาร์เก็ตแชร์) ที่ 27%

นายโกโตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ตั้งเป้าไม่เกินระดับ 2.5% โดยที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM) อยู่ที่ 3.4-3.6% ต่ำกว่ากรอบปีก่อนอยู่ที่ 3.81% เนื่องจากทิศทางดิจิตอลเข้ามาทำให้ธุรกรรมการโอนเงินปรับลดลง และจากหลักเกณฑ์การกำกับดูแล (Regulation) ทำให้มีผลต่อการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมติดตามหนี้ หรือหลักเกณฑ์การให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) ที่กระทบต่อยอดขายประกันหรือกองทุนมากขึ้น

ขณะที่การตั้งสำรอง คาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงปีก่อนราว 1.5% จากปีก่อนตั้งสำรองอยู่ที่ 1.61% เนื่องจากธนาคารมีสัดส่วนพอร์ตลูกค้ารายใหญ่จำนวนหนึ่ง ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาจะได้ไม่มีปัญหา อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังไม่มีสัญญาณความผิดปกติ ประกอบกับธนาคารสามารถบริหารจัดการคงามเสี่ยงได้ค่อนข้างดี

“เราตั้งกรอบเอ็นพีแอลไม่เกิน 2.5% จากปีก่อนอยู่ที่ 2.08% ตั้งเพิ่มขึ้นเพราะเรายอดสินเชื่อเรามีสูงถึง 1.67 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นพอร์ตขนาดใหญ่ถึง 52% หากมีอะไรเกิดขึ้นบางรายก็มีความเป็นไปได้ เราจึงให้กรอบไว้สูงที่ 2.5% แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรผิดปกติ” แอดฐานฯ