ข่าวห้ามเขียน : เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด

30 ม.ค. 2562 | 07:29 น.
หักเหลี่ยม-02 หักเหลี่ยม-03 ถึงตอนนี้เรื่องราวของ “บ่วงกรรมปล่อยกู้เอิร์ธ 1.2 หมื่นล้านบาท” จนธนาคารกรุงไทย เสียหายยับ 1.2 หมื่นล้านบาท ลูกค้าซื้อหุ้นกู้เจ๊กอั้ก 5,500 ล้านบาท กำลังเป็นประเด็นที่ร้อนฉ่าวิพากษ์วิจารณ์กันไปทั้งธนาคารกรุงไทย-ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) -ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ไม่เว้นแม้กระทั่ง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่กำลังตั้งเรื่องสอบสวนชี้มูลความผิดผู้บริหาร และพนักงานธนาคารกรุงไทย

เมื่อ กิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ที่ถูกกล่าวโทษในการปล่อยกู้ เดินหน้าสู้ด้วยการร้องต่อก.ล.ต.ให้เข้าไปตรวจสอบเอาผิดกับผู้บริหารธนาคารกรุงไทยในการออกหุ้นกู้ 5,500 ล้านบาท ขายให้กับประชาชนรายย่อยนับพันคน
S__5668870 “นายโจ้” ระบุว่า “ผมมีความคิดเห็นว่าธนาคารผู้นำหุ้นกู้มาขายควรเป็นผู้ให้ความกระจ่างกับสังคมและผู้กำกับดูแลว่าได้ใช้มาตรฐานที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เหตุไฉนในส่วนการอำนวยสินเชื่อนั้นมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับการกล่าวโทษ แต่กลับไม่มีการกล่าวถึงการตรวจสอบผู้ที่ทำให้นักลงทุนเสียหาย ว่าได้ตรวจสอบโดยมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ มีการกล่าวโทษผู้ที่เกี่ยวข้องเหมือนกันหรือไม่”

นอกจากนี้ยังดึงเอา รพี สุจริตกุล  เลขาธิการ ก.ล.ต. มาร่วมในสงครามการปล่อยกู้ที่มี “ตะราง” เป็นเดิมพันด้วย
a9dbf8ae985ehcbf5h8gg

ลำพังเรื่องนี้ก็วุ่นกันทั้งบาง ให้ตีความว่า “หุ้นกู้” กับ “เงินฝาก” อย่างไหนสำคัญกว่ากัน และใครควรรับผิดในความเสียหายมากกว่ากัน

แต่ที่วุ่นหนักเข้าไปอีกคือ เมื่อ “นายโจ้” ยื่นอุทธรณ์ พนักงานคนอื่นที่โดนคดีเข้าไปด้วย 13-14 คนต่างก็ยื่นอุทธรณ์ และร้องว่า ที่ “นายโจ้” และ “นายต่อ-วรภัค ธันยาวงษ์” อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ต่างออกมาประกาศว่า “กรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในยุคปัจจุบันไม่มีอำนาจในการอนุมัติสินเชื่อเอง สินเชื่อรายใหญ่ที่นำเสนอขออนุมัติโดยสายงานธุรกิจ ต้องผ่านการกลั่นกรองจากสายงานบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการกลั่นกรองสินเชื่อ ก่อนที่จะนำเสนอกับคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการธนาคารอนุมัติ...

เพราะฉะนั้น โดยบทบาทและหน้าที่ของเอ็มดี รองเอ็มดี จึงไม่มีอำนาจใด ๆ ในการที่จะกุมบังเหียนอนุมัติสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่แต่ละรายเองได้ เท่ากับเป็นการโยน..อี้...ให้พนักงาน..เอาละสิพี่น้อง

[caption id="attachment_381779" align="aligncenter" width="500"] ข่าวห้ามเขียน : เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด เพิ่มเพื่อน [/caption]

 

dce8fidcfhjbjcbiak9cc ที่ผ่านมา “ผยง ศรีวณิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ก็หนักหนาอยู่แล้วกับการเดินหน้ากลบเรื่องนี้ พอมีเหตุเช่นนี้ ชื่อของ “นายต่อ-วรภัค” ที่หายไปจากสารบบของความผิดทั้งๆ ที่เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทยที่ปล่อยกู้ ก็โผล่ขึ้นมายืนเด่นเป็นสง่าอีกครั้ง
02-3371 ยิ่งเมื่อ เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการ ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ กลับถูกพนักงานบางคนฟ้องร้องคดีเอาด้วย ได้สั่งการชัดว่า กรณีนี้พบผู้กระทำความผิดหลายรายในทุกระดับชั้น ฝ่ายบริหารต้องดำเนินการตามระเบียบในการเอาผิด โดยผู้ถูกกล่าวหาสามารถยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอนได้

งานนี้ทำให้ นายเก่า-เพื่อนรักต้องเดินหน้า สู้กันหนักชนิดที่เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดยังชิดซ้าย
baak9c5f9ij6bbcif7aba “นายต่อ” วรภัค ธันยาวงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยนั้นคือ คนที่ดึงเอา “นายโจ้”กิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ จากกรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไป JPMorgan Chase Bank, N.A., Bangkok Branch ไปไทยพาณิชย์ก่อนหิ้วกลับมาที่แบงก์กรุงไทย ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้บริหารกลุ่ม กลุ่ม Debt Capital Market ธุรกิจขนาดใหญ่

คล้อยหลังไม่นาน “นายต่อ-วรภัค” ก็ดึงตัว “นายผยง” Managing Director, Head of Global Markets & Country Treasurer Citibank N.A.,Thailand ช่วงปี 2551-2557 มาทำงานกับธนาคารกรุงไทยในปี 2558 ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน

บัดนี้ “ขุนพลซ้าย-ขวา” ที่ทำงานมากับนายต่อกำลังโซ้ย โยนระเบิดใส่กันหนักหน่วง แถมยังพ่วงเอา “นาย” ที่หายวับไปจากสารบบกลับมาสู่สปอตไลต์อีกครั้ง...นายต่อถึงกับร้องว่า อั้ย หยา...อ้าย...

อ่าน | คอลัมน์ข่าวห้ามเขียน ทั้งหมด >>คลิก<<

| คอลัมน์ : ข่าวห้ามเขียน 
| โดย : พรานบุญ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3440 หน้า 20 ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-2 ก.พ. 2562
595959859