"เทเรซา เมย์" นายกฯอังกฤษฝ่าด่านสุดหิน Brexit "ผ่าน-ไม่ผ่าน" รัฐบาล "ออก-ไม่ออก"

16 ม.ค. 2562 | 10:05 น.
นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ... ไม่เพียงพบกับความพ่ายแพ้แบบหลุดลุ่ยในการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา แต่เธอยังจะต้องพบกับการลงคะแนนไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันพุธที่ 16 ม.ค. นี้ด้วย การเมืองของอังกฤษกำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะที่ปั่นป่วนและผลลัพธ์ก็ยากจะคาดเดาอย่างยิ่ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจแทบจะอยู่ในภาวะสูญญากาศ โดยเมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติคัดค้านข้อตกลงถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ที่นางเมย์นำเสนอ ด้วยคะแนน "ไม่เอา" หรือ คัดค้าน ถึง 432 เสียง ขณะที่ ผู้เห็นด้วยหรือสนับสนุนมีเพียง 202 เสียง ทำให้ความพ่ายแพ้ของฝ่ายรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษเลยทีเดียว ไม่เพียงเท่านั้น ผู้นำฝ่ายค้าน นายเจเรมี คอร์บิน จากพรรคแรงงาน ยังได้ยื่นญัตติ "ไม่ไว้วางใจ" รัฐบาล โดยจะมีการอภิปรายญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 16 ม.ค. นี้ เรื่องดังกล่าวอาจนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ของประเทศอังกฤษในเร็ววัน

 

[caption id="attachment_375592" align="aligncenter" width="503"] เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ[/caption]

เหตุผลส่วนหนึ่งนั้น เป็นเพราะหากเป็นในช่วงเวลาปกติ ถ้าพรรครัฐบาลแพ้การลงมติที่สำคัญอย่างถล่มทลายราบคาบเช่นนี้ นายกรัฐมนตรีก็สมควรต้องลาออกจากตำแหน่ง ที่สำคัญ คือ ในบรรดา 432 เสียงที่ลงมติ "คัดค้าน" ข้อตกลง Brexit ที่นางเมย์นำเสนอนั้น เป็นเสียงที่มาจากพรรคของนางเมย์เองถึง 118 เสียง ทำให้ยิ่งเห็นชัดเจนว่า เธอกำลังเป็นผู้นำที่คุมหางเสือรัฐนาวาไม่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่า นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กคนนี้ไม่มีความคิดที่จะลงจากตำแหน่ง โดยหลังจากรู้ผลการลงมติของสภาผู้แทนฯ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นางเทเรซา เมย์ ส่งสัญญาณว่า เธอจะยังอยู่ในตำแหน่งต่อไป และถ้าเธอชนะญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันพุธนี้ เธอก็จะเดินหน้าหาเสียงสนับสนุนข้อตกลงเบร็กซิทด้วยการเสนอให้มีการเจรจาข้ามพรรค จากนั้นเธอจะกลับมายื่นข้อเสนอที่เป็น "ทางเลือกใหม่" ต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันจันทร์หน้า (21 ม.ค.) เพื่อที่จะได้มีการลงมติอีกครั้ง ซึ่งหากสภายังมีมติไม่ให้ผ่านอีก ก็จะมีการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการแยกตัวออกจากยุโรป ฉบับที่ 2 โดย ส.ส.อาวุโส ที่ไม่ได้มีตำแหน่งในรัฐบาล หรือจากพรรคฝ่ายค้าน หากเป็นกรณีนี้จะเป็นการซื้อเวลาทำให้รัฐบาลมีเวลาอีกราว 3 สัปดาห์ ในการจัดทำแผนใหม่มานำเสนอต่อสภาฯ หรือไม่เช่นนั้น อีกความเป็นไปได้ ก็คือ การขอให้มีตัวกลางในรูปของคณะกรรมาธิการประสานงาน ที่ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมาธิการด้านต่าง ๆ ในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งจากพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ให้ร่างข้อตกลงฉบับประนีประนอมขึ้นมาใหม่ เพื่อเสนอให้สภาผู้แทนฯ ลงคะแนนเสียงเป็นลำดับต่อไป


there3

แต่ถ้าเป็นกรณีที่รัฐบาลเป็นฝ่ายพ่ายแพ้การลงคะแนนไม่ไว้วางใจในวันพุธนี้ นางเมย์ก็จะต้องลาออกและมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นมา แต่ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือก ก็อาจจำเป็นต้องมีการประกาศเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนด ซึ่งตามปกติรัฐบาลจะทำหน้าที่ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีกำหนดในปี 2022 หรือ พ.ศ. 2565 แต่ในกรณีที่รัฐบาลนางเมย์ถูกลงมติไม่ไว้วางใจและต้องออกจากตำแหน่งไป โดยไม่มีรัฐบาลใหม่ที่ได้รับความไว้วางใจจากสภา นั่นก็หมายความว่าจะมีการจัดเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนด


there2
"พวกเขาต้องการถามประชาชนอีกครั้งว่า ต้องการให้อังกฤษคงอยู่กับอียู หรืออยากให้ออก"

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการพูดถึงการจัดทำประชามติครั้งใหม่ ว่า อังกฤษต้องการจะออกจากอียูจริง ๆ หรือไม่ แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนฯ จากหลายพรรคที่ไม่เห็นด้วยกับเบร็กซิท พวกเขาต้องการถามประชาชนอีกครั้ง ว่า ต้องการให้อังกฤษคงอยู่กับอียู หรืออยากให้อังกฤษออกจากอียู โดยปฏิบัติตามข้อตกลงที่ นางเทเรซา เมย์ นำเสนอ ซึ่งหากจะมีการทำประชามติครั้งใหม่จริง ๆ ก็ต้องขอขยายเวลาการแยกตัว หรือ ขอเลื่อนกำหนดการแยกตัวอย่างเป็นทางการ ที่กำหนดไว้ในวันที่ 29 มี.ค. 2562 ออกไปก่อน แต่หากความพยายามเหล่านี้ไม่สัมฤทธิ์ผลอังกฤษก็คงจะต้องออกจากอียู ในวันที่ 29 มี.ค. นี้ โดยไร้ข้อตกลง ซึ่งเชื่อว่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับอังกฤษอย่างที่ไม่อาจประเมินได้

595959859

[caption id="attachment_374628" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]