ปฏิกิริยา : “ฮักแฮงๆ...ด้วยใจ" แท็กซี่ยุคใหม่ ใส่ใจผู้โดยสาร

11 ม.ค. 2562 | 11:01 น.
ฮักแฮง
แทก สิ้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลส่งโครงการฮักแฮง แก่คนรากหญ้ากลุ่มหนึ่ง ที่หาเช้ากินค่ำบนถนนในกรุงเทพมหานคร นับว่าได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จากโครงการ ฮักแท็กซี่ เสริมแกร่งแท็กซี่ไทย

โครงการนี้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. ) เปิดโอกาสให้แท็กซี่ไทยได้ปลดภาระให้ผู้ขับแท็กซี่จากวันละ 800 บาท เหลือแค่ 200 บาท และยังให้ผ่อนวันละ 400 บาท แถมได้เป็นเจ้าของรถทันทีเมื่อผ่อนค่างวดจบ โดยมีงบงวดแรก 10,000 ล้านบาท

ยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ คนที่ไม่ขับรถแท็กซี่ไม่รู้หรอกว่า รายได้แท็กซี่เมื่อขับรถออกจากอู่ต้องมีรายจ่ายเกิดขึ้นทันที ไหนจะค่าเช่าราวกะละ640 บาท ค่าก๊าซอีกกว่า 200 บาท ไหนจะค่าอาหารและค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ 120 บาท ค่าล้างรถ 30 บาท ตีรวมๆรายจ่าย 1,000 บาท

เคาะตัวเลขดูคร่าวๆ วันหนื่งถ้าวิ่งได้เงิน 1,000 บาท ก็เสมอตัว แต่ไม่มีเงินเก็บกลับบ้าน แท็กซี่จึงต้องวิ่งหลายกะเพื่อให้พอมีเหลือ

อ่าน | ธพว. ผุดโครงการ "ฮัก TAXI" ดีเดย์ 27 ธ.ค. ให้แท็กซี่แสดงตัวร่วมโครงการ
อ่าน | "แท็กซี่ประชารัฐ" มาแล้ว! ผ่อนวันละ 400 เป็นเจ้าของ 

แทก-01 จากการสอบถามผู้ขับแท็กซี่ต่างดีใจที่รัฐบาลออกโครงการนี้มาช่วยเหลือ เพราะหลายคนที่ผ่านมาต้องเช่า หรือผ่อนซื้อกับสหกรณ์และนายทุนผู้ปล่อยรถเช่า ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูงมาก เช่น รถคันละ 9 แสนบาท แต่หากผ่อนหมดจะสูงถึง 1.3 ล้านบาท บางคนที่เช่ารายวัน ก็จ่ายค่าเช่าเฉลี่ยวันละ600-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพรถ) บางวันก็ไม่มีเงินเหลือพอใช้จ่าย แต่ถ้าเข้าร่วมโครงการนี้น่าจะประหยัดดอกเบี้ยไปหลายแสนบาท

ฟังๆแล้ว ”โครงการฮักแท็กซี่” หรือแท็กซี่ประชารัฐ น่าจะตอบโจทย์ตรงเป้า ตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล

แต่อย่าลืมว่าทุกวันนี้ผู้ขับแท็กซี่ ตกเป็นจำเลยของสังคมเมืองเอามากๆ ไม่ต้องดูอื่นไกล เอาแค่เรื่องปฏิเสธผู้โดยสาร ที่หลายๆคนเคยประสบปัญหานี้อยู่เสมอ ถึงแม้จะมีระเบียบจากกรมการขนส่งทางบกว่า รถแท็กซี่ทุกคันห้ามปฏิเสธผู้โดยสาร แต่ในทางปฏิบัติแล้ว มีการปฏิเสธผู้โดยสารอยู่ตลอดเวลา จนเหมือนเป็น เรื่อง ปกติธรรมดา โดยคนขับมักจะให้เหตุผลว่า ต้องไปส่งกะหรือรถติด

รัฐบาลจะเข้ามาดูแลใส่ใจคุณภาพการให้บริการอย่างไรบ้าง เป็นอีกเรื่องที่ผู้โดยสารทุกคนเฝ้ารอดูอยู่

อ่าน | ธพว. อัดงบหมื่นล้าน! เสริมแกร่งผู้ประกอบอาชีพขับแท็กซี่เข้าถึงเงินทุน 
อ่าน | KTC-อาลีเพย์-KPNมอเตอร์คาร์รุกจ่ายค่าแท็กซี่ด้วย QRCode เจาะนักท่องเที่ยวจีน 

[caption id="attachment_373144" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

S__8347945 ดูเหมือนว่าเรื่องนี้ มูลนิธิคุ้มครองผู้ใช้บริการรถยนต์สาธารณะ ได้ออกมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี โดยผ่านกรรมการผู้จัดการ ธพว. เพื่อเสนอแนวคิดเพิ่มเติมในส่วนของการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์โดยสารสาธารณะ

ประการแรก ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่อิสระต้องสมัครเป็นสมาชิกองค์กรสมาคม/มูลนิธิ หรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งก่อนแล้ว จึงให้องค์กรนั้นให้การรับรองความประพฤติและความเป็นสมาชิกแล้วจึงนำหนังสือรับรองดังกล่าวมายื่นต่อ ธพว. เพื่อขอสินเชื่อในโครงการดังกล่าว เพื่อความมีวินัยและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ

อ่าน |สปส.เสริมทัพโครงการ"ฮัก TAXI" ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพขับแท็กซี่ 
อ่าน |"SME D Bank" หนุน "3 เติม" พลิกโฉมวงการอาชีพ "ขับแท็กซี่" 
S__8347930 ประการต่อมา ควรพิจารณาปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการขับแท็กซี่เป็น 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 ปล่อยกู้ให้กับผู้ขับแท็กซี่ที่สังกัดสมาคม หรือมูลนิธิฯ เป็นรถแท็กซี่ส่วนบุคคลแบบเขียว-เหลือง และแบบที่ 2 ปล่อยกู้ให้กับสหกรณ์ที่ไม่สร้างหนี้ที่เกินกำหนดไว้ตามระเบียบสหกรณ์หรือสหกรณ์จัดตั้งใหม่ที่ได้รับการจดทะเบียนเสร็จสิ้นก่อนสิ้นปี 2561 เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ที่ตั้งใจในการประกอบอาชีพได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนและมีองค์กรที่ผู้ประกอบอาชีพสังกัดเพื่อการฝึกอบรมทักษะในการประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในสังคม

การที่ภาครัฐตัดสินใจช่วยเหลือชาวแท็กซี่ด้วยโครงการนี้ นอกเหนือจากการช่วยยกฐานะ ยังเป็นการสร้างมาตรฐานคุณภาพชีวิต เพราะมีสวัสดิการให้สิทธิประกันสังคม การอบรมทักษะ และการอบรมการใช้แอพพลิเคชั่น เป็นต้น

ฮักแฮงๆ...ด้วยใจ.. อย่างนี้ หวังว่าแท็กซี่ยุคใหม่จะใส่ใจผู้โดยสาร บริการสุภาพ สภาพรถภายในสะอาด น่านั่ง และปลอดภัย

คงต้องติดตามดู บรรยากาศเช่นนี้ ภาพเช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่

|คอลัมน์ : ปฏิกิริยา
|โดย : ชิษณุชา เรืองศิริ
|ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
เพิ่มเพื่อน 595959859