ปฏิกิริยา : เอาชีวิตรอดจากฝุ่นมรณะ “PM2.5”

27 ธ.ค. 2561 | 17:29 น.
ฝุ่น-02 1000 หลายวันมานี้ หลายคนคงพอสังเกตเห็นได้ว่าบนท้องฟ้าเหนือกรุงเทพมหานครนั้นปกคลุมไปด้วยหมอกจางๆ ในหลายพื้นที่โดยหารู้ไม่ว่าที่ตาเรามองเห็นนั้นกลับไม่ใช่ทะเลหมอก

หากแต่คือฝุ่นควันที่มีมากจนเกินค่ามาตรฐาน

ดังที่กรมควบคุมมลพิษได้ออกมารายงานว่า หมอกหนาทึบที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินมาตรฐานอันเกิดจาก สภาวะอากาศนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหว ทำให้มลพิษสะสมในพื้นที่

ด้วยความที่ขนาดของมันนั้นเล็กมากๆ ฝุ่นละออง PM 2.5 เหล่านี้จึงกลายเป็นปัญหา

เนื่องจากพวกมันสามารถเล็ดลอดผ่านการดักของขนจมูกเข้าไปสู่ภายในร่างกายของเราได้และจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในระยะยาวตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคทางเดินหายใจทั้งหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองหรือภูมิแพ้
2000
“ที่น่ากลัวก็คืออนุภาคของฝุ่นละอองที่ถูกสูดเข้าไปในร่างกายมีลักษณะขรุขระ ดังนั้นมันจึงพาเอาสารอื่นติดมาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้น หากสูดเขาไปในปริมาณมากๆ จนสะสมในร่างกาย”

แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน พุ่งสูงขึ้นและอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพขึ้นมาอีก

ฝุ่น PM 2.5 ภัยเงียบที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์

แล้วเจ้าตัวร้าย PM 2.5 มาจากไหน ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วนี้ เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลายชนิด อาทิเช่น ไอเสียรถยนต์ การเผาไหม้จากโรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้างในโครงการต่างๆ ซึ่งเป็น 2 สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ อย่างที่เรากำลังสร้างรถไฟฟ้าหลายสายพร้อมๆกัน
6000 สุดสะพรึง อันตรายฝุ่น PM2.5

ฝุ่น PM 2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะสามารถเดินทางผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เพิ่มโอกาสของโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และต้องป้องกันด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานป้องกันฝุ่นขนาดเล็กโดยเฉพาะ

การเอาชีวิตรอดท่ามกลางมลพิษทางอากาศ

คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะมีปัญหาสุขภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงการเข้าสู่พื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด เช่น ริมถนน ริมพื้นที่ก่อสร้าง หากจำเป็นต้องออกไปจริงๆ ควรใส่หน้ากากอนามัยระดับ N95 เช่นเดียวกับประชาชนสุขภาพดีทั่วไป ที่ต้องใช้ชีวิตหรือทำงานในบริเวณสุ่มเสี่ยงดังกล่าวเป็นประจำ ก็ควรใส่หน้ากากป้องกันไว้ด้วย

หน้ากากอนามัย N95 ความละเอียดของเส้นใยสูงพอที่จะกรองฝุ่นเล็กขนาด 2.5 ไมครอนได้ โดยกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอนได้ถึง 95% จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ ส่วนแผ่นผ้าปิดปากที่ขายกันทั่วไปนั้น นอกจากจะกรองไม่ได้ละเอียดพอแล้ว ยังไม่แนบชิดกับใบหน้าเพียงพอด้วย อากาศยังผ่านเข้าออกได้ง่าย

[caption id="attachment_366651" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

3000 สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 สูงตามเมืองใหญ่โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครนั้น มีมาหลายปีแล้ว แต่ที่กลายเป็นประเด็นรณรงค์กันมากในช่วงนี้ เพราะเกิดขึ้นค่อนข้างเร็วกว่าปีที่ผ่านๆ มา (ตั้งแต่มกราคม) และค่อนข้างอยู่นานหลายเดือน

ปกติฝุ่น PM 2.5 จะมากขึ้นในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูหนาวไปฤดูร้อน เช่น ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมักจะมีหมอก (ไอน้ำ) เกิดขึ้น ทำให้อากาศปิด แสงแดดส่องไม่ถึงพื้น ฝุ่นละอองขาดแรงผลักให้ลอยตัวสูงขึ้นไป จนสะสมอยู่ในอากาศเรี่ยพื้นดิน

ส่วนสาเหตุที่ฝุ่นดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงนี้กรมควบคุมมลพิษระบุว่า เนื่องจากสภาพอากาศที่มีหมอกในตอนเช้า อากาศนิ่ง และมีสภาพอากาศปิด ทำให้มีการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศเพิ่มขึ้น
5000 ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันมาถกกันอย่างจริงจังว่า ทำอย่างไรเราจึงจะมีอากาศที่ดีได้ใช้หายใจตามสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

สิ่งที่น่ากังวลนอกเหนือจากอันตรายของฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้ คือ การจัดการปัญหาของหน่วยงานรัฐ และข้อจำกัดทางกฎหมายไทย

เราไม่เห็นบทบาทของกรุงเทพมหานครในฐานะรัฐบาลท้องถิ่นเข้ามาปกป้องคุณภาพชีวิตของชาว กทม.เลย ทั้งที่มีอำนาจในมือเช่นใช้มาตรการเด็ดขาดกับโครงการรถไฟฟ้าให้ลดฝุ่นควันในพื้นที่ก่อสร้าง

ขณะที่กรมควบคุมมลพิษและกรมควบคุมโรคก็ทำได้เพียงการแจ้งผลสภาพอากาศ ออกประกาศเตือน ไม่มีมาตรการป้องกัน
4000 หลายประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมมลพิษในอากาศ ซึ่งเริ่มแรกมีการกำหนดค่าการปล่อย PM 2.5 ไว้ใกล้เคียงกับไทย แต่ปัจจุบันประเทศเหล่านี้ได้ดำเนินเรื่องนี้ในเชิงนโยบายเพื่อคุ้มครองสุขภาพพลเมืองในประเทศ เช่น สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อเมริกา ที่ปัจจุบันมีค่า PM 2.5 อยู่ที่ 12, 14 และ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก

ทำไมทุกประเทศเหล่านี้เขาทำได้

เพราะว่าเขาไม่ทำแค่ให้เสร็จๆให้พ้นๆไปแบบสุกเอาเผากิน แต่เขาเอาจริงเอาจังในการคุ้มครองประชาชนด้วยจัดการแก้ไขปัญหาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหลัก ตลอดจนควบคุมการปล่อยสารพิษของโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุของปัญหามลภาวะอย่างจริงจัง

ขอถาม 2 ข้อ เมื่อไรจะเห็นคุณค่าคนไทย และฝุ่นอันตรายเหล่านี้จะทำอย่างไรให้หมดไปได้ แล้วมีมาตรการทางกฎหมายใดในการจัดการและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

|คอลัมน์ : ปฏิกิริยา
|โดย : ชิษณุชา เรืองศิริ
|ฐานเศรษฐกิจออนไลน์
| ขอบคุณภาพ : Nation Photo

595959859