ธ.ก.ส.นำร่อง17จังหวัดจ่ายเงินชาวสวนยาง2หมื่นคน

26 ธ.ค. 2561 | 18:17 น.
ธ.ก.ส.นำร่องจ่ายเงินตามโครงการชดเชยรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยาง 2 หมื่นคนใน 17 จังหวัด วงเงิน 170 ล้านบาท บิ๊ก กยท.ยันโปร่งใส ทุกขั้นตอนตรวจสอบได้ ห่วงที่ขึ้นทะเบียนใหม่ หลัง 14 พ.ย.ผวาชวดเข้าร่วมโครงการ เสียดายโอกาส ชี้ยังมีช่อง หากงบประมาณเหลือมีสิทธิ์สอดแทรกได้ sunan-503x335 นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล  รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านบริหาร  เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความก้าวหน้าโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางและคนกรีดยาง โดยให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามพื้นที่เปิดกรีดจริง  1800 บาท/ไร่ ไม่เกิน 15 ไร่/ราย ซึ่งทาง กยท.ประกาศรายชื่อเรียบร้อยแล้วให้เกษตรกรที่มีรายชื่อไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสวนยาง  และคนกรีดยาง ให้มายืนยันสิทธิ์ว่าจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่ ควบคู่กับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ก็มาขึ้นก่อนหน้านี้บางส่วน ไม่อยากขึ้นเพราะขึ้นทะเบียนแล้วก็ไม่รู้จะได้อะไรหรือไม่ พอมีโครงการนี้มา แล้วจะมาขึ้น กยท.ก็ยินดีรับเรื่องไว้ทั้งหมด มาขึ้นก็ได้ ส่วนเกษตรกรที่มีรายชื่อมาแล้วก็แค่มายืนยันสิทธิ์ขอเข้าร่วมโครงการ PNEVN601125002000101_25112017_113635-503x377 มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)จะให้เกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนก่อนวันที่  14 พฤศจิกายน 2561  จำนวน 999,065 ราย และคนกรีดยาง 304,266 ราย รวมเนื้อที่ 9,448,447 ไร่ โดยให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามพื้นที่เปิดกรีดจริงไร่ละ 1,800 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ (กรณีมีคนกรีดยางแบ่งเป็นเจ้าของสวนยาง 1,100 บาทต่อไร่ และคนกรีดยาง 700 บาทต่อไร่) เพราะหากไม่มีการกำหนดวันแน่นอน จะไม่สามารถคำนวณจำนวนคนและของบประมาณได้ แต่นอกเหนือจากกลุ่มคนเหลานี้ก็มาขึ้นได้ก็รับไว้ก่อน จะยู่ในกระบวนตรวจสอบ พิจารณา ว่าให้ได้หรือไม่ ก็รับไว้ก่อน ตัวเลขยังไม่นิ่งไหลมาเรื่อยๆ หลักหมื่นแล้ว  S__25034798 ส่วนการตรวจสอบรับรองสิทธิ์ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการระดับพื้นที่ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโครงการสร้างความเข้มแข้งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ระดับจังหวัด คณะกรรมการบริหารโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ระดับอำเภอ และคณะทำงานตรวจสอบสิทธิ์โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ระดับตำบล  จะตรวจสอบ อาทิ สวนยางยังมีอยู่ไหม โค่นไปหรือยัง อาจจะอยู่ในระหว่างเข้าร่วมรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน หรือขายเปลี่ยนมือไปแล้วหรือไม่ มาขึ้นทะเบียนใหม่หรือไม่ หลังจากนั้นจะส่งต่อไล่ระดับเป็นอำเภอ เป็นจังหวัด เพื่อตรวจสอบต่อไป  ยาง1-503x335 หลังจากนั้นข้อมูลต่างๆส่งมาให้ทาง กยท.สำนักงานใหญ่ เพื่อจะนำบัญชีรายชื่อเกษตรกรเจ้าของสวนยาง/ผู้เช่าสวนยาง และคนกรีดยางที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบและรับรองสิทธิ์จากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับอำเภอ ส่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประมวลผลตรวจสอบความถูกต้อง อาทิ แปลงชื่อซ้ำกันหรือไม่ จำนวนเนื้อที่เกินหรือไม่  หรือแปลงเดียวกัน ชื่อมีสองคน เป็นต้น เมื่อมีความถูกต้องแล้ว ทาง ธ.ก.ส.โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเกษตรกรเจ้าของสวนยาง/ผู้เช่าสวนยาง และคนกรีดยาง จะเห็นว่าขั้นตอนต่างๆ นั้นไม่มีใครถือเงินเลย จำนวนเงินจะเข้าใส่บัญชีของเกษตรกรโดยตรง ดังนั้นการตรวจสอบเข้มข้นมากเพื่อป้องกันการทุจริต

[caption id="attachment_366651" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

สำหรับสวนยางที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องเป็นสวนยางที่เปิดกรีดแล้ว  อายุไม่น้อยกว่า 7 ปี  แต่หากกรณีสวนยางเกษตรกรดูแลดี 6 ปีกรีดได้ จะให้คณะกรรมการระดับตำบล ที่ประกอบไปด้วย กำนัน /ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรจังหวัด ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจว่าจะให้เข้าร่วมโครงการหรือไม่ แต่ไม่ใช่ปลูกไปแค่ 3 ปี แล้วบอกว่าเปิดกรีด !อย่างนี้ไม่ใช่ ! จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้  ยืนยันว่าไม่มีการทุจริตทุกขั้นตอนตรวจสอบได้ แล้วถ้ามีจะมีการลงโทษวินัยที่ร้ายแรง  ยอมรับว่าเจ้าหน้าที่บางคนใจดี อาจจะมีอะลุ่มอล่วยกับเกษตรกร จะให้ทุกคนตระหนักว่าเป็น ”เงินแผ่นดิน”  ปัจจุบันนี้การตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว คาดว่า ธ.ก.ส. ที่จะเริ่มจ่ายวันพรุ่งนี้  (วันที่ 27 ธ.ค.61) 17จังหวัด 170ล้านบาท จำนวน 2 หมื่นคน เทียบกับโครงการที่แล้วถือเร็วมาก เพราะก่อนที่จะมีโครงการนี้ ทาง กยท.ให้แต่ละจังหวัด เจ้าหน้าที่แต่ละคนเคลียร์งานทั้งหมดเพื่อทำหน้าที่นี้ทุกวัน ไม่เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชาวสวนยาง และสนองนโยบายรัฐที่ต้องการมอบให้เป็นของขวัญปีใหม่ ดังนั้น กยท.จำเป็นที่จะต้องเร่งให้ทันก่อนสิ้นปี 595959859