"เศรษฐกิจโลกเสี่ยงถดถอย" ติวเข้มรัฐ-เอกชนรับมือ!!

26 ธ.ค. 2561 | 10:34 น.
261261-1721

| GO THAILAND

……………….


ในการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ในหัวข้อ "ภูมิทัศน์โลกใหม่ : ความเสี่ยง-โอกาสประเทศไทย" ในงานดินเนอร์ ทอล์ก GO Thailand : โอกาสประเทศไทย 2019 จัดโดย หนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" สาระสำคัญนอกจาก ดร.ศุภชัย ได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าของไทยที่มีอยู่มากมายแล้วนั้น

 

[caption id="attachment_366690" align="aligncenter" width="503"] ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด)[/caption]

ติวเข้มรัฐ-เอกชนรับมือ

ดร.ศุภชัย ยังเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า
จากเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยที่มีความเสี่ยงอยู่มาก ข้อแนะนำผู้ประกอบการ คือ จะต้องดูตลาดภายในและภายนอกควบคู่กันไป นอกจากนี้ บริษัทเอกชนต้องลงทุนเรื่องคนมากขึ้น แทนที่จะนำเอากำไรมาจ่ายเงินปันผลอย่างเดียว ต้องนำเงินมาลงทุนฝึกอบรมพนักงาน สร้างความรู้ ความสามารถ เพื่อรับกับอนาคตให้มากขึ้น อันนี้สำคัญมาก

ขณะที่ รัฐบาลต้องใช้โอกาสจากสงครามการค้า ที่มองว่าเป็นเพียงเรื่องนโยบายและเกมต่อรอง ในการดึงนักลงทุนจากจีนและจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาลงทุนในไทยให้มากขึ้น จากเวลานี้การลงทุนจากข้างนอกของไทยน้อยมาก โดยต้องเจาะเป็นธุรกิจที่เราต้องการ เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับทางด้านดิจิตอล ที่จีนก็มีหลายตัวที่จะเข้ามาได้ รวมถึงพวกโลจิสติกส์ บางส่วนของเครื่องสมาร์ทโฟนที่ไทยทำอยู่แล้ว ถ้าสามารถดึงเข้ามาอยู่ในบ้านเราได้มากขึ้นก็จะทำให้ได้เปรียบ เพราะจะสามารถส่งสินค้าเหล่านี้กลับไปอเมริกาได้

 

[caption id="attachment_366692" align="aligncenter" width="503"] ©stux ©stux[/caption]

เน้นเฉพาะอุตฯไฮเทค

สำหรับอุตสาหกรรมอะไรที่ใช้แรงงานมาก เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน ต่างชาติไปกัมพูชา ไปเวียดนามอยู่แล้ว เพราะค่าจ้างถูกกว่าไทยมาก แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง ไทยต้องเล็งอุตสาหกรรมเหล่านี้ ซึ่งการเคลื่อนย้ายออกมา แม้จะยาก เราก็ต้องออกแรงทำงานหนัก เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อันนี้เป็นเรื่องที่เราจะเล่นได้อย่างดี หรือ เราจะเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ก็มีโอกาสเป็นไปได้แน่ เพราะไทยสามารถผลิตยาและวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การรับรองได้หลายรายการ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ พิษสุนัขบ้า ยาต้านเชื้อเอดส์ เป็นต้น

"เราต้องเร่งสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือเพื่อรองรับ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมาก ทั้งโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่รวดเร็ว การสื่อสารที่ต่อเนื่องอย่างรวดเร็วที่ต้องดำเนินการให้ทันกับสถานการณ์ รวมถึงต้องลงทุนพัฒนา Digital Knowledge ให้มากขึ้น ให้มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทำให้ทุกคนได้สามารถได้ข้อมูลเต็มที่ทางด้านดิจิตอล"

ที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเป็นการลงทุนของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ เอกชนก็ยังรอเวลา ที่ผ่านมา 3-4 ปี ก็พูดกันอยู่เสมอว่า "เอกชนต้องตามรัฐบาล" ดังนั้น ต้องมีอะไรที่เป็นเรื่องที่ต้องไปจุดกำเนิดให้เอกชนทั้งต่างชาติและคนไทยตามให้ โดยเฉพาะการลงทุนในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)

 

[caption id="attachment_366694" align="aligncenter" width="503"] ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด)[/caption]

เพิ่มค้า CLMV-RCEP ลดเสี่ยง

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปีหน้า การขยายตัวที่ 4% มองว่า มีความเป็นไปได้ แต่จากเศรษฐกิจไทยเปิดมาก พึ่งพาต่างประเทศ พึ่งพาส่งออก 70% ของรายได้ประชาชาติ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการส่งออกไทยในปีหน้ามีแนวโน้มจะชะลอตัวลงตามทิศทางการค้าของโลก โดยการค้าโลกปีนี้อาจจะขยายตัว 5% ปีหน้าอาจเหลือ 3-4% ดังนั้น การส่งออกที่จะให้ถึงเป้าประมาณ 8% ในปีหน้า ก็อาจจะลำบาก

ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้การส่งออกของไทยยังขยายตัวในปีหน้า ที่อยากฝากรัฐบาล คือ การใช้โอกาสที่ไทยจะเป็นประธานอาเซียน เร่งสร้างให้เกิดการรวมตัวในอาเซียน ใน RCEP (อาเซียนบวกจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) รวมถึง CLMV เพื่อค้าขายระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งจะทดแทนตลาดนอกกลุ่มได้ เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม CLMV เศรษฐกิจโตเฉลี่ยกัน 6-7% ทั้งนั้น ส่วนการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ที่เวลานี้มีการนำมาตรการมาใช้ในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้น ถึงกว่า 6,000 รายการ ไทยจะต้องจัดระเบียบเรื่องนี้ เพื่อต่อรองเอาลงให้ได้ เพราะถ้ามีประชาคมอาเซียน โดยที่มี NTBs มาทดแทน การยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันก็ไร้ประโยชน์


RCEP

"กรณีที่จีนกับญี่ปุ่นได้ทำเอ็มโอยูกัน เพื่อไปลงทุนในประเทศที่ 3 ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีมาก โดยตกลงกันว่าจะมาลงทุนเป็นตัวอย่างอันแรกที่อีอีซี เพราะฉะนั้นเราต้องเร่งเอาโครงการไปนำเสนอให้เร็วว่าจะเป็นโครงการอะไรได้ อย่าง ยานยนต์ EV ก็ได้ หรือ โครงการอะไรที่เป็นลักษณะของไบโอชีวภาพทั้งหลาย ส่วนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลขอให้รักษาแนวของความต่อเนื่องของนโยบายหลัก เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาเรื่องแรงงาน และคนรองรับกับโครงการต่าง ๆ รถไฟทางคู่ต้องการวิศวกรเป็นหมื่นคน เราจะหาที่ไหน ..."


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,429 วันที่ 23 - 26 ธ.ค. 2561 หน้า 02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ชี้ "เศรษฐกิจโลก" เสี่ยงถดถอย! 'ศุภชัย' ห่วงวิกฤติการเงิน
รู้เท่าทัน สารพันกฎหมาย | สภาอังกฤษเลื่อนลงมติ Brexit ลางบอกเหตุวิกฤติเศรษฐกิจโลก?


เพิ่มเพื่อน
595959859