เงิบ! "มิลค์บอร์ด" มีมติไม่ฟันทุจริตไซฟ่อนนมโรงเรียน

25 ธ.ค. 2561 | 09:18 น.
"มิลค์บอร์ด" แทรกประชุมวาระลับ 4.1 เปิดผลสอบสวนกองปราบฯ ส่อพิรุธเพียบ ทั้งวางบิลใบเสร็จแทน ชำระหนี้จากสหกรณ์หนึ่งไปยังสหกรณ์หนึ่ง กังขาสงสัยพฤติกรรม เล็งแจ้งน้ำนมเท็จ ส่งเชือด หวังให้ถอดจากโครงการนมโรงเรียน 1.4 หมื่นล้าน ด้าน วงในถกปมร้อนจนตกผลึกข้อสรุป ยุติ! ไม่ฟันเอาผิด ชี้โพรงให้ฟ้องดำเนินคดีเอง

S__41148420
แหล่งข่าวคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ผลจากการประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ มิลค์บอร์ด (24 ธ.ค. 61) มีนางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีการพิจารณาวาระลับ 4.1 เรื่อง "แจ้งผลการตรวจสอบหลักฐานการซื้อขายน้ำนมโคของศูนย์รวบรวมน้ำนมโค/ผู้ประกอบการตามเอ็มโอยู ปี 2559/2560" ที่ใช้งบประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทต่อปี พร้อมแนบหลักฐานต่าง ๆ มานั้น สาระสำคัญ ก็คือ


S__18415619

จากกรณีที่ นายกิตติศักดิ์ เกียรติไกรวัลศิริ นายกสมาคมผู้ผลิต ยู เอช ที มาขอร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม เพื่อให้สืบสวนสอบหาตัวผู้กระทำผิดกรณีการจัดทำปริมาณน้ำนมโคในการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการกับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค (เอ็มโอยู) ปี 2559/2560 เพื่อให้ได้ปริมาณจำนวนน้ำนมโคในการซื้อขายอันเป็นเท็จ หรือ ไซฟ่อนนมโรงเรียน เพื่อนำไปแสดงและขอจัดสรรสิทธิต่อเจ้าพนักงานในการขอนำเข้านมผงขาดมันเนยในอัตราภาษีศุลกากรต่ำในโควตาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ และผู้ประกอบการบางรายนำปริมาณน้ำนมโคอันเป็นเท็จ ไม่มีการซื้อขายจริง ไปแสดงต่อพนักงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนน จนเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย ได้ภาษีต่ำกว่าที่ควรจะได้รับ รวมทั้งทำให้เกิดปัญหาต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่มีน้ำนมโคจริง ไม่สามารถจำหน่ายได้ เพราะถูกกีดกัน เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2559 ถึงเดือน พ.ค. 2560


drops-of-milk-2062100_1920

จากการตรวจสอบเอกสารพบว่า มี 2 บริษัท ที่มีพฤติการณ์ของบริษัทเป็นการค้าผิดปกติวิสัย เข้าข่ายการกระทำรายงานเป็นเท็จให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ หรือ ไม่ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ประกาศของมิลค์บอร์ดหรือไม่

1.กรณีพิรุธของ บริษัท ธวัชฟาร์ม จำกัด ได้ซื้อน้ำนมดิบจาก บริษัท เขาใหญ่แดรี่ จำกัด เดือน มี.ค. 2560 รายงานซื้อ 7.495 ตัน/วัน ผลตรวจสอบ 7.022 ตัน/วัน บริษัทรายงานซื้อมากกว่าผลตรวจสอบ 0.473 ตัน/วัน รวมทั้งเดือน เม.ย. รายงานซื้อมากว่าผลตรวจสอบ 1.97 ตัน/วัน นอกจากนี้ มีการซื้อน้ำนมดิบนอกเอ็มโอยูจากสหกรณ์โคนมอุบลราชธานี เดือน ธ.ค. 2560 รายงานซื้อ 0.099 ตัน/วัน ผลตรวจสอบ 0.056 ตัน/วัน บริษัทรายงานผลซื้อมากกว่าตรวจสอบ ขณะที่ เดือน ม.ค. 2560 รายงานซื้อ 0.089 ตัน/วัน ผลตรวจสอบ 0.110 ตัน/วัน บริษัทรายงานซื้อน้อยกว่าผลตรวจสอบ 0.021 ตัน/วัน


milk-1760353_1920

"น้ำนมดิบที่ซื้อจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส่งเสริมกิจการโคนมกาญจนบุรี คือ น้ำนมดิบที่ บริษัท ธวัชฟาร์ม จำกัด ซื้อแล้วนำไปจ้าง บริษัท แมรี่แอนด์ แดรี่ โปรดักส์ จำกัด ผลิตนมกล่องยูเอชที การชำระเงินของ บริษัท ธวัชฟาร์ม จำกัด จะชำระเงินเป็นค่านมกล่องยูเอชที โดยจ่ายเป็นเช็คธนาคารให้กับ บริษัท แมรี่แอนด์ แดรี่โปรดักส์ จำกัด ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดส่งเสริมกิจการโคนมกาญจนบุรีกับ บริษัท แมรีแอนด์ฯ เป็นเจ้าของคนเดียวกัน


20236

จากเอกสารดังกล่าวนี้ พนักงานสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณี บริษัท ธวัชฟาร์ม จำกัด ซื้อน้ำนมดิบจาก บริษัท ใหญ่แดรี จำกัด เดือน มี.ค. บริษัทรายงานซื้อมากกว่าผลตรวจสอบ 0.473 ตัน/วัน หากคิดเป็น 1 เดือน ปริมาณรวม 14.19 ตันต่อวัน เดือน เม.ย. รายงานซื้อมากกว่าผลตรวจสอบ 1.971 ตันต่อวัน หากคิดเป็น 1 เดือน ปริมาณรวม 59.13 ตัน ซึ่งปริมาณนมเป็นจำนวนมาก การกล่าวอ้างบวกตัวเลขผิดพลาดอย่างบ่อยครั้งและปริมาณความผิดพลาดจำนวนมาก เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้


milk

2.กรณี บริษัท วารินทร์มิลค์ จำกัด ซื้อน้ำนมโคจาก บริษัท กลุ่มพัฒนาโคนมซับสนุ่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขายน้ำนมโคเอ็มโอยู รวม 6,512,070 กิโลกรัม โดยแยกเป็นรายการซื้อขายตามข้อ 2.1 น้ำนมโค จำนวน 5,417,280 กิโลกรัม ขายให้ บริษัท แมรี่แอนด์ โปรดักส์ จำกัด โดยใช้ใบส่งของ/แจ้งหนี้/ใบวางบิล ของ บริษัท กลุ่มพัฒนาโคนมซับสนุ่น จำกัด ไม่ใช้ใบส่งของ บริษัท วารินทร์มิลค์ จำกัด ส่วนน้ำนมโค จำนวน 33,530 กิโลกรัม ขายให้ บริษัท คันทรีเฟรช แดรี่ จำกัด โดยใช้ใบส่งของ/แจ้งหนี้/ใบวางบิล ของบริษัท กลุ่มทุนพัฒนาโคนมซับสนุ่น จำกัด ไม่ใช้ใบส่งของ บริษัท วารินมิลค์ จำกัด เมื่อพิจารณาแล้วผลการตรวจสอบ 2 บริษัท ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย ไม่สามารถจะชำระบัญชีร่วมกันได้ ดังนั้น จึงมองว่ามีพิรุธน่าสงสัยในพฤติกรรมดังกล่าว จึงให้ทางมิลค์บอร์ดพิจารณาลงโทษ 2 บริษัทดังกล่าวนี้ด้วย


pass

แหล่งข่าวมิลค์บอร์ด กล่าวว่า จากข้อมูลดังกล่าวเห็นว่า ที่ประชุมมีมติเห็นว่า ไม่มีพิจารณาลงโทษ หรือ ให้ความเห็นใดใดทั้งสิ้น เนื่องจาก 2 บริษัท ได้รับการจัดสรรโควตานมโรงเรียนน้อยมาก อยู่ในหลักพันถึงหมื่นถุงต่อวัน ถ้าหากกองปราบฯ ประสงค์ที่จะให้มีความผิด ก็ให้ไปฟ้องร้องกันเอาเอง

แอดฐานฯ