กนอ.นำ 18 เอกชนไทย-เทศ ลงพื้นที่สำรวจท่าเรือฯมาบตาพุดระยะที่ 3

28 พ.ย. 2561 | 07:51 น.
กนอ.นำคณะเอกชนไทย-เทศ 18 ราย ลงสำรวจพื้นที่โครงการท่าเรือฯมาบตาพุด ระยะที่ 3 เก็บข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอทางเทคนิค-ราคา ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3  (ช่วงที่1) เตรียมเปิดให้เอกชนยื่นซองในวันที่  6 ก.พ.2562 เดินหน้าพัฒนาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ของรัฐบาล มูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท รองรับภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอีอีซี

[caption id="attachment_354313" align="aligncenter" width="503"] นางสาวสมจิณณ์ พิลึก นางสาวสมจิณณ์ พิลึก[/caption]

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (28 พ.ย.2561) กนอ.ได้นำคณะภาคเอกชนไทยและต่างประเทศ จำนวน 18 ราย ลงพื้นที่โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) เพื่อให้เอกชนที่ซื้อซองประกวดราคาได้เข้าไปสำรวจและศึกษากายภาพของพื้นที่เพื่อนำข้อมูล มาประกอบการในการจัดทำข้อเสนอทางเทคนิค และราคา ตามเงื่อนไขการยื่นประมูลการร่วมลงทุนตามรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnership (PPP) Net Cost ซึ่ง กนอ.ได้กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอ  ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 และคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกได้ในราวเดือนมีนาคม 2562  เพื่อเข้าพัฒนาและสามารถเปิดดำเนินการได้ในต้นปี 2568

S__9420814 สำหรับเอกชนที่เข้าซื้อซองประกวดราคา  และลงพื้นที่ศึกษาโครงการท่าเรือฯมาบตาพุดระยะที่ 3  (ช่วงที่ 1) ในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 18 ราย ประกอบด้วย

ภาคเอกชนไทย จำนวน 10 ราย ประกอบด้วย

1. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

3. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

4. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

5. บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด

6. บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด

7.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

8.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

9.บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด

10.บริษัท สหการวิศวกร จำกัด  S__9420813

ภาคเอกชนจีน จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย

1.บริษัท China Railway Construction Corporation Limite

2.บริษัท China Harbour Engineering Co.,Ltd.

3.บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด

4.บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จำกัด    S__9420815

ภาคเอกชนญี่ปุ่น จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย

1.บริษัท Mitsui & Co., Ltd.

2.บริษัท Tokyo Gas Co.,Ltd.

ภาคเอกชนเนเธอร์แลนด์ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย

1. บริษัท Vopak LNG Holding B.V.

2.บริษัท Boskalis International B.V.        ภาพท่าเรือฯมาบตาพุด ระยะ 3

สำหรับการพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 55,400 ล้านบาท      แบ่งออกเป็นภาครัฐ 12,900 ล้านบาท และ เอกชน 42,500 ล้านบาท โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ช่วง ทั้งในการพัฒนาและการบริหารโครงการ

ทั้งนี้การพัฒนาช่วงที่1  เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 47,900       ล้านบาท โดย กนอ.จะเข้าร่วมลงทุนในมูลค่าไม่เกิน 12,900 ล้านบาท และ เป็นส่วนการลงทุนของภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท โดยจะพัฒนาในส่วนขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่เก็บกักตะกอน 450 ไร่ การขุดลอกร่องนํ้า และแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือท่าเทียบเรือบริการ และท่าเรือก๊าซ รองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้ 10 ล้านตันต่อปี โดยเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าพัฒนาโครงการในช่วงที่ 1 จะได้รับสิทธิในการบริหารและพัฒนาพื้นที่ท่าเรือ (Superstructure)  ประมาณ 200 ไร่ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารท่าเรือ และเพื่อรองรับการใช้บริการท่าเรือที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

สำหรับแผนการพัฒนาในช่วงที่ 2 จะเป็นการลงทุนก่อสร้างท่าเรือ (Superstructure)  จะใช้เงินลงทุนประมาณ 4,300 ล้านบาท  โดยเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนและพัฒนาท่าเทียบเรือสินค้าเหลว รองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าเหลวได้ 4 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 และเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568 และงานก่อสร้างพื้นที่หลังท่า จำนวน 150 ไร่  เงินลงทุน 3,200 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

“ศักยภาพของท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีจำนวนเรือที่เข้าใช้บริการในท่าเทียบเรือปริมาณหนาแน่นทั้ง 2 ระยะ ทำให้มีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ  ภาคตะวันออก (EEC) และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งของไทยในอนาคต” นางสาวสมจิณณ์ กล่าว    090861-1927-9-335x503-335x503