GSMA หนุนการพัฒนา Edge Cloud AR/VR โอเปอเรเตอร์

27 พ.ย. 2561 | 08:48 น.
สมาคม GSMA ประกาศเปิดตัวโครงการใหม่ ชื่อ The GSMA Cloud AR/VR Forum เน้นพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality - VR) และเทคโนโลยีเสริมจริง (Augmented Reality - AR) บนคลาวด์ ในระหว่างงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 9 ของหัวเว่ย ซึ่งจัดขึ้นในกรุงลอนดอน โดยได้รับการสนับสนุนจากไชน่า โมบาย, ไชน่า เทเลคอม, ดอยช์ เทเลคอม, KDDI, KT Corp., NTT DOCOMO, SK Telecom, Telefonica, Telenor, TIM, Turkcell และ Vodafone รวมไปถึงพันธมิตรในอุตสาหกรรมรายอื่นๆ รวมทั้งหัวเว่ย และ HTC กระตุ้นให้ทุกฝ่ายทำงานประสานกันเพื่อเร่งให้เกิดการส่งมอบและใช้งานบริการ AR/VR 5G บนคลาวด์

Cloud ARVR成立 - Resized[31356]
มร. อเล็กซ์ ซินแคลร์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของ GSMA กล่าวว่าเทคโนโลยีทั้ง VR และ AR เป็นรูปแบบมัลติมีเดียที่สร้างประสบการณ์เสมือนจริงแบบใหม่ ซึ่งเมื่อผสานเข้ากับคลาวด์เอดจ์และการเชื่อมต่อ 5G ของโอเปอเรเตอร์แล้ว จะเปลี่ยนโครงสร้างด้านค่าใช้จ่ายขององค์กรและอุตสาหกรรมด้านความบันเทิงผู้ประกอบการด้านโทรศัพท์มือถือจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา แต่ถ้าหากไม่มีการกำหนดแนวทางและความร่วมมือกันในอุตสาหกรรมแล้ว เราก็จะเสี่ยงต่อการทำให้ตลาดแตกออกเป็นกลุ่มๆ ตั้งแต่เริ่มต้น การก่อตั้งโครงการดังกล่าวขึ้นมาจะช่วยแก้ปัญหานี้ และช่วยให้แน่ใจได้ว่าเราจะสามารถเพิ่มนวัตกรรมโซลูชั่นได้เร็วขึ้น"
ฟอรัมใหม่นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันความรู้ระหว่างสมาชิก ตลอดจนการพูดคุยเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงการพัฒนาสถาปัตยกรรมอ้างอิงบริการเพื่อช่วยกระจายต้นทุน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นทางด้านการพัฒนาเทคนิค รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับการบีบอัดข้อมูล Codec เพื่อให้เกิดความหน่วงต่ำที่สุด, การเรนเดอร์กราฟฟิก (GPU) และเทคโนโลยีเสมือนจริงต่างๆ บนคลาวด์ รวมไปถึงลดความยุ่งยากของการพัฒนาอินเทอร์เฟซเพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถปรับใช้บริการได้อย่างง่ายดาย
มร. อาราชห์ อะชูริห์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเทคโนโลยีของ Deutsche Telekom AG และประธานเครือข่าย GSMA Future Networks กล่าวว่าการผสานเครือข่าย 5G และคลาวด์จะทำให้เทคโนโลยี Immersive อย่าง AR และ VR เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น การใช้พลังการประมวลผลที่ขอบของเครือข่ายจะทำให้ลูกค้าสามารถสัมผัสประสบการณ์ immersive ได้ทุกที่ โดยใช้ประโยชน์จากคลาวด์ ดังนั้นเราจึงต้องช่วยกันสร้างระบบนิเวศแบบเปิด ที่มีอินเทอร์เฟซทั่วไป (Common interface) ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่าให้ครบวงจร เพื่อที่จะจัดหาบริการ Cloud AR/VR ได้รวดเร็วทั่วทุกตลาด ด้วยวิธีนี้เราจะสามารถปลดปล่อยศักยภาพของ 5G ได้อย่างเต็มที่
หูฟัง AR/VR ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูล พลังงานไฟฟ้า และพลังการประมวลผลจำนวนมากจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์การเล่นเกม ทำให้หูฟังมีราคาแพงและพกพาลำบาก ซึ่งจะจำกัดการขยายตลาดสู่มวลชน การย้ายคุณสมบัติเหล่านี้จากพีซีไปไว้ในแพลตฟอร์มเอดจ์คลาวด์ จึงเท่ากับว่า ผู้บริโภคก็ซื้อเพียงแค่หูฟัง ทำให้หูฟังมีราคาถูกลงและเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยี Cloud AR/VR ยังต้องการการเชื่อมต่อข้อมูลแบนด์วิธที่มีความหน่วงต่ำและมีความเร็วสูงมาก เพื่อส่งมอบประสบการณ์การรับชมที่มีความละเอียดสูงถึง 4K หรือ 8K เทคโนโลยี 5G จะช่วยส่งมอบประสบการณ์ลักษณะนี้โดยอาศัยความสามารถใหม่ ๆ ของเครือข่าย รวมถึงมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วยระบบคลาวด์เอดจ์ ซึ่งเอื้อต่อบริการที่มีความหน่วงต่ำเป็นพิเศษ