“กฤษฎา” แถลงเปิดปมยางทำไมตกต่ำ? งัดสารพัดวิธีช่วยดันราคา

19 พ.ย. 2561 | 11:16 น.
 

c9bb4c7f0c9866b0e2f71540286cacd3f_15943642_๑๘๑๑๑๙_0045

S__15065157

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าได้สั่งการด่วนที่สุดเรื่อง การสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และราคายางพาราตกต่ำของ ประเทศไทย ตามที่ได้มีการสนับสนุนให้ปลูกยางพาราในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนับล้านไร่มาตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาโดยไม่มีการวางแผนการผลิต (Agriculture Production Plan) ให้สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดนั้น ได้ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตยางพาราปริมาณมากที่สุดใน โลกรวมทั้งเป็นผู้ส่งออกยางพารามากที่สุดในโลก

S__15065142

แต่ปัจจุบันราคายางพาราในประเทศไทยและใน ตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเป็นระยะๆ ท่าให้เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ประสบความเดือดร้อน มีรายได้ไม่เพียงพอ จึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือตามมาตรการต่างๆ เหมือนเช่นในอดีต ที่ราคายางพาราตกต่ำ ทางส่านักงานรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ท่าการศึกษาปัญหาภาวะวิกฤติ ราคายางพาราและแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำจากข้อมูลและข้อเท็จจริงจากพื้นที่ทั่ว ประเทศ รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากองค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (IRSG) และหน่วยงาน ของรัฐรวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้พบข้อเท็จจริงที่ส่าคัญสรุปได้ดังนี้

1.ประเทศไทยมีพื้นที่กรีดยางมากที่สุดในกลุ่มประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน เวียดนามและอินเดีย โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีพื้นที่กรีดยางได้ จำนวน 20.32 ล้านไร่ ท่าให้ประเทศไทยมีผลผลิตยางมากที่สุดในโลกจำนวน 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ การผลิตยางธรรมชาติของทั้ง 6 ประเทศรายใหญ่

S__15065141

2.ปัจจุบันราคายางพาราอยู่ในภาวะขาลงโดยราคายางแท่งปี 2551-2560หดตัวลงเฉลี่ย ร้อยละ 4.12 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ปี 51-60 หดตัวลงเฉลี่ยร้อยละ 2.86%

3. ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบของประเทศไทย ปี 2550 – 2559 มีอัตราการเติบโต สูงขึ้นเป็นระยะๆโดยไม่มีท่าทีว่าจะลดลงแต่อย่างใดโดยปัจจุบันมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.94

S__15065139

4. ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นแต่เกษตรกรขายยางพาราได้ราคา ลดลง ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบของไทย และราคาที่เกษตรกรขายได้ปี 2550-2559 ต้นทุน เฉลี่ย ปี 50-59 เท่ากับร้อยละ 6.94 ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ ปี 50-59 เท่ากับติดลบร้อย ละ 3.76 ซึ่งในปี 57-59 ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบสูงกว่าราคาที่เกษตรกรขายได้

S__15065140

5. สถานการณ์ราคายางพาราเปรียบเทียบกับผลผลิตทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2540 – ปัจจุบัน จะเห็นว่าปี 2557 - 2561 ปริมาณผลผลิตยางเฉลี่ยในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นระยะๆ โดยปัจจุบันมีปริมาณผลผลิตยางมากที่สุดจำนวน 4.50 ล้านตันมากกว่าทุกช่วงเวลาที่ ผ่านมา ในขณะที่ราคายางพาราในตลาดโลกลดลงเรื่อยๆ สวนทางกับปริมาณยางพาราที่สูงขึ้นนั้น ในช่วงปี 2557 – 2561 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็มีราคาลดต่ำลงท่าให้มีการใช้ยางสังเคราะห์ มากกว่ายางพารา ขณะเดียวกันได้เกิดความขัดแย้งทางการค้า (Trade War) ระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับ จีน และประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา จึงท่าให้การส่งออกยางพาราจาก ประเทศไทยไปยังประเทศจีนหรือประเทศลูกค้ารายสำคัญลดลง ส่งผลกระทบต่อราคายางใน ประเทศไทยลดลงด้วย

S__15065138

นายกฤษฎา กล่าวว่า เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาราคายางพาราในประเทศ ไทยให้ยั่งยืนและไม่มีผลกระทบต่อระบบการคลังของประเทศก็คือการลดการพึ่งพาการส่งออก เพราะราคายางพาราในต่างประเทศอยู่ในภาวะเวลาลดลงทุกตลาดและราคายางพาราซื้อขายใน ประเทศก็ยังอิงกับราคาซื้อขายยางพาราล่วงหน้า (future trading) ในต่างประเทศด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้นพร้อมกับการปรับสมดุลลด ปริมาณ (supply) ยางพาราลงด้วย จึงจะท่าให้ราคายางพาราในประเทศมีเสถียรภาพ

S__15065143

“ดังนั้นในการแก้ไขปัญหายางพาราต่อคณะกรรมการยางพาราและ คณะกรรมการนโยบายยางพาราธรรมชาติ ในระยะเร่งด่วนเพื่อทุเลาความเดือดร้อนของเกษตรกร ชาวสวนยาวพารา ดังนี้ 1. จัดท่าโครงการเร่งด่วนพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรชาวสวนยางเป็น รายครอบครัวเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างราคายางพาราตกต่ำ 2.การลดปริมาณการผลิตยางพาราโดยส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนต้นยางพาราที่มีอายุ 25 ปี ขึ้นไปหรือ อายุ 15 ปีที่มีต้นโทรมให้น้ำยางน้อยไม่คุ้มค่าเพื่อไปปลูกพืชอื่นๆรวมทั้งสนับสนุนให้มี การปลูกพืชอื่นแซมในสวนยางโดยอาจพิจารณาให้แรงจูงใจกับเกษตรกรมากกว่าปัจจุบันเพื่อเร่ง การตัดสินใจลดปริมาณการผลิตยาง โดยท่าควบคู่กับการให้แรงจูงใจกับผู้ผลิตในอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้ยางพาราในประเทศเป็นวัตถุดิบ หรือลดภาษีสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้ยางพารา ในประเทศเป็นวัตถุดิบเพื่อเพิ่มอุปสงค์ไม้ยางพาราให้สอดรับกับอุปทานไม้ยางพาราที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น

appDSCN2127

3. เชิญชวนและเปิดรับสมัครเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศที่สนใจเข้าร่วมโครงการฝากน้ำยางไว้กับต้นยางช่วงราคาตกต่ำหรือหยุดกรีดยาง(tapping holiday)เป็นเวลา 1-2 เดือนซึ่งจะ ท่าให้ยางพาราลดลงจากตลาดไปในทันทีจำนวน 5 แสนตันต่อเดือน เพื่อเป็นการกระตุ้น (short price)ราคายางพาราในตลาดเพราะการซื้อขายยางนั้นใช้รูปแบบเดียวกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆที่มี การซื้อขายแบบส่งมอบสินค้าและซื้อขายล่วงหน้ามีสัญญาส่งมอบสินค้าเมื่อครบอายุสัญญาซึ่ง วิธีการหยุดกรีดยางนี้ หากสามารถควบคุมการหยุดกรีดได้จริงจะมีผลต่อการราคายางพาราให้ สูงขึ้นมาก หากมีเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวและสมัครเข้า ร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 80 ของเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศ ก็จะได้ให้ กยท.ไปจัดท่า โครงการส่งเสริมอาชีพชาวสวนยางระหว่างโครงการเพื่อให้มีรายได้มาชดเชยช่วงหยุดกรีดยางต่อไป

[caption id="attachment_349434" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

4. ขอความร่วมมือบริษัทหรือภาคเอกชนที่มีธุรกิจแปรรูปหรือโรงงานอุตสาหกรรมผลิตล้อยาง ส่งขายในต่างประเทศและหรือภายในประเทศเพื่อขอให้เข้าร่วมรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชน เปลี่ยนยางล้อรถยนต์ในช่วงเทศกาลปีใหม่เพื่อความปลอดภัยทางถนนในราคาถูกโดยให้ประชาชน ได้สิทธิท่าใบเสร็จซื้อยางล้อรถยนต์ไปลดภาษีเงินได้บุคคลหรือนิติบุคคลประจ่าปี ในขณะที่ บริษัทเอกชนหรือโรงงานที่เข้าร่วมโครงการผลิตล้อรถยนต์ราคาถูกก็จะได้สิทธิพิเศษทางภาษี เช่นกัน โดยมีเงื่อนไขและหลักฐานว่าได้ซื้อยางพาราจากกลุ่มเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรที่มี กยท.รับรองโดยตรงด้วยรวมทั้งให้เชิญชวนบริษัทเอกชนทั้งของไทยและต่างประเทศให้เข้ามา ลงทุนผลิตหรือรับแปรรูปยางส่งไปขายต่างประเทศโดยมีสิทธิพิเศษทางการลงทุนตามที่หน่วยงาน รัฐและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือส่านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)จะได้กำหนดต่อไป

S__18628668

5. ส่งเสริมและเร่งรัดการใช้ยางพาราในประเทศให้มากขึ้นอย่างเร่งด่วนโดยส่งเสริมการใช้ ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพาราในทุกรูปแบบโดยเริ่มจากหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ ก่อน และขยายไปสู่ตลาดหรืออุตสาหกรรมต่างๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการชี้แจงท่าความเข้าใจกับเกษตรกรและสาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ ข้อเท็จจริงและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงให้หน่วยงานทุกหน่วยทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ของกระทรวงรวมทั้ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรได้ร่วมกันเผยแพร่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นให้รับทราบกันทุกช่องทางการสื่อสารต่อไปด้วย ทั้งนี้ให้เน้นย้ำว่า มาตรการและวิธีการดังกล่าวข้างต้น เป็นการด่าเนินการในระยะเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนของเกษตรกรเท่านั้น

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว