กปภ. ยืนยัน! คุณภาพน้ำประปาทั้ง 3 สาขา ใน จ.พิจิตร ยังได้มาตรฐานเหมือนเดิม

02 พ.ย. 2561 | 07:44 น.
การประปาส่วนภูมิภาค 3 สาขา ใน จ.พิจิตร ยืนยัน! ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีแหล่งน้ำบริเวณ ต.ย่านยาว อ.เมือง จ.พิจิตร เน่าเสีย จนเป็นเหตุให้ปลาในกระชังแม่น้ำน่านตายเป็นจำนวนมาก โดย กปภ. เข้าตรวจสอบ พบว่า ตรงจุดเกิดเหตุไม่ใช่แหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาของ กปภ. ทั้ง 3 สาขา ใน จ.พิจิตร

นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่มีปลาในกระชังแม่น้ำน่านลอยตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ใช้น้ำใน จ.พิจิตร อาจมีความกังวลใจในคุณภาพน้ำประปาที่ใช้อุปโภคบริโภคอยู่ว่าจะมีการปนเปื้อนไปด้วยหรือไม่นั้น กปภ. ทั้ง 3 สาขา ใน จ.พิจิตร ได้แก่ กปภ.สาขาพิจิตร, กปภ.สาขาบางมูลนาก และ กปภ.สาขาตะพานหิน ได้ติดตามเฝ้าสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า บริเวณจุดเกิดเหตุนั้นไม่ใช่แหล่งน้ำดิบที่นำมาใช้ผลิตน้ำประปาส่งจ่ายให้กับผู้ใช้น้ำ ทั้งนี้ ในกระบวนการผลิตน้ำประปาของ กปภ. จะมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำตั้งแต่น้ำดิบที่นำมาใช้ผลิตน้ำประปาตลอดจนระหว่างกระบวนการผลิตก่อนส่งจ่ายไปยังผู้ใช้น้ำ นอกจากนี้ กปภ. ได้ส่งตัวอย่างน้ำประปาให้นักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางในการตรวจสอบน้ำประปาเพิ่มเติมใน Lab Cluster ของ กปภ. อีกด้วย เพื่อให้ผู้ใช้น้ำมั่นใจได้ถึงน้ำประปาของ กปภ. ที่มีความปลอดภัยสามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ตามปกติอย่างแน่นอน

 

[caption id="attachment_341388" align="aligncenter" width="375"] นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย[/caption]

อย่างไรก็ตาม กปภ. ยังคงเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ตลอดเวลา โดยประชาชนสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ กปภ.สาขา ในพื้นที่ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ PWA Contact Center โทร. 1662


วัดค่าน้ำ วัดค่านำ้2

อนึ่งก่อนหน้านี้ มีข่าวจากความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำน่าน ที่ ต.ย่านยาว อ.เมือง จ.พิจิตร ออกมาระบุถึงความเดือดร้อนว่า ปลาทับทิมที่เลี้ยงไว้เกิดการตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยตายวันละหลายร้อยตัว เกษตรกรตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงนี้นาข้าวของชาวนาเริ่มเข้าฤดูเก็บเกี่ยว จึงต้องมีการระบายน้ำทิ้งจากท้องนาลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง อาจมีสารเคมีปนเปื้อนมา หรือเกี่ยวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้ปลาในกระชักมีอาการช็อก

e-book-1-503x62