สถาบันการเงิน ร่วมกับ โอเปอเรเตอร์ เพิ่มระบบตรวจสอบยืนยันตัวตนบริการพร้อมเพย์

01 พ.ย. 2561 | 09:17 น.
 สถาบันการเงินร่วมกับ โอเปอเรเตอร์ 6 ราย เพิ่มระบบตรวจสอบยืนยันความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่บริการพร้อมเพย์ คาดเริ่มใช้ 1 ม.ค. 62

[caption id="attachment_340864" align="aligncenter" width="430"] นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร[/caption]

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งนายยศ กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักงานระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย และนายสุพจน์ เธียรวุฒิเลขาธิการ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ร่วมกันแถลงความก้าวหน้าในการบรรลุข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงิน 20 แห่งร่วมกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 6 ราย ในการตรวจสอบยืนยันความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการ upgrade การใช้รหัส USSD *179 โดยเพิ่มการใช้รหัสอ้างอิงหรือ reference code และการเชื่อมต่อตรงระหว่างศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลของสถาบันการเงินกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในขั้นตอนการลงทะเบียนพร้อมเพย์ ซึ่งทำให้การลงทะเบียนพร้อมเพย์มีความปลอดภัยและสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สามารถสมัครผ่านช่องทางอื่น เช่น ตู้เอทีเอ็ม ได้ พร้อมเพย์_181101_0001

ทั้งนี้ ระบบจะสามารถใช้งานได้ในวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป การดำเนินการในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การทำธุรกรรมการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบพร้อมเพย์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตั้งแต่เริ่มให้บริการพร้อมเพย์ที่ ในปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนด้วยเลขหมายโทรศัพท์กว่า 16 ล้านเลขหมาย และมีมูลค่าธุรกรรมรวมสูงกว่า 3.9 ล้านล้านบาท และมียอดการโอนต่อครั้งประมาณ 5,100 บาท
ผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 2 อุตสาหกรรมเห็นพ้องกันว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมแรกที่ภาคเอกชนทำการเชื่อมต่อ/แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างเป็นรูปธรรมและประชาชนสามารถได้รับประโยชน์ในวงกว้าง เป็นผลมาจากการร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงจัง และจะพัฒนาและขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ เพื่อสนับสนุนทั้งบริการทางการเงินและโทรคมนาคมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ที่มีการให้บริการ 5G เกิดขึ้น อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลและประเทศไทย 4.0 ต่อไป ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว