สทนช. ปิดศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราว ติดตามสถานการณ์น้ำ 24 ชั่วโมง

15 ต.ค. 2561 | 11:55 น.
สทนช. กดปุ่มปิด "วอร์รูม" น้ำเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง หลังกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ภาคใต้เป็นฤดูฝนปกติ เตรียมแผนรับมือฤดูแล้ง เผย 30 เขื่อนวิกฤติน้ำน้อยกว่า 30% อีสานนำโด่งสุด 22 เขื่อน ชี้! น้ำมีไม่พอทำการเกษตร กรมชลฯ เจ๋งเตรียมล่วงหน้าจ้างงานเกษตรกรเพิ่มรายได้แทน




169551

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในวันพรุ่งนี้ (16 ต.ค. 61) จะปิดศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราว เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ 24 ชั่วโมง เนื่องจากสถานการณ์ทางภาคใต้จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นฤดูฝนปกติ ยังไม่มีส่อสัญญาณอะไรที่รุนแรง แล้วกลไกที่ สทนช. เริ่มจะเข้าที่แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องดึงคนทั้ง 11 หน่วยงาน มานั่งประชุมหารือกันทุกวัน


S__11976716

ปัจจุบัน มีศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกองหน้าที่หลักทำอยู่แล้ว แต่หากวันหนึ่งในวันข้างหน้ามีสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงรุนแรงเทียบเท่า จ.เพชรบุรี ค่อยหยิบขึ้นมาตั้งศูนย์ใหม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่รุนแรงมาก ก็ใช้กลไกปกติได้ แต่ถ้าเรื่องใหญ่กว่านี้ จะต้องยกระดับไปที่ศูนย์บัญชาการ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นแนวทางที่สอดคล้องตามร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... ที่กำลังจะเกิดขึ้น นับว่าเป็นรูปแบบการจำลองงานและเป็นการทดลองในช่วงปฏิบัติที่ผ่านมา


40460085_317546032141857_1127421240093442048_n

"ถือว่าเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่ร่วมกัน ก็สบายใจ ต่างเห็นพ้องเป็นมติร่วม เหมือนกับว่า ไม่จำเป็นต้องมาเป็นจำเลยฝ่ายเดียว จะต่างจากในอดีต คือ ให้อำนาจตัดสินใจ แต่ไม่ใช่ให้อำนาจแบบเต็ม 100 แต่จำเป็นต้องตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า บางครั้งอาจจะเกิดผลกระทบ แล้วเกิดผลเสียบางเรื่องก็ได้ แต่ถ้าเป็นมติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน จะไม่ได้มองเพียงแค่ด้านเดียว ส่วนประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย พิจารณาจากเสียงตอบรับค่อนข้างสบายใจขึ้น มั่นใจข่าวสารข้อมูลมากขึ้น เชื่อมั่นกับข้อมูลที่เป็นทิศทางเดียวกันมากขึ้นรู้ว่าจะต้องหาข้อมูลจากจุดไหนได้มากกว่าเดิม"


090861-1927-9-335x503-8-335x503

นายสำเริง กล่าวว่า ตอนที่รับตำแหน่ง ยอมรับว่า แรก ๆ ก็กังวล เพราะว่าการที่อยู่ดี ๆ แต่ละหน่วยงานไม่เคยถูกเชิญแบบนี้ จะยอมรับในการทำงานร่วมกันแค่ไหน แต่ก็เข้าใจว่ากลไกของข้าราชการ เข้าใจว่ากฎเกณฑ์ในเชิงนโยบายเป็นอย่างไร ทำงานก็ประสานข้อมูล ใช้เวลาไม่นาน ไม่กี่วันก็เข้าใจว่า ทิศทางเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่ติดขัดบ้าง ตรงที่หน่วยงานของแต่ละหน่วยก็มีภารกิจของแต่ละหน่วยงานอยู่ การส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมกับ สทนช. บางคนก็เป็นคนละคนบ้าง ก็ทำให้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างบางคนคุยวิเคราะห์ปัญหากับเขาด้านเทคนิคแบบนี้ พอสลับคนมา บางส่วนอาจจะเชื่อมโยงข้อมูลไม่ครบถ้วน ต้องอาศัยสอบถาม แล้วเวลานี้ข้อมูลสื่อสารง่ายกว่าเดิม ทั้งโทรศัพท์และแอพพลิเคชันกลุ่มไลน์ในการแก้ปัญหาช่วงวิกฤติผ่านพ้นไปด้วยดี แต่อีกด้านหนึ่งธรรมชาติปีนี้ไม่ได้โหดร้ายเกินไป สทนช. ภายใต้การทำงานของ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ทำงานตั้งแต่เดือน พ.ค. ก่อนที่กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2561 แล้วจากนี้ไปจะต้องมาวางแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง


ดร.ทวีศักดิ์-ธนเดโชพล-รองอธิบดีกรมชลประทาน-1-503x320

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เผยระหว่างติดตามสถานการณ์ภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 8-9 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา ว่า ในขณะนี้ทางกรมชลประทานมีการเตรียมโครงการต่าง ๆ ในการจ้างงานเกษตรกรที่จะไม่มีรายได้ เนื่องจากพายุที่เข้า 2 ลูกหลัง ได้แก่ พายุบารีจัตและพายุมังคุด ไม่ได้ส่งผลเติมน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้น จึงทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดกลางของภาคอีสานมีความจุน้อยกว่า 30% ถึงขั้นวิกฤติหนัก  (ข้อมูล ณ วันที่ 14 ต.ค. 61) 22 เขื่อน เป็นลำดับแรกนำโด่ง จึงทำให้น้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอที่จะทำการเกษตร จะมีใช้แค่อุปโภคบริโภคเท่านั้น


S__11984899

595959859