"เขื่อนอุบลรัตน์" ประกาศหยุดส่งน้ำฤดูแล้ง! สทนช. จับตา "5 จังหวัดอีสาน" วิกฤติ

08 ต.ค. 2561 | 14:33 น.
สทนช. เตรียมชง "ฉัตรชัย" วันพรุ่งนี้ (9 พ.ค. 2561) 8 เขื่อนวิกฤติ ระดับน้ำต่ำ 30% "เขื่อนอุบลรัตน์" ต้านไม่ไหว กรมชลประทานแจ้งประกาศปิดประตูส่งน้ำ 25 ต.ค. สั่งเข้มห้ามทำนาปรัง หวังประหยัดน้ำ "สมเกียรติ" สั่งโรงงานอุตสาหกรรมเสนอแผนการใช้น้ำด่วน



S__308682770

ผู้สื่อข่าว "ฐานเศรษฐกิจ" ได้ติดตามคณะของ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านโนนฆ้อง ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ซึ่งจากการรับฟังการบรรยายสรุปแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2561/2562 นั้น นายสมเกียรติ เปิดเผยว่า จากแนวโน้มการคาดการณ์ฝนที่ลดลง ทางศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้แจ้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงข้อสั่งการและข้อห่วงใยของรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ที่มอบหมายให้ สทนช. ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด แล้วจะลงพื้นเพื่อดูการปฎิบัติงานของหน่วยต่าง ๆ ในพื้นที่ วันที่ 9 ต.ค. นี้ เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพสูงสุด

"จากการติดตามพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มี 20 จังหวัด มีอ่างขนาดใหญ่มีอยู่ 12 แห่ง ความจุรวม 8,300 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างน้ำขนาดกลาง 265 แห่ง จะมีความจุรวมประมาณ 2 พันล้านลูกบากศ์เมตร ความจุรวมอยู่ประมาณ 1.2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในช่วงตอนต้นฤดูกาลฝนค่อนข้างดี แต่พอหลังจากเดือน ส.ค. ถึง ต.ค. ฝนทิ้งช่วงส่งผลกระทบอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ความจุน้อยกว่า 30% อยู่ในระดับที่วิกฤต จะใช้แค่อุปโภคบริโภคเท่านั้น มีทั้งหมด 8 อ่าง ได้แก่ จ.ขอนแก่น มี 3 อ่าง ได้แก่ 1.อ่างเก็บน้ำห้วยเตย 2.อ่างเก็บน้ำห้วยล้อมไผ่ และอ่างเก็บน้ำกกม่วง ส่วน จ.ร้อยเอ็ด มี 4 อ่าง ได้แก่ 1.อ่างเก็บน้ำห้วยแล้ง 2.อ่างเก็บน้ำห้วยจานใต้ 3.อ่างเก็บน้ำหนองผือ และอ่างเก็บน้ำหนองแวง และมี จ.มหาสารคาม จำนวน 1 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยคะคาง"


95684

นอกจากนี้ ยังมี 16 อ่าง ที่สถานการณ์ระดับน้ำเฝ้าระวัง กล่าวคือ ความจุระหว่าง 31-50% ได้แก่ จ.ชัยภูมิ 3 แห่ง ได้แก่ 1.อ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย อ่างเก็บน้ำห้วยทองหลาง และ 3.อ่างเก็บน้ำบาซ่าน จ.มหาสารคาม จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ 1.อ่างเก็บน้ำหนองขอนสัก 2.อ่างเก็บน้ำร่องหัวช้าง 3.อ่างเก็บน้ำห้วยประดู่ 4.อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ 5.อ่างเก็บน้ำเอกสัตย์สุนทร 6.อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ 7.อ่างเก็บน้ำหนองไฮ และ 8.อ่างเก็บน้ำหนองคูขาด จ.กาฬสินธุ์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยผึ้ง จ.ขอนแก่น 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยยางและอ่างเก็บน้ำโสกรวก และ จ.ร้อยเอ็ด 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยกุดแคนและอ่างเก็บน้ำหนองท่าจอก

จากการวิเคราะห์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสม โดยใช้แนวโน้มความชันของกราฟและสภาพอากาศในช่วงปลายฤดูฝน สถานการณ์ส่วนอุบลรัตน์และเขื่อนจุฬาภรณ์ มีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2558 ปริมาณน้ำเมื่อถึงเดือน ธ.ค. 2561 อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จะค่อนข้างเป็นห่วง เพราะจะต้องสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ต้องเผื่อฝนมาล่าช้าอีก คาดการณ์ว่าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์


090861-1927-9-335x503-8-335x503

ดังนั้น เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในแผนการบริหารจัดการน้ำและการปฏิบัติการฝนหลวง ที่จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักก่อนสิ้นสุดฤดูฝน ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ในกลางเดือน ต.ค. นี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความต้องการใช้น้ำในการทำการเพาะปลูกจำนวนมาก ทาง สทนช. จึงเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนปรับลดการระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำทุกขนาด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำต้นทุนน้อย เพื่อเร่งกักเก็บน้ำให้มีปริมาณน้ำใช้พอเพียงตลอดฤดูแล้งนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการหารือถึงแผนปฏิบัติการเพื่อลดผลกระทบในพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แล้งล่วงหน้าไว้แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรจะต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องส่งแผนการใช้น้ำด้วย


S__11329546

สำหรับในช่วงฤดูแล้งของปี 2561 ต่อเนื่อง 2562 สทนช. ได้ประสานบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในส่วนของกรมชลประทานได้เร่งประสานหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งหน่วยงานด้านประมง ปศุสัตว์ เกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการน้ำในสภาวะภัยแล้งร่วมกัน ในส่วนของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ สทนช. ได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งรับผิดชอบเขื่อนใหญ่ ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะช่วงหลังจาก 15 ต.ค. ไปแล้ว ปริมาณฝนจะลดน้อยลง จึงควรพิจารณาเก็บน้ำไว้ในเขื่อนให้มากที่สุด โดยลดการระบายน้ำลง ทั้งนี้ การดำเนินงานของทุกส่วนงานจะบูรณาการความร่วมมือบนพื้นฐานข้อมูลชุดเดียวกันเป็นหลัก


95702

ด้าน นายทรงวุฒิ กิจวรวุฒิ ผู้อำนวยการ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย ประกาศแจ้งกำหนดการหยุดส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2561 และงดการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2561/62 เนื่องจากปริมาณฝนตกเหนือเขื่อนอุบลรัตน้อยกว่าเกณฑ์ปกติค่อนข้างมาก ทำให้สถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ปัจจุบันมีปริมาณน้ำปริมาณ 844.94 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 34.75% ของความจุที่ระดับเก็บกัก โดยเป็นน้ำใช้การได้ 263.27% ล้านลูกบาศก์เมตร ณ วันที่ 3 ต.ค. 2561


S__11329543

ปัจจุบัน ได้เข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝนที่ปริมาณฝนจะลดลงตามลำดับ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวายจะดำเนินการส่งน้ำให้ทุกพื้นที่พร้อมกัน เพื่อเสริมปริมาณน้ำฝนในช่วงข้าวตั้งท้องออกรวง ตั้งแต่วันที่ 8-21 ต.ค. 2561 แล้วจะเริ่มลดปริมาณน้ำที่ประตูระบายน้ำปากคลองสายใหญ่ทั้ง 2 ฝั่ง และปิดบานสนิทเพื่อหยุดส่งน้ำเพื่อการเกษตรฤดูฝนปี 2561 ในวันที่ 25 ต.ค. นี้

สำหรับการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ทางโครงการขอแจ้งงดการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะปริมาณน้ำต้นทุนมีน้อยไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชและการประมง มีความจำเป็นต้องใช้น้ำในส่วนที่เหลือเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ให้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง จึงขอประกาศแจ้งเดือนให้งดการเตรียมเมล็ดพันธุ์ ลูกปลา หรือ ลูกกุ้ง ที่จะนำมาใช้ในฤดูแล้ง เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากขาดแคลนน้ำ และขอให้เกษตกรและผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนได้โปรดใช้น้ำอย่างประหยัด สำรองน้ำไว้ในสระเก็บน้ำ หนองน้ำให้มากที่สุด เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง


e-book-1-503x62-7