ทางออกนอกตำรา : ไม้ตายเจ้าสัวนํ้าเมา ‘ไทยเบฟ’ เทกโอเวอร์ขึ้นเบอร์ 1 อาเซียน

07 ต.ค. 2561 | 10:35 น.
ไม้ตาย TB-3 4 ตุลาคม 2561 มีข่าวใหญ่ในทางเศรษฐกิจเรื่องหนึ่งที่ ทีวี หนังสือพิมพ์ สื่อกระแสหลักแทบทุกแห่งนำเสนอข่าวเรื่องยุทธศาสตร์การทำธุรกิจของ “ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)” ยักษ์ใหญ่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในไทย กิจการในกลุ่มของ “เสี่ยเล้ง-เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศ

ผู้นำเสนอความคืบหน้าในการเดินหน้าสู่วิสัยทัศน์ 2020 คือ ฐาปนสิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทายาทคนโตของเจ้าสัวเจริญ

“ไทยเบฟ” ฮุบเครื่องดื่มอาเซียน คืนสังเวียนตลาดเบียร์เมียนมา-ลุยตลาดเหล้าขาวเกาหลี-กรุงเทพธุรกิจ พาดหัวข่าวหน้า 1

‘ไทยเบฟ’ มั่นใจวิชัน 2020 “ที่1” อาเซียน-มติชน พาดหัวข่าวหน้า 1

‘ฐาปน’ โดดคุมธุรกิจเบียร์-เดลินิวส์ พาดหัวตัวโต เจริญยึดนํ้าเมาอาเซียน-โพสต์ทูเดย์ นำเสนอ หน้า 1 แบบไม่อ้อมค้อม “ไทยเบฟ” ทุ่มแสนล.ลุยขยายอาเซียน “ฐาปน”คุมกลุ่มเบียร์โดยตรง-ผู้จัดการรายวัน 360 ํ

ไทยเบฟ ปรับทัพ ‘ฐาปน’ คุมเบียร์ ชูแชมป์อาเซียน-ไทยโพสต์ นำเสนอ

[caption id="attachment_329517" align="aligncenter" width="335"] ฐาปน สิริวัฒนภักดี ฐาปน สิริวัฒนภักดี[/caption]

ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจเบียร์ เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนธุรกิจของไทยเบฟนับจากนี้ จะให้ความสำคัญกับการนำธุรกิจที่เกิดจากการซื้อและควบรวมกิจการ(Mergers and Acquisitions:M&A) ไปก่อนหน้านี้ มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำรายได้และสร้างกระแสเงินสดให้กลับมายังบริษัท หลังจากที่ผ่านมาได้ใช้เงินจำนวนหลักแสนล้านบาทซื้อกิจการสุราทั้งในเมียนมา และธุรกิจเบียร์ในเวียดนาม จนส่งผลให้มีภาระหนี้สิน ณ เดือนเมษายน อยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท
090861-1927-9-335x503-8-335x503 เพิ่มเพื่อน

ขณะที่ยอดขายไทยเบฟ งวด 9 เดือนนี้มีมูลค่า 173,916 ล้านบาท ยอดขายทั้งหมดนั้นผมจำแนกให้เห็นดังนี้ เป็นยอดขายกลุ่มแอลกอฮอล์ ที่เจ้าสัวบอกว่าเป็นสินค้ากลุ่มสปิริต หรือเหล้าขาว 47.4% ผมนำมาบวก ลบ คูณ หารแล้วก็ตกประมาณ 82,436 ล้านบาท

ยอดขายของเบียร์ 40.1% คิดเป็นเงินรายได้ตกประมาณ 69,740 ล้านบาท

เป็นยอดขายเครื่องดื่มนอน แอลกอฮอล์ 7.2% จะมีรายได้ตกประมาณ 12,521 ล้านบาท

ยอดขายจากหมวดอาหารที่ซื้อมามากมายทั้งโออิชิ เฟรเซอร์ เคเอฟซี ฯลฯ 5.4% ยอดขายตกประมาณ 9,391 ล้านบาท ฯลฯ
TV-Big “เสี่ยหนุ่ม-ฐาปน” บอกว่ารายได้ทั้งหมดนั้นเป็นรายได้จากในประเทศไทย 60% เลขคณิตคิดเร็วก็ตกประมาณ 104,349 ล้านบาท

เป็นรายได้จากกลุ่มประเทศอาเซียน 36% หรือ 62,609 ล้านบาท

ที่เหลือเป็นรายได้จากสินค้าในกลุ่มของไทยเบฟจากที่อื่นทั่วโลก 4% จะมีแค่ประมาณ 6,956 ล้านบาท

แปลความว่า รายได้ของยักษ์ใหญ่ไทยเบฟ จะกินพื้นที่ในเมืองไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการที่ “เสี่ยหนุ่ม-ฐาปน” ประกาศวิสัยทัศน์ว่าจะก้าวเป็นเบอร์ 1 ในอาเซียน ในปี 2020 จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับคณะกรรมการของไทยเบฟ 2-3 คน ได้รับข้อมูลเป้าหมายที่เสี่ยหนุ่มตั้งไว้ให้ผู้บริหารเดินคือ 3 แสนล้านบาท ในปี 2020

นั่นหมายถึงว่า ยอดขายที่ทำได้ในขณะนี้เกินครึ่งของเป้าหมายไปแล้ว แต่การที่จะเดินไปให้ถึง 300,000 ล้านบาท จากที่ทำได้ 173,916 ล้านบาทนั้นไม่ใช่ง่าย...แล้วทายาทเสี่ยเจริญจะทำอย่างไร...
TB-6 ไม่ว่ากลุ่มอื่นจะมีความเชี่ยวชาญทางไหน แต่สำหรับไทยเบฟนั้นเข้าขั้นเทพในเรื่อง “เหล้าขาว-เหล้าสี-เบียร์”

ไทยเบฟประสบความสำเร็จในการคว้าเบียร์ซาเบโกในเวียดนามมาแล้ว ตอนนี้เขากำลังเจาะลึกลงไปในการทำตลาดในเมียนมา เบื้องต้นใช้เงินกว่า 700 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตเบียร์ ในแบรนด์ที่เบียร์ช้าง, แทปเปอร์,เฟเดอร์บรอย ไวส์เบียร์ เริ่มวางจำหน่ายในช่วงเดือนตุลาคม 2562 กำลังการผลิต 50-120 ล้านลิตร

สนามเครื่องดื่มรายอื่นอาจทำไม่ได้ แต่ไทยเบฟเคยทำสำเร็จมาจาก ช้าง 3-4 ขวดร้อย และเทคนิคการขายเหล้าขาวพ่วงเบียร์จนคู่แข่งซวนเซมาแล้ว

รอบนี้จะขยายออกไปในเมียนมาที่ตลาดมีโอการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า แม้ขณะนี้จะมีกำลังการบริโภคอยู่คือ 7.5 ลิตรต่อคนต่อปี แต่จากการสำรวจการตลาดเสียหนุ่ม-ฐาปนบอกว่า มีโอกาสเติบโตอีกมาก เมื่อเทียบจากไทยที่มีการบริโภค 26 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนเวียดนามประชากรดื่มเบียร์กันมากกว่า 44 ลิตร ต่อคนต่อปี

ตอนนี้ ไทยเบฟเป็นผู้นำตลาดเบียร์ในอาเซียนแล้วเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ เราครองส่วนแบ่งตลาดเบียร์ในอาเซียนได้ 24% หลังจากควบรวมกิจการกับซาเบโก หรือไซ่ง่อนเบียร์ที่ทุ่มทุน 1.5 แสนล้านบาทไปซื้อกิจการมา จากเดิมที่ไทยเบฟโดยเบียร์ช้าง มีส่วนแบ่งตลาดในอาเซียนแค่ 8% ส่วนในไทยตอนนี้เบียร์ช้างกินส่วนแบ่งการตลาดคนไทยไปแล้ว 40% จาก 3 ปีที่แล้วแค่ 25%
TB-1 “ยุทธศาสตร์หลักต่อไปนี้จะมุ่งเน้นตลาดไทย เมียนมา กับเวียดนาม อย่างเต็มที่” นี่คือธงที่ “ไทยเบฟและสิริวัฒนภักดี” จะเดิน

แน่นอนว่าการซื้อแกรนด์ รอยัล กรุ๊ป ผู้ผลิตวิสกี้ เหล้าขาวรายใหญ่ของเมียนมาเป็นเพียงแค่การเริ่มต้น ผมเชื่อว่าจะมีอีกหลายระลอก ด้วยเทคนิคการโตต่อยอดด้วยการซื้อกิจการ

คุณอาจจะไม่รู้ว่าไทยเบฟมีกลุ่มธุรกิจเหล้า-เบียร์ ที่ทำตลาดในต่างประเทศอยู่มากมาย ภายใต้แบรนด์ โอลด์พลุทนีย์, anCnoc, Balblair, Speyburn, Hankey Bannister, Catto”s, MacArthur”s, Kulov, Coldstream, Caorunn

ยังมีเหล้าแบรนด์จีนอีกหลายยี่ห้อ Yuanjiang, Yu Lin Quan, Longevity, Ningbo Pagoda ซึ่งได้จากการเข้าซื้อกิจการของโรงกลั่นเหล้าในจีน “ยูนนาน อวี้หลิงฉวน ลิเคอร์” เมื่อปี 2553

อาณาจักรเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ “ไทยเบฟบอกว่าเป็นกลุ่มสปิริต” ยังจะคึกคักอีกหลายระลอกจากการซื้อแน่นอน ไม่เชื่อรอดู

ผมจึงรู้สึกตื่นเต้น ยินดี ทุกครั้งที่บรรดาเจ้าสัวเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งซีพี-เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งไทยเบฟ-เจ้าสัวในตระกูลจิราธิวัฒน์-เจ้าสัวกฤตย์ รัตนรักษ์-เจ้าสัวอนันต์ อัศวโภคิน-เจ้าสัววิชัย รักศรีอักษร” ฯลฯ ซึ่งเป็น “ไทคูน” ผู้กุมชะตาเศรษฐกิจของประเทศไทย ออกมาประกาศยุทธศาสตร์ หรือออกมาชี้แจงในเรื่องแผนงานของกลุ่มธุรกิจ

เรื่องราวการกำหนดกลยุทธ์ของบรรดาเจ้าสัวที่มีบริษัท มีกิจการต่างๆ มากมายครอบคลุมไปในทุกธุรกิจนั้นมิเพียงมีผลในเรื่องการกินดีอยู่ดี ความแข็งแกร่งทางธุรกิจองค์กรเท่านั้น หากแต่เป็นการสำแดงศักยภาพของทุนใหญ่ในประเทศไทยออกไปในสายตาชาวโลก ว่า ไทยมิใช่ไก่กา....แต่คือราชาในตลาดโลก...

|คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
|โดย : บากบั่น บุญเลิศ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3407 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 7-10 ต.ค.2561
595959859