จับตา กฎหมาย “เกษตรพันธสัญญา” จะสร้างความเป็นธรรมเกษตรกรได้จริงหรือไม่

01 ต.ค. 2561 | 14:54 น.
เกษตรฯ ชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติงานตามโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ปี 61 พร้อมดึงความเชื่อมั่นเกษตรกร 2 ล้านไร่  "กฤษฎา" ผูกมัดบิ๊กเอกชนทำ “เกษตรพันธสัญญา” หวังสร้างความเป็นธรรม ไม่โดนเอาเปรียบ

1

 

นายกฤษฎา บุญราช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงได้ริเริ่มปฏิรูปการบริหารจัดการภาคการเกษตรของไทย ด้วยการวางแผนการผลิตทางการเกษตรของประเทศ (Agriculture Production Plan) เพื่อสนองนโยบายการตลาดนำการผลิตของรัฐบาล โดยเริ่มจากการจัดทำโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูการทำนา 2561 จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไปนั้น จึงได้สั่งการด่วนที่สุดถึงปลัดเกษตรฯ และผู้บริหาร ถึงการชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติงานตามโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อให้เกษตรกรทราบข้อมูลเกี่ยวกับราคาและเงื่อนไขการรับซื้อผลผลิตรวมทั้งปริมาณความต้องการผลผลิตของตลาดก่อนตัดสินใจ ลงมือทำการเพาะปลูก

โดยรัฐต้องจัดให้มีมาตรการลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพของเกษตรกรด้วย เช่น การหาตลาดหรือผู้รับซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้าด้วยราคาที่เป็นธรรม การประกันรายได้ขั้นต่ำของเกษตรกรหรือการรับรองราคารับซื้อผลผลิตของภาคเอกชน, การทำประกันภัยพืชผล และการสนับสนุนความรู้และเงินทุนหรือปัจจัยในการผลิตแก่เกษตรกร

online-รัฐบาลหนุน-696x385

“มาตรการจูงใจเกษตรกร 4 มาตรการ เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ 1. รัฐสนับสนุนสินเชื่อเป็นค่าปัจจัยการผลิตและการเตรียมดินผ่าน ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี ของวงเงินไร่ละ 2,000 บาท (ไม่เกิน 15 ไร่ต่อราย) 2.รัฐประสานเอกชนให้มารับซื้อข้าวโพดอาหารสัตว์ตามคุณภาพในราคาไม่น้อยกว่าราคาขั้นต่ำที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด 3.- รัฐสนับสนุนเบี้ยประกันภัย 65 บาทต่อไร่ เมื่อได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติจะได้รับชดเชยไร่ละ 1,500 บาท และ 4.รัฐกำหนดนโยบายให้สินเชื่อสถาบันเกษตรกร เพื่อเสริมสภาพคล่องในการรวบรวมและรับซื้อผลผลิตข้าวโพดผ่าน ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี

e334fbe32d727b29b5cd61e3774a17eeba7ab5f8cfb99310f4931f34496e77e2

นายกฤษฎา กล่าวว่า การขับเคลื่อนระดับอำเภอพื้นที่ กำหนดให้มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการระดับอำเภอประกอบด้วย นายอำเภอเป็นประธาน พัฒนาการอำเภอ ผู้แทนหน่วยงานเกษตรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ดำเนินการระดับอำเภอทุกหน่วย เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ประจำพื้นที่ ประธาน ศพก.ประจำพื้นที่ เกษตรอำเภอทำหน้าที่เลขานุการคณะทำงานอำเภอ และระดับจังหวัด จะกำหนดให้มีคณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินงานโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาในระดับจังหวัด ให้ใช้องค์ประกอบของ อ.พ.ก. เป็นคณะกรรมการ แต่มอบหมายให้เกษตรจังหวัดเป็นผู้นำเสนอข้อมูลรายละเอียด รายงานความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะให้ ที่ประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด พิจารณาในฐานะผู้จัดการโครงการระดับจังหวัด

ส่วนในระดับกระทรวงได้กำหนดให้มีคณะกรรมการโครงการฯ ประกอบด้วยปลัดเกษตร และรอง ปลัดเกษตรฯ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้ช่วยปลัดเกษตรฯ ผู้ตรวจกระทรวง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมชลประทานกรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก) . สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)  และกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเลขานุการ

699575cceba5c441fb5f5c2fc6bc257622f71af65e4a89f7dec8e2b2c00b144c

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานนั้นขอให้คณะทำงานระดับอำเภอออกประชุมชี้แจงทำความเข้าใจและเชิญชวนเกษตรกร/ชาวนาในพื้นที่ให้ปรับเปลี่ยนจากการทำนาปรังมาปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ตามความเหมาะสมของคุณภาพดิน(Zoning by Agri-Map) ทั้งในเขต/นอกเขตชลประทาน โดยให้เกษตรอำเภอนำเรื่องการเชิญชวนปลูกพืชอื่นๆ แทนการทำนาปรัง เข้าประชุมชี้แจงที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ภายในเดือนตุลาคม 2561

นายกฤษฎา  กล่าวว่า มอบหมายให้ชี้แจงเกษตรกรในพื้นที่ทราบด้วยว่าเกษตรกร/ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการจะได้สิทธิในการกู้เงินจาก ธ.ก.ส. มาเป็นเงินทุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในอัตราร้อยละ 0.01 มีสิทธิกู้ไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ และรัฐบาลทำประกันภัยพืชผลเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติเพิ่มเติมจากเงินชดเชย สาธารณภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯอีกไร่ 1,500 บาท โดยรัฐบาลออกค่าเบี้ยประกันให้ไร่ละ 65 บาท พร้อมให้คณะทำงานอำเภอประสานเกษตรจังหวัด ให้จัดเจ้าหน้าที่และตัวแทนภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการส่งคณะวิทยากรจัดการอบรมให้ความรู้ในการปลูกข้าวโพด การลดต้นทุนและการรักษาแปลงให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

d5e9dac3e695fcd7b18c73d6666954f7c0422fe1b022bbfc75723bde2ffde706

“ให้สหกรณ์จังหวัดประสานคณะทำงานอำเภอ เพื่อเชิญชวนและรวมกลุ่มสหกรณ์การเกษตรที่อยู่ในพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ โดยให้สหกรณ์การเกษตรหรือวิสาหกิจชุมชนชนทำหน้าที่รวบรวมเกษตรกร รายย่อยที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการในลักษณะเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งสหกรณ์การเกษตรจะได้รับสิทธิเงินกู้จาก ธ.ก.ส. ในอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 0.01 ในนามกลุ่มจาก  ธ.ก.ส. ด้วย รวมถึงการส่งเสริมเสริมให้สหกรณ์ทำหน้าที่การบริหารจัดการผลผลิต โดยการจัดหาเมล็ดพันธุ์ ให้แก่สมาชิก การบริหารจัดการเครื่องมือให้ประสานเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูก การดูแลแปลงและการจัดหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิต ตลอดจนการรับซื้อผลผลิตจากสมาชิก และเกษตรกรในพื้นที่ โดยจะได้รับสิทธิกู้เงิน จาก ธ.ก.ส. เพื่อการรวบรวมในอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1”

เมื่อเกษตรกรปลูกแล้ว ได้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวก็ให้คณะทำงานระดับจังหวัด อำนวยการในการประสานเอกชนในการรับซื้อผลผลิตโดยเฉพาะเอกชนรายย่อยในพื้นที่ การกำหนดจุดรับซื้อในระดับพื้นที่ การกำหนดราคาที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกร การบริหารการขับเคลื่อนอื่นโครงการและการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ

“ประสานงานกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนเพื่อเข้าไปทำสัญญารับซื้อข้าวโพดล่วงหน้ากับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรอย่างเป็นธรรม ตามกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาเกษตรพันธสัญญาอย่างเคร่งครัดด้วย ทั้งนี้ ขอให้ระบุข้อตกลงในรายละเอียดการทำสัญญารับซื้อให้ชัดเจนในเรื่องต่างๆ ดังนี้  ราคารับซื้อ จุดรับซื้อ  จำนวนและคุณภาพข้าวโพดที่จะรับซื้อรวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ฯลฯ”

S__6922311

โดยให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นภาค/กลุ่มจังหวัด ให้เอกชนแต่ละรายเข้าไปทำสัญญารับซื้อ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า กระทรวงไม่ได้เอกชนรายใดรายหนึ่งมาผูกขาดหรือเอาเปรียบเกษตรกรแต่อย่างใด และประการสำคัญหากภายในเดือนตุลาคม 2561 พื้นที่ใดยังไม่มีภาคเอกชนเข้าไปทำสัญญารับซื้อข้าวโพดตามหลักการที่ได้กำหนดไว้แล้ว ให้ยกเลิกโครงการในพื้นที่นั้นๆ เพราะกระทรวงเกษตรฯ ไม่มีนโยบายให้เกษตรกรทำการเกษตรหรือประกอบอาชีพแบบสุ่มเสี่ยงอีกต่อไป ทั้งนี้ให้ ปลัดเกษตร มอบหมาย ผู้ตรวจกระทรวง และ ผู้ตรวจกรมที่เกี่ยวข้องลงไปทำหน้าที่กำกับและติดตามการปฎิบัติงานตามโครงการของหน่วยงานในพื้นที่ให้ใกล้ชิดรวมทั้งให้ตั้งกองอำนวยการเฉพาะกิจ ขึ้นที่สำนักงานปลัดเกษตรเพื่อติดตามเร่งรัดโครงการด้วย

090861-1927-9-335x503-8-335x503