กางแผนป้องกัน 55 จังหวัดรับมือฝนตกหนัก

09 ก.ย. 2561 | 06:00 น.
กรมอุตุฯเตือนฝนตกต่อเนื่อง เฝ้าระวังศูนย์เฉพาะกิจฯ เฝ้าระวัง 55 จังหวัดเสี่ยงภัยฝนตกหนักในพื้นที่มากกว่าไหลเข้าเขื่อน เร่งแผนพร่องน้ำ 6 เขื่อน

นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวง มหาดไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ว่าวันที่ 9-10 กันยายน 2561 ว่าประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งและบางพื้นที่มีฝนตกต่อเนื่อง สถานการณ์แม่น้ำโขงหลายพื้นที่ระดับน้ำยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 10 จ. (หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี เพชรบุรี) 41 อำเภอ 186 ตำบล 1,342 ตำบล หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 32,941 ครัวเรือน 92,769 คน

[caption id="attachment_314793" align="aligncenter" width="503"] สำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)[/caption]

ด้านนายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ณ วันที่ 9 กันยายน 61 ว่า สถานการณ์ฝนวันนี้มีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักบางแห่งใน 55 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก

ตลอดจน เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู ชัยภูมิ มหาสารคาม อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี

ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากใน ภาคเหนือ จ.สุโขทัย 123 มม. พิษณุโลก 105 มม.น่าน 102 มม. กำแพงเพชร 86 มม. พะเยา 60 มม. เชียงราย 46 มม. ลำปาง 45 มม. แพร่ 43 มม. ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี 56 มม. ตราด 49 มม. นครนายก 48 มม. ภาคตะวันตก จ.ราชบุรี 78 มม.

กาญจนบุรี 55 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.สุรินทร์ 124 มม. บุรีรัมย์ 42 มม. ขอนแก่น 38 มม. ภาคใต้ จ.กระบี่ 41 มม. กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

06-Aug-17-3-12-16-PM-768x432-696x392 ขณะที่สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ 6 เขื่อนขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ยังเร่งพร่องน้ำต่อเนื่อง และติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่เพื่อปรับแผนการระบายน้ำ และเร่งระบายน้ำในพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนที่มีน้ำท่วมขัง

โดยส่วนใหญ่พบว่าปริมาณน้ำไหลเข้าน้อยกว่าระบายออก ดังนี้ 1. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ปริมาณน้ำคิดเป็น 106% ของความจุน้ำไหลเข้าเท่ากับระบายออกที่ 6.16 ล้าน ลบ.ม. 2. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปริมาณน้ำคิดเป็น 102% ของความจุ ปริมาณน้ำไหลเข้า 4.63 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 12.10 ล้าน ลบ.ม. น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 41 ซม. โดยปัจจุบันยังไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง

ยกเว้นพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ ต.กลัดหลวง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 3. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำคิดเป็น 95% ของความจุ น้ำไหลเข้า 47.52 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 57.93 ล้าน ลบ.ม. 4. เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำคิดเป็น 92% ของความจุ น้ำไหลเข้า 32.64 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 23.71 ล้าน ลบ.ม. 5. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำคิดเป็น 86% ของความจุ น้ำไหลเข้า 4.79 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 5.58 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 62 ซม. และ 6. เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ปริมาณน้ำคิดเป็น 88% ของความจุ น้ำไหลเข้า 2.94 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 3.61 ล้าน ลบ.ม.

“จากการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ พบว่า อ่างขนาดใหญ่เฝ้าระวังที่มีความจุเกิน 80% เปรียบเทียบจากเมื่อวานนี้ (8 ก.ย.61) พบว่ายังทรงตัวและมีแนวโน้มลดลง แบ่งเป็น อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน 106% เท่าเดิม เขื่อนแก่งกระจาน 102% ลดลง 2% ขนาดกลาง 16 แห่ง เพิ่มขึ้น 1 แห่ง ในภาคเหนือ ขณะที่อ่างเฝ้าระวัง 80-100% ของความจุ มีขนาดใหญ่ 5 แห่งยังคงทรงตัวเท่าเมื่อวานนี้ ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ 95% เขื่อนศรีนครินทร์ 92% เขื่อนรัชชประภา 85% เขื่อนขุนด่านปราการชล 86% เขื่อนนฤบดินทรจินดา 88% เท่าเดิม โดยขนาดกลาง 66 แห่ง ลดลงจากเมื่อวาน 4 แห่ง โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เร่งแผนระบายน้ำต่อเนื่อง ซึ่ง สทนช.ได้เน้นย้ำให้คำนึงถึงผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำ และปริมาณฝนที่จะตกลงในพื้นที่พิจารณาประกอบในแผนการระบายน้ำด้วย” นายสำเริง กล่าว