ชูแนวคิด O2O สู่เทรนด์ค้าปลีกยุคใหม่

13 ส.ค. 2561 | 09:48 น.
ตัวเลขตลาดรวมของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ในไทยที่ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 2.8 ล้านล้านบาท

แบ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกแบบ B2C 29% หรือคิดเป็นตัวเลขราว 2 แสนล้านบาท มีแนวโน้มเติบโตที่ 30% ต่อปี ถือเป็นตัวเลขที่สะท้อนความนิยมในการช็อปปิ้งออนไลน์ของคนไทยได้เป็นอย่างดี

สวนทางกับธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่แม้จะมีการเติบโตแต่ทว่ายังอยู่ในระดับที่เบาบางไม่น่าพอใจนัก โดยมีตัวเลขการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ราว 3% ต่อปีเท่านั้น จากตัวเลขตลาดรวมที่ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ทิ้งห่างค้าปลีกออนไลน์มากนัก ส่งผลให้ผู้ประกอบการค้าปลีกแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องมีการปรับทัพ เพื่อสู้ศึกในตลาดค้าปลีกยุค Thailand 4 .0 มากขึ้น เพื่อ “ธุรกิจออนไลน์” จะเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างแน่นอน

แนะปรับตัวรับออนไลน์

นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธาน สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาภาพรวมธุรกิจค้าปลีกไทยมีการเติบโตไม่สูงมากนักเฉลี่ยอยู่ที่ 3% ต่อปี โดยในครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีการเติบโตไปแล้ว 2.8% แม้เป็นตัวเลขที่ไม่ดีนัก แต่ทว่าจากนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆของภาครัฐที่กำลังเห็นเป็นรูปเป็นร่างในขณะนี้เชื่อแน่ว่าจะช่วยผลักดันให้ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกเมืองไทยมีทิศทางการเติบโตที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน โดยคาดการณ์ว่าในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าภาพรวมธุรกิจค้าปลีกไทยน่าจะสามารถกลับมาเติบโตได้ที่ 3-5% จากปัจจุบันที่ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกมีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาท แต่ทั้งนี้ธุรกิจค้าปลีกจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากการเข้ามาของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

[caption id="attachment_304738" align="aligncenter" width="503"] วรวุฒิ อุ่นใจ วรวุฒิ อุ่นใจ[/caption]

 

“รีเทลต้องไม่ใช่แค่การขายของเพียงอย่างเดียว หากแต่หมายรวมถึงการเป็น Lifestyle Plaza ที่สร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ที่มาช็อปปิ้ง ซึ่งแน่นอนว่านี่คือจุดแข็งของรีเทลไทยที่ทำให้สามารถแข่งขันได้อยู่ ซึ่งแตกต่างจากรีเทลในต่างประเทศที่มุ่งเน้นขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าหากไม่มีการปรับตัวในอีก 5 ปีข้างหน้าจะได้เห็นช่องทางออนไลน์จะกินส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมแน่นอน เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจออนไลน์มีมูลค่ากว่า 2.8 ล้านล้านบาท และมีการเติบโตสูงถึง 30% ต่อปี”

090861-1927

ขณะที่แนวทางการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจค้าปลีก มองว่าค้าปลีกไม่ว่าจะเป็นช่องทางค้าปลีกแบบดั้งเดิมหรือค้าปลีกออนไลน์จะต้องมีการปรับตัว สู่ความเป็นมัลติแชนเนล (ช่องทางที่หลากหลาย) เพื่อเพิ่มทางเลือกไม่ว่าจะเป็นการขยายออนไลน์ ไปยังออฟไลน์ หรือการขยายออฟไลน์มายังออนไลน์ หรือที่เรียกว่าการตลาดแบบ O2O เพื่อสร้าง Multi Channel ไม่ว่าจะเป็นการเสริมบริการออนไลน์ ดีลิเวอรี เข้ามาเสริมทัพ และเพื่อเป็นการสร้างโอกาสและองค์ความรู้ใหม่ๆให้แก่วงการค้าปลีกไทย

ทางสมาคมจึงได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานชั้นนำจัดงานรีเทลเอ็กซ์ อาเซียน 2018 หรือ RetailEX ASEAN 2018 (RetailEX) งานแสดงสินค้าและการประชุมด้านการค้านานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อผู้ประกอบการค้าปลีกและแบรนด์ต่างๆ ยกระดับความสำเร็จสู่อุตสาหกรรมค้าปลีกในตลาดอาเซียน ภายใต้คอนเซ็ปต์ “การปฏิรูปตลาดการค้าปลีกอาเซียน” ระหว่างวันที่ 19 - 21 กันยายน 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งคาดว่า จะมีผู้เข้าชมงานกว่า 4,000 ราย จากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อี-คอมเมิร์ซและบันเทิง, สุขภาพ, การออกแบบ และการบริการ

“ที่ผ่านมาเราได้เห็นการปรับตัวสู่การทำตลาดแบบ Omni Channel ของผู้ประกอบการในฟากธุรกิจออนไลน์มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Amazon ที่เข้าซื้อกิจการ Book Store หรือแม้กระทั่งอาลีบาบา,JD.com ที่หันมาซื้อกิจการค้าปลีกอื่นๆเข้ามาเสริมทัพมากขึ้น ดังนั้นโจทย์ต่อไปนี้ของค้าปลีกไทยคือ ทำอย่างไรที่จะมีความเป็นมัลติิแชนเนลที่หลากหลาย ด้วยการเข้าไปลงทุนในออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางให้แก่ลูกค้า ขณะเดียวกันช่องทางออนไลน์ก็จะมองค้าปลีกคือส่วนหนึ่งของช่องทางเช่นกัน”

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

ผนึกO2Oสู่Omni Channel

ด้านนายชาคริต ดิเรกวัฒนชัย อุปนายกฝ่ายกิจกรรม และประชาสัมพันธ์สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับการทำตลาดรีเทลยุคนี้ว่า การทำมาร์เก็ตติ้งรีเทลหรือการตลาดในธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่ “Big Data” คือปัจจัยหลักที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจค้าปลีกสามารถประสบความสำเร็จได้ ซึ่งจะต้องมีการเชื่อมข้อมูลทั้งในส่วนของ Online และ offline เข้าด้วยกันหรือที่เรียกว่าการ disrupt หรือการรวมข้อมูลเป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่ากลยุทธ์การตลาดแบบ O2O เพื่อสร้างสูตรสำเร็จของการตลาดค้าปลีกยุคใหม่ mkt 3391-1

“นอกจากเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่แล้ว ในส่วนของนักการตลาดเองจะต้องสามารถยอมรับความเปลี่ยนแปลงให้ได้ ต้องมีความรู้มากกว่าในอดีต สามารถทำได้ทั้งการเงิน การบริหารคน และโลจิสติกส์ ขณะเดียวกันจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์พร้อมที่จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนา นั้นคือประเด็นหลักที่จะผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในยุคที่ออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจค้าปลีก”

อย่างไรก็ตามธุรกิจค้าปลีกก็ยังมีจุดแข็งที่ต้องเพื่มศักยภาพเพื่อรองรับการแข่งขันกับออนไลน์ ใน 5 ข้อหลักได้แก่ 1.ต้องมีการใช้รีเทลเทคโนโลยีที่หลากหลายเข้ามาใช้ในธุรกิจ 2.ต้องเพิ่ม Service หรือการบริการที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งที่ธุรกิจออนไลน์นั้นยังทำได้ยาก 3.ต้องมีการสร้างประสบการณ์แก่ลูกค้าผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เวิร์กช็อป กิจกรรมภายในศูนย์เพื่อสร้างความหลากหลาย ดังนั้นผู้ค้าปลีกและแบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องรู้วิธีรับมือกับตลาดค้าปลีกที่จะเกิดขึ้นใหม่เหล่านี้

รายงาน : วิมลวรรณ จันทะคาม

หน้า 34 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,391 วันที่ 12-15 ส.ค. 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว