ร.ฟ.ท. แจงข้อเท็จจริง ประมูลที่ดินมักกะสันพ่วงรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน

07 ส.ค. 2561 | 04:14 น.
- 7 ส.ค. 61 - ในโอกาสที่ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เดินทางมาราชการที่จังหวัดขอนแก่น 56655

ได้ให้สัมภาษณ์ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น กรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษณ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการทบทวนและแก้ไข TOR โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากมีแนวโน้มส่อการทุจริต 8DC62500D05445EBB355EA558E7FACD5

โดยได้ชี้แจงว่า ที่ดินที่มักกะสัน ได้ดำเนินการในลักษณะที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่ของการรถไฟฯ โดยมีการคิดค่าเช่าตามระเบียบของการรถไฟฯ และตามผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาเมื่อต้นปี 61 ซึ่งการรถไฟฯมีแผนงานที่จะดำเนินในลักษณะนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ที่ดินบริเวณดังกล่าวมีขนาดพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ และให้เช่ารวมระยะเวลาในการก่อสร้างเป็นระยะเวลา 50 ปีเท่านั้น พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่ได้มาจากการเวนคืนก่อน พ.ศ. 2521 ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวนอกเหนือจากการขนส่งได้ โดยการรถไฟฯ จะได้ค่าเช่าตลอดอายุสัญญาประมาณ 52,000 ล้านบาทซึ่งใกล้เคียงกับที่ที่ปรึกษาศึกษาไว้กรณีที่การรถไฟฯ จะดำเนินการเอง

ราคาประเมินที่ดินที่มักกะสันเป็นการประเมินจาก 2 สถาบัน และใช้อัตราสูงสุดซึ่งเป็นราคาตลาดเฉลี่ยรวมของพื้นที่รายแปลงย่อยทั้งหมด ซึ่งการรถไฟฯ ให้ที่ปรึกษาใช้ผู้ประเมินที่มีวิชาชีพ ประเมินราคาตามกฎหมายเป็นผู้ประเมิน

โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ ปัจจุบันมีหนี้ประมาณ 33,229 ล้านบาท และการดำเนินงานแอร์พอร์ตลิงก์ขาดทุนทุกปีประมาณ 300 ล้านบาท ถ้าปล่อยแบบนี้ต่อไป รฟท. จะเป็นหนี้สะสมเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการดำเนินงาน โดยเอกชนคาดว่าจะไม่ขาดทุน และเอกชนมาบริหารจะให้บริการที่ดีขึ้น มีรายได้มากขึ้นกว่าที่โครงการเดิมดำเนินการอยู่ ใน TOR 2C28CF28AB78460483B39C11B0089E59

รัฐจึงให้เอกชนต้องจ่ายสิทธิการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ให้ รฟท. ไม่น้อยกว่า 10,671 ล้านบาท (คิดจากค่าเสียโอกาสรายได้ หาก รฟท. ดำเนินโครงการเอง ประการสำคัญ การขาดทุนของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่เป็นอยู่ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มบริการให้เท่ากับความต้องการของประชาชนได้เต็มที่ ดังนั้น เอกชนที่เข้ามาบริหารต้องการเพิ่มการลงทุน และสอดคล้องกับความต้องการ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการต่อประชาชนได้อย่างเต็มที่

โดยนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้ให้นโยบายไว้ว่า การประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการ PPP หลัก ใน EEC ต้องเป็นแบบเปิดกว้างแบบนานาชาติ หรือ International Bidding โดยรายละเอียดหลักการดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาของ กพอ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2561 และคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเมื่อการประชุมวันที่ 22 พ.ค. 2561

ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูง ได้นำหลักการดังกล่าวประกอบการจัดทำเอกสารคัดเลือกเอกชน และมีบริษัทเอกชนมาซื้อเอกสารจำนวน 7 บริษัท ญี่ปุ่น จำนวน 4 บริษัท ฝรั่งเศส จำนวน 2 บริษัท มาเลเซีย จำนวน 2 บริษัท อิตาลี จำนวน 1 บริษัท และเกาหลีใต้ จำนวน 1 บริษัท แสดงว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการเปิดกว้างให้มีการแข่งขันแบบนานาชาติ เอกชนต่างประเทศมีความเชื่อถือว่า โครงการเป็นแบบเปิดกว้าง ไม่ล็อคสเปค