มูลนิธิเอสซีจีเติมศักยภาพต้นกล้าชุมชนพัฒนาบ้านเกิด

05 ส.ค. 2561 | 12:30 น.
มูลนิธิเอสซีจี ส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดทั้งด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ ให้เป็นกำลังสำคัญในการดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิเอสซีจีได้สนับสนุนเบี้ยยังชีพ และค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี และเชิญเครือข่ายนักพัฒนารุ่นพี่ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ แนะแนวทางการทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีต้นกล้าชุ มชนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพต้ นกล้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ ยวชาญหลากหลายสาขามาถ่ ายทอดความรู้ให้กับต้นกล้า และจัดกิจกรรมศึกษาการทำงานชุ มชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่ อมโยงการทำงานระหว่างกัน

16 สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้นำต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 และพี่เลี้ยง รวม 44 คน ลงพื้นที่ชุมชนศึกษาพื้นที่จั งหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ร่วมกับ ทาดาชิ ยูชิดะ President of International OVOP Exchange Committee และทีมงานจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้นกล้าและพี่เลี้ยง รวมถึงชุมชนต่างได้รับคำแนะนำ และแนวทางทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจาก ทาดาชิ ยูชิดะ ที่สามารถนำไปปรับใช้ด้วยการนำเสนอจุดแข็งของสินค้าผ่านการเล่าเรื่องที่แตกต่างอย่างสร้ างสรรค์ เพื่อสร้างจุดเด่น อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้ กับชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสที่ต้นกล้าได้เชื่อมโยงเครือข่าย และเสริมสร้างการทำงานภาคสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ต้นกล้าชุมชนยังได้ศึกษาดูงานจากชุมชนบ้านใต้ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และชุมชนโหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงเยี่ยมชมตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ณ ลานพุทธามหาชัย อ.แม่ทาจ.ลำพูน ที่เริ่มต้นขึ้นจากแรงผลักดั นของพฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชนหญิงรุ่นที่ 2 ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากครั้งที่ มูลนิธิฯ พาไปเรียนรู้ที่โอย่าม่าแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น

2 สุวิมล จิวาลักษณ์ สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิ เอสซีจี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้น้องๆ ต้นกล้า ทั้งการดูงานที่เมืองฮอกไกโด และเมืองโออิตะ เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OVOP (One Village One Product) หรือโอทอป และการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น ทาดาชิ ยูชิดะ และทีมงาน ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยเพื่อให้ความรู้ กับน้องๆ ทำให้ต้นกล้าได้เปิดประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองใหม่ๆ ทำให้น้องๆ ได้รับประสบการณ์จริง ซึ่งจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ต้นกล้า ตลอดจนพี่เลี้ยงได้นำกลับไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของชุมชน ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมศักยภาพความเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืน

8 ด้านทาดาชิ ยูชิดะ กล่าวว่า หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OVOP มีความใกล้เคียงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างมาก คือ เริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตนเอง แล้วใส่พลังความคิดสร้างสรรค์ และความพยายามอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างกระตือรือร้น กล้าหาญ และมุ่งมั่น

10 ภารกิจของทาดาชิ คือ ให้คำแนะนำ ความมั่นใจ และความหวังแก่น้องๆ ต้นกล้า พี่เลี้ยง และชุมชน เพื่อให้คนเหล่านั้นสามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าของจิตใจมากกว่าคุณค่าของเงิน และเมื่อพวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีความภาคภูมิใจ และมีเกียรติ ก็จะส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพและความยั่งยืน ทำให้คนหนุ่มสาวไม่อยากละทิ้งบ้านไปทำงานในเมือง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในชุมชน