‘ดีป้า’ ลุยสมาร์ทอีอีซีเต็มสูบ หลังสำนักงบฯไฟเขียววงเงิน 1.4 พันล้าน

17 ก.ค. 2561 | 05:27 น.
ดีป้า โล่ง สำนักงบฯไฟเขียว อนุมัติเงินลงทุนโครงการสมาร์ทอีอีซีกว่า 1.4 พันล้าน หลังถูกดองนาน 8 เดือน  เผยนำงบไปใช้พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน กำลังคนและโลจิสติกส์


[caption id="attachment_298516" align="aligncenter" width="335"] ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์[/caption]

อย่างไรก็ตาม การจัดทำโครงการสมาร์ทอีอีซีนั้น ทางดีป้าได้ขอความร่วมมือจากนักลงทุนภาคเอกชน เพื่อขยายธุรกิจที่มีความสนใจเพิ่มเติม โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาทในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทุกๆ ประเทศในโลกจะขับเคลื่อนเทคโนโลยีได้ต้องมีดาต้าแพลตฟอร์มข้อมูลของเมือง   โดยร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในการดูแลเมืองด้านนั้น เป็นระยะเวลา 3 ปี ในสัดส่วน 50:50  ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนไม่ใช่เงินที่ดีป้าให้เปล่า  โดยหลังจากครบ 3 ปีก็จะกลับมาเป็น มูลค่าหุ้น หรืออาจตกลงกันตั้งแต่ต้นว่า เมื่อลงทุน 50 ล้านบาทจะคิดเป็นมูลค่าหุ้นเท่าไหร่

ทั้งนี้เรื่องแรกจะลงทุนในเรื่องของสมาร์ทโมบิลิตี การจัดการซิสเต็มอะนาไลติกของบริเวณท่าเรือและการขนส่ง  เนื่องจากมองเห็นโอกาสในธุรกิจการขนส่ง โลจิสติกส์ แวร์เฮาส์ ที่จังหวัดชลบุรี ระยอง เพราะเดิมคือเมืองท่าที่มีบริษัทขนส่ง มีรถขนส่ง ถ้าสามารถทำสมาร์ทโมบิลิตีได้ จะช่วยจัดการปัญหาเรื่องระบบโลจิสติกส์ ระบบแวร์เฮาส์ที่ปัจจุบันยังไม่เอื้ออำนวย ซึ่งจะช่วยประหยัดทั้งพลังงาน การขนส่งและต้นทุนการบริหารงาน

mp20-3377-1-w นอกจากนี้ยังมองในเรื่องการทำ Smart Energy และ Smart Environment ของโรงงานอุตสาหกรรม เพราะประเทศไทยเจอการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ และถูกบีบบังคับในเรื่องของต้นทุนพลังงาน จึงทำสมาร์ทกริดในเรื่องของการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม ถ้ามีแผนธุรกิจดีป้าก็ยินดีให้การสนับสนุน และหากติดขัดในเรื่องของกฎหมายดีป้าก็จะนำข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนมาเข้าคณะกรรมการสมาร์ทอีอีซีปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะมีการเก็บดาต้าไปใช้ในการทำโซลูชันอื่นๆ ด้วย

“สำหรับทรานส์ฟอร์เมชันฟันด์ได้มีการสนับสนุนไปรายละ 1 ล้านบาท นำร่องปีนี้  10 โรงงานในพื้นที่อีอีซี โดยได้มีการเสนอไปทางรัฐบาลและสำนักงบประมาณว่าถ้าจะทำสมาร์ทอีอีซี ต้องเพิ่มขึ้นอีก 20 โรงงาน  ซึ่งพยายามจะทำให้แล้วเสร็จทันภายในเดือนกันยายนนี้”

ขณะที่ในด้านดิจิตอล แมนพาวเวอร์ นั้นจะสร้างบุคลากร 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นการสร้างบุคลากรของรัฐ ที่ได้มีการทำไปแล้ว 50 คน และอีกส่วนคือสร้างบุคลากรที่จะเป็น Workforce หรือคนที่จะเป็นระดับแรงงาน ซึ่งได้ปล่อย International Certificate ไปแล้ว 3,750 คน คือคนที่จะเป็นแรงงานที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี ทั้งคลาวด์คอมพิวติ้ง ดาต้าอะนาไลติก ไซเบอร์ซิเคียวริตี โดยร่วมกับ 10 มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตามล่าสุดสำนักงบประมาณได้อนุมัติงบในการพัฒนาโครงการสมาร์ทอีอีซีที่ทางดีป้าได้ทำเรื่องขอไปให้แล้วกว่า 1,400 ล้านบาท

e-book-1-503x62-7

.......................................................................................

หน้า 20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,377 ระหว่างวันที่ 24-27 มิ.ย.61