'บีทีเอส' รับมอบรถไฟฟ้าชุดใหม่ "เพิ่มความจุ-ทันสมัย-ประหยัดพลังงาน"

19 มิ.ย. 2561 | 11:12 น.
"บีทีเอส" รับรถไฟฟ้าขบวนแรกตามสัญญา ใหม่จาก "ซีเมนส์" โดยรถชุดแรกรองรับสายสุขุมวิท แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่จะให้บริการ ธ.ค. โดยล๊อตใหม่ “ทันสมัย สะดวก ประหยัดพลังงาน และรองผู้โดยสารมากกว่าเดิม”

- 19 มิ.ย. 61 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ได้มีพิธีส่งมอบรถไฟฟ้าขบวนแรก ตามสัญญาจัดหารถจำนวน 22 ขบวน (88 ตู้) ระหว่าง บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มหาชน) (บีทีเอส) นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารจาก Siemens Bozankaya ผู้แทนจาก บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด สื่อมวลชนที่ไปจากกรุงเทพ และสื่อมวลชนของตุรกี ท่ามกลางบุคคลในคณะรัฐบาลสาธารณรัฐตุรกีร่วมเป็นสักขีพยาน

รถไฟฟ้าขบวนแรกนี้ เป็นขบวนรถในจำนวนทั้งหมด 22 ขบวน จาก 46 ขบวน 148 ตู้ เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารในเส้นทางปัจจุบัน และส่วนต่อขยายไปสมุทรปราการและคูคต โดยแบ่งออกเป็นการซื้อจาก บริษัทซีเมนส์ จำกัด 22 ขบวน และ บริษัท ซีอาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด 24 ขบวน มูลค่าประมาณ 11,000 ล้านบาท

ขบวนรถดังกล่าวใช้สเปคเดียวกันหรือดีกว่าขบวนรถไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เข้ากันได้กับระบบต่างๆ ที่มีอยู่ แต่จะเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดจากผู้ผลิตชั้นนำของโลก สำหรับขบวนรถ 22 ขบวนของซีเมนส์จะทำการออกแบบ และผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ในเยอรมนี และออสเตรีย เป็นส่วนใหญ่ และนำมาประกอบที่โรงงานของบริษัท Bozankaya ประเทศตุรกี ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการค้ากับซีเมนส์ S__53526582

บริษัท Bozankaya เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการผลิตชิ้นส่วนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นโรงงานผลิตยานพาหนะระบบราง และ ยานพาหนะระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีชื่อในยุโรป อนึ่งขบวนรถของบริษัทซีเมนส์ นี้ จะมีการปรับรูปโฉมให้ดูโฉบเฉี่ยวทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกภายในขบวนรถที่ช่วยประหยัดพลังงาน และมีพื้นที่จุคนได้มากขึ้น เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของซีเมนส์ทุกประการ ขบวนรถไฟฟ้าจำนวน 22 ขบวนนี้ เมื่อดำเนินการส่งมอบและทดสอบเรียบร้อย จะถูกนำมาให้บริการในเส้นทางปัจจุบันและเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วง แบริ่ง–สมุทรปราการ ระยะทาง 13 ก.ม. ซึ่งมีกำหนดจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในเดือน ธ.ค. 2561

ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท แบริ่ง–สมุทรปราการ นั้น ประกอบด้วยสถานีรวมทั้งสิ้น 9 สถานี โดยเมื่อปี 2560 ได้เปิดให้บริการ จำนวน 1 สถานีจาก สถานีแบริ่ง–สถานีสำโรง และอีก 8 สถานีที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2561 ประกอบด้วย สถานีปู่เจ้า สถานีช้างเอราวัณ สถานีโรงเรียนนายเรือ สถานีปากน้ำ สถานีศรีนครินทร์ สถานีแพรกพฤกษา สถานีสายลวด และสถานีสุดท้ายคือ สถานีเคหะฯ

ความคืบหน้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วง หมอชิต-สะพานใหม่–คูคตนั้น อยู่ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบงานระบบเดินรถ (Railway System) การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และ ศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งใหม่ ที่สถานีคูคต ระยะทางรวมทั้งสิ้น 19 กม. มีจำนวนสถานีรวมทั้งหมด 16 สถานี โดยคาดว่า โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยภายในปี 2562 และหลังจากนั้น จะเป็นช่วงของการดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ซึ่งบริษัทฯจะเป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงในส่วนต่อขยายนี้ ซึ่งมีแผนที่จะเข้าดำเนินงานก่อนในส่วนที่มีความพร้อม

โดยสถานีแรกที่คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชน คือ สถานีห้าแยกลาดพร้าว และเมื่อส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ และ สายสีเขียว ช่วง หมอชิต-สะพานใหม่–คูคต เสร็จเรียบร้อย รวมทั้งเส้นทางของรถไฟฟ้าในปัจจุบัน จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 68.25 ก.ม. ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมโยงการเดินทางของประชาชนจากชานเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและประหยัดเวลา

นายคีรี ระบุว่า การผลิตรถทั้ง 22 ขบวนนี้ใช้เวลาในการผลิตที่สั้นกว่าการผลิต ตามปกติ เนื่องจากทกุฝ่ายเข้าใจถึงความต้องการในการใช้รถเพิ่มใน เส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยเฉพาะการที่จะต้องผลิตให้ทันเปิด ให้บริการส่วนต่อขยายไปสมุทรปราการใน เดือน ธ.ค. ปีนี้ S__53526578

"ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ณที่นี้โดยเฉพาะบริษัทซีเมนส์ และ Bozankaya ที่ได้ร่วมกันทำงานอย่างหนักโดยแทบจะไม่มีวันหยุดเพื่อให้การผลิตแล้วเสร็จทันความต้องการใช้งานดังกล่าว ซึ่งมิเพียง ใช้เวลาสั้นเท่านั้น แต่ขณะเดียวกันยังคงไว้ซึ่งความเข้มงวดในเรื่องของ คุณภาพตามมาตรฐานของซีเมนส์ ทั้งนี้รถขบวนใหม่ ทันสมัย รองรับผู้โดยสารมากขึ้นเนื่องจากเอาเก้าอีบางสวนออก เหมือนรถไฟฟ้าในยุโรป" นายคีรี กล่าว

ทั้งนี้ รถขบวนแรกนี้หลังจากส่งมอบในแล้วจะขนส่งทางเรือไปยังประเทศไทยเพื่อทำการทดสอบบนเส้นทางจริงเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อให้มั่นใจในคุณ ภาพก่อนนำไปให้บริการ และหลังจากนั้นจะ ทยอยส่งมอบขบวนรถที่เหลือไปยังประเทศไทยซึ่งจะเสร็จสิ้นช่วงต้นปีหน้า เพื่อให้สามารถเปิด ให้บริการส่วนต่อ ขยายไปสมุทรปราการได้ในเดือน ธ.ค. ปีนี้

นายคีรี กล่าวว่า “จากการที่ได้มาเห็นขบวนการผลิตและรถไฟฟ้าขบวนแรกที่แล้วเสร็จ ทำให้ผมมีความมั่นใจว่าทั้งบริษัทซีเมนส์ และ Bozankaya จะสามารถทำการผลิตรถไฟฟ้าทั้ง 22 ขบวนได้ตามกาหนดรวมถึงมีคุณภาพเป็นที่น่า ประทับใจเฉกเช่นเดียวกับรถของซีเมนส์ที่ใช้งานอยู่กว่า 18 ปีแล้ว แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพที่ดี”

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวว่า กทม.หวังจะสร้างระบบไฟฟ้า ให้ครบทุกเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกประชากรใน กทม. ที่หันมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น และช่วยแก้ปัญหาจราจร โดยเฉพาะหน้า กทม. จะสร้าง 3 เส้นทางใหม่ ซึ่งเป็นสายรอง เพื่อรองสายหลัก คือสายสีทอง เจริญนคร สายสีเทา วัชรพล โดยระยะแรก ถึง ทองหล่อ 19 ก.ม. และเส้นบางนา สุวรรณภูมิ ซึ่งคาดว่าจะเปิด ประมูล ได้ในปีหน้า โดย กทม. พร้อมสนับสนุนเอกชนที่จะมาลงทุนด้านนี้ ส่วนคอขวดสถานีสะพานตากสินได้หารือ กับ บีทีเอส แล้วที่จะมาลงทุนตรงนี้ เพื่อแก้ปัญหา ประชาชนที่ตกค้าง แออัด วันละเป็นหมื่นๆ คน