1800 ล่ม! 3 ค่าย กำเงินชิงคลื่น 700

19 มิ.ย. 2561 | 07:27 น.
190661-1418

ในที่สุด 3 ค่ายมือถือ คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส , บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจไม่ส่งบริษัทลูกเข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800MHz


 

[caption id="attachment_291155" align="aligncenter" width="503"] ลาร์ส นอร์ลิ่ง ซีอีโอดีแทค แถลงถึงเหตุผลที่ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 ลาร์ส นอร์ลิ่ง ซีอีโอดีแทค แถลงถึงเหตุผลที่ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800[/caption]

โดย 'ดีแทค' ให้เหตุผลว่า คลื่นที่ถือครองอยู่ คือ 2100MHz จำนวน 2x15MHz และ 2300MHz จำนวน 1x60 MHz มีเพียงพอต่อการให้บริการ แม้หมดสัมปทานคลื่น 1800MHz และสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยาแล้ว ยังมีคลื่นย่านความถี่สูงเพิ่มมากกว่าเดิมอีก 10MHz จากคลื่นใหม่ 2300MHz ที่จะนำมาให้บริการสำหรับคลื่นย่านความถี่สูงอย่างเพียงพอ

ส่วน 'เอไอเอส' ได้ชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ร่วมประมูลเช่นเดียวกัน ด้วยเงื่อนไขที่ว่า ไม่เหมาะสมต่อการลงทุนหรือก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดให้กับบริษัท


Appmp24-3093-a

เหตุผลหลักที่ 3 ค่ายมือถือ ไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz เป็นเพราะ กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กำหนดราคาเริ่มต้นที่แพงเกินจริง โดยกำหนดไว้ที่ 37,475 ล้านบาท เคาะครั้งละ 75 ล้านบาท เนื่องจากมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ให้ใช้ราคาตั้งต้น (Reserve Price) ประมูลของปี 2558 ของราคาคลื่น 900MHz และ 1800MHz มาเป็นบรรทัดฐาน นอกจากนี้แล้ว การนำกฎ N-1 มาประมูล ค่ายมือถือบางรายไม่เห็นด้วย เพราะกฎเกณฑ์ดังกล่าว ดีแทคได้เรียกร้องมาตลอด ทั้งเรื่องของ N-1 และให้ซอยคลื่นความถี่จาก 15MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต มาเป็น 5MHz จำนวน 9 ใบอนุญาต แต่ก็ไร้ผล

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ต้องเลื่อนออกไป จะส่งผลต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลตามมา เพราะตามประมาณรายได้ในปีงบประมาณ 2562-2565 ได้รวม 'รายได้พิเศษ' จากการประมูลใบอนุญาต TV Digital และใบอนุญาต 4G ไว้ในงบประมาณทั้งสิ้น 135,900 ล้านบาท แบ่งเป็นปีงบประมาณ 2562 จำนวน 27,500 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 104,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2,200 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2565 จำนวน 2,200 ล้านบาท


0hs67rHqBlLBkKCwOIzX9TTihYKmJmZjsKYTMgIzFWLH95JW1JPmRjfi5lcXtzOGJPZDl_KC9YJTUiPzxHKj4mfikJcC5wa2k

ส่วนแหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า กสทช. มีแผนประมูลคลื่นความถี่ 700MHz เนื่องจากต้นทุนติดตั้งสถานีรับ-ส่งสัญญาณต่ำกว่าคลื่น 1800MHz ถึง 2 เท่า อีกทั้งแถบคลื่นความถี่มีขนาดกว้างถึง 45MHz ขณะที่ คลื่น 1800MHz มีเพียง 15MHz เท่านั้น

สำหรับดีแทคได้ประโยชน์จากการไม่ร่วมประมูล เพราะสามารถให้บริการคลื่นความถี่ 1800MHz ต่อไปได้อีก 1 ปี หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2561

 

[caption id="attachment_291164" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงาน กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์
เลขาธิการสำนักงาน กสทช.[/caption]

ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงาน กสทช. ออกมาแถลงว่า ในเมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจไม่เข้าร่วมประมูล กสทช. เตรียมเสนอเรื่องนี้ให้กับบอร์ด กสทช. และรัฐบาล เพื่อขอรับนโยบายต่าง ๆ "ผมเรียนว่า แนวทางต่าง ๆ หลายคนบอกว่า 'คิดให้ไกล ไปให้ถึง' แต่ถ้าวันนี้ 'คิดใกล้ไป จะไปไม่ถึง' เพราะว่าสำนักงาน กสทช. เตรียมมาตรการต่าง ๆ ไว้แล้ว"

เมื่อถอยกันหมดทั้ง 3 ค่าย ประมูลคลื่น 1800 เป็นอันว่า 'ล่ม' ผลที่เกิดขึ้น คือ กสทช. สูญเงินค่าคลื่นเข้ารัฐคิดเป็นมูลค่า 122,425 ล้านบาท จากราคาตั้งต้นที่ 37,475 ล้านบาท


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,375 วันที่ 17-20 มิ.ย. 2561 หน้า 02

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"ฐากร" กุมขมับ! ไร้เงาเอกชนประมูลคลื่น 1800  จ่อเสนอ "บอร์ดกสทช.-รัฐบาล" หาทางออก
‘AIS’ ไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่น 1800 MHz


e-book-1-503x62-7