สยามคูโบต้าส่งเสริมสมาร์ทฟาร์เมอร์

26 มิ.ย. 2561 | 02:32 น.
สยามคูโบต้าส่งเสริมสมาร์ทฟาร์เมอร์ จัดเวิร์กช็อป คลุกดินฟินเฟร่อ

บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัดได้ดำเนินโครงการความช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี 2543 โดยการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านเกษตร รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสาน ทำให้เกิดประสิทธิผลเต็มที่กับอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกฝังและสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ผ่านค่ายเกษตรยุวเกษตร ซึ่งในปี 2555 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โครงการ คูโบต้า สมาร์ท ฟาร์เมอร์ แคมป์ รับเยาวชนในระดับอุดม
ศึกษาเข้าร่วม ซึ่งปีนี้มีการทำเวิร์กช็อปภายใต้แนวคิด “คลุกดิน ฟินเฟร่อ” ตั้งแต่วันที่ 5-9 มิถุนายนที่ผ่านมา

“สมศักดิ์ มาอุทธรณ์” กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด บอกว่า ตอนนี้ค่าเฉลี่ยอายุเกษตรกรไทยอยู่ที่ 57 ปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก ทั้งๆ ที่อาชีพเกษตรกรรม ถือเป็นอาชีพหลักของคนไทย ดังนั้น การปลุกปั้นและให้ความรู้ กระตุ้นจิตสำนึกให้เยาวชนสนใจงานด้านเกษตรกรรม ได้เห็นว่าการเป็นเกษตรกรไม่ได้ยากลำบากอย่างที่คิด และสามารถสร้างรายได้เลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน จะช่วยให้อาชีพเกษตรกรรมเติบโตไปได้อย่างมั่นคงแข็งแรง

9_resize

สำหรับปีนี้ที่สยามคูโบต้าเลือกใช้ธีมเกี่ยวกับ “ดิน” เพราะดินคือหนึ่งใน 3 เรื่องหลักที่สยามคูโบต้าพยายามส่งเสริม เพื่อให้เกษตรกรรู้ว่าต้องดูแลดินอย่างไร พัฒนาดินอย่างไรให้มีประสิทธิภาพทางเกษตร ส่วนอีก 2 เรื่องหลักที่สยามคูโบต้า ให้ความสำคัญ คือ เรื่องของนํ้า และการดูแลพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์พืชที่ดี ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่สยามคูโบต้าคัดเลือกเด็กจากคณะเกษตร และคณะวิศวกรรม เข้าร่วม และมีผู้สนใจสมัครเข้ามากว่า 1,200 คน โดย 60% ของเยาวชนกลุ่มนี้ มีอาชีพเกษตรกรอยู่แล้ว

เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการกับสยามคูโบต้าที่ผ่านมา 5 ปี มีมากกว่า 7,300 คน  และมีเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกโครงการไปแล้ว 520 คน โดยเด็กๆ 50% กลับไปทำอาชีพเกษตรกร

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

“สมศักดิ์” กล่าวว่า โครงการนี้ได้ต่อยอดไปสู่การสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ โดยมีต้นแบบจากกลุ่มเกษตรกรที่แข็งแรง ที่มีความพร้อมทั้งผู้นำกลุ่ม มีการทำงานเป็นทีม มีการพัฒนาการทำตลาด และการทำบัญชีด้วยตัวเอง รวมทั้งการต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ทำให้เป็นกลุ่มเกษตรกรที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืนและแข็งแรง ซึ่งปัจจุบัน ได้ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้แล้ว 3 แห่ง คือ ที่ บ้านผักไหมใหญ่ และ ราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ห้วยตาดข่า จังหวัดอุดรธานี และกำลังจะเปิดเพิ่มเติมที่ จังหวัดแพร่ และเพชรบูรณ์ โดยเป้าหมายจะพยายามเปิดศูนย์เรียนรู้ให้
เป็นศูนย์ต้นแบบให้ได้ทุกภาค ซึ่งขณะนี้เหลือที่ภาคกลาง และภาคใต้ ที่กำลังศึกษาอยู่

หน้า 28 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,376 วันที่ 21 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว