ชงผ่อนเกณฑ์คุม ICO - ตั้งคณะทำงานร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจ

23 มิ.ย. 2561 | 11:20 น.
ผู้ประกอบการเงินดิจิตอล เสนอ ก.ล.ต. ตั้งคณะทำงานร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจก่อนคลอดเกณฑ์กำกับ พร้อมเสนอผ่อนเกณฑ์ระเบียบ หวั่นไทยเสียเปรียบบริษัทข้ามชาติ เปิดทางให้เอ็กซ์เชนจ์เป็นตัวแทนจำหน่ายให้บริษัทตปท.ที่ออกไอซีโอได้

จากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในเรื่องเกณฑ์ กำกับผู้ประกอบธุรกิจสิน ทรัพย์ดิจิตอล และเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา  โดยก.ล.ต.คาดจะสรุปและออกหลักเกณฑ์ภายในเดือนมิถุนายนนี้

“ฐานเศรษฐกิจ” ได้ประมวลข้อเสนอจากผู้ประกอบการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิตอล โดยนายธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท JIBEX  จำกัด กล่าวว่า เจตนาของตัวบทกฎหมายต้องการให้ทุกอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้ออกไอซีโอ(Initial coin offering) หรือผู้เกี่ยวข้องฯลฯ แต่จุดหนึ่งที่ตนเสนอไปว่าเรื่องไอซีโอเป็นเรื่องของระดับโลก การแข่งขันต้องตระหนักในเรื่องความรวดเร็วด้วย โดยทางเราได้เสนอก.ล.ต. ไป  2  เรื่อง

[caption id="attachment_292425" align="aligncenter" width="503"] ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์[/caption]

คือ 1. การระดมทุนออกไอซีโอ กรณีเป็นบริษัทระดับโลก อย่างกรณี “กูเกิล” ออกไอซีโอ คนก็อยากลงทุน แต่กูเกิลไม่มาขออนุญาตในประเทศไทย กรณีนี้ ก.ล.ต.น่าจะเปิดทางอนุญาตให้ศูนย์ซื้อขาย สินทรัพย์ดิจิตอล (Exchange) เป็นตัวแทนจำหน่าย หรือเป็นดิสตริบิวต์ (distribute) ได้ แต่จากการหารือ ก.ล.ต.ระบุไม่สามารถทำได้ ผู้ที่จะออกไอซีโอต้องมาขอในไทยเอง  ซึ่งในทางปฏิบัติบริษัทระดับโลกก็อาจไม่มาครอบคลุมถึงประเทศไทยหรือไทยอาจไม่ได้อยู่ในคิวของเขา จึงน่าจะยกเว้นให้ ไม่เช่นนั้นแล้วนักลงทุนไทยก็อาจเสียโอกาส

ข้อที่ 2 ผ่อนกฎระเบียบให้กับผู้ประกอบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิตอล  เพราะอาจทำให้ไทยเสียเปรียบการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติ   ยกกรณีอาลีบาบา หรือฟินเทคของอาลีบาบา ขณะที่ฟินเทคในประเทศไทยต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เข้มข้นอาจทำให้ไทยเสียเปรียบ  ดังจะเห็นว่าบริษัทออฟชอร์ต่างประเทศเข้ามาทำธุรกิจมีความได้เปรียบมากกว่าบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย  หรือทำไมคนไทยต้องไปตั้งบริษัทออฟชอร์เพื่อทำธุรกิจกลับมาประเทศไทย แล้วได้เปรียบ
MP17-3372-A-313x503 ด้านนายศิวนัส ยามดี ผู้ก่อตั้ง บริษัท คอยน์ แอสเซท จำกัด (CoinAsset)  กล่าวว่า สิ่งที่ทางบริษัทให้ความคิดเห็นไป อาทิ เรื่องหลักเกณฑ์ listing rules (การนำเหรียญหรือโทเคนขึ้นเทรดบนกระดาน) จากการพูดคุยทาง ก.ล.ต. อยากให้โทเคนที่จะขึ้นเทรดบนกระดานจะต้องมี asset และ liquidity แล้ว ซึ่งทางเราเห็นด้วยในส่วน asset  เพราะเมื่อระดมทุนเสร็จก็ควรจะเอาเงินที่ได้รับไปลงทุนตามที่ได้สัญญาไว้ในหนังสือชี้ชวน (whitepaper) แต่ด้าน liquidity  ไม่เห็นด้วย

“ในความหมายของ liquidity ที่ก.ล.ต. พูดถึงก็คือ โทเคนต้องมีสภาพคล่องในการแลกเปลี่ยนระดับหนึ่งแล้ว  เพราะกลัวว่าประชาชนที่เข้าไปซื้อจะติดดอย แต่สภาพความเป็นจริงคือถ้าไม่ขึ้นกระดานเทรด ผู้ซื้อโทเคนจะติดดอย  เพราะไม่มีที่แลกเปลี่ยน  และถ้าจะให้โทเคนไปขึ้นเทรดบนกระดานต่างประเทศ   ไทยก็จะเสียโอกาส เพราะโดยสภาพของโทเคนและนักเทรดเมื่อไปเทรดกระดานใดแล้วก็มักจะอยู่กระดานนั้นส่วนใหญ่ เพราะการจะถอนหรือย้ายกระดานเทรดต้องเสียค่าธรรมเนียม” เขากล่าวและว่า

[caption id="attachment_292426" align="aligncenter" width="336"] ศิวนัส ยามดี ศิวนัส ยามดี[/caption]

ส่วนเรื่องหลักเกณฑ์ ICO  ไม่เห็นด้วยที่กำหนดว่าต้องเป็นบริษัทไทย และมีหลักเกณฑ์มาก  อยากให้ก.ล.ต.ไปเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ช่วงแรกประเทศญี่ปุ่นจะผ่อนปรนเรื่องนี้มาก เพราะต้องการให้ธุรกิจโตก่อน จากนั้นจึงเริ่มออกเกณฑ์มาคุม ต่างกับประเทศไทย ผลก็คือคนทำ ICO ในไทยหนีไปทำที่สิงคโปร์กับยุโรป  และกลายเป็นว่าคนไทยที่ตามไปซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก ก.ล.ต.  เนื่องจากเป็นการทำในต่างประเทศ  คาดว่าหากกฎเกณฑ์ส่วนนี้ออกมาจริง  คงมี  ICO ไม่ถึง 10 ตัวที่ขอทำในไทย เพราะไปทำประเทศอื่นสะดวกกว่า  ขณะที่เกณฑ์  ICO  กลับสอดคล้องกับบริษัทใหญ่มากกว่าสตาร์ตอัพ เช่น ต้องมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทขึ้นไป  ต้องมีการตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. (หลักเกณฑ์คล้าย IPO)

“เราได้เสนอไปว่า ก.ล.ต. ควรจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ภาคธุรกิจก่อนออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติม (รวมถึงทำ Sandbox) เพราะหลายอย่างก.ล.ต. ยังไม่มีความเข้าใจที่เพียงพอ สะท้อนผ่านหลักเกณฑ์บางข้อที่ส่งผลเสียต่อสภาพธุรกิจ”


[caption id="attachment_292427" align="aligncenter" width="480"] ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ปริญญ์ พานิชภักดิ์[/caption]

นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ยํ้ามาตลอดคือการให้ภาครัฐทบทวนการเรียกเก็บภาษี capital gain หัก ณ ที่จ่าย 15% ที่คิดจากกำไรส่วนต่างจากการซื้อขายสกุลเงินดิจิตอล  โดยเสนอให้จัดเก็บภาษีเป็นขั้นบันไดแทน

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,372 วันที่ 7-9 มิ.ย. 2561
e-book-1-503x62