สพพ. รุกยุทธศาสตร์! เผยนวัตกรรมลงทุน

11 พฤษภาคม 2561
สพพ. ฉลองวันสถาปนาครบรอบ 13 ปี เปิดแผนยุทธศาสตร์ พร้อมเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือทางการเงินและวิชาการกับประเทศเพื่อนบ้าน โชว์นวัตกรรมใหม่แห่งการลงทุน พร้อมเร่งปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ระยะสั้นเดิม ด้วยการออกพันธบัตรช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. นี้ วงเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาท เพื่อประโยชน์สูงสุดในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

นายพีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. เปิดเผยว่า ในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 13 ปีของ สพพ. ได้เร่งขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ในระยะ 4 ปี (2561-2564) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้ความร่วมมือ 7 ประเทศ คือ สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม ภูฏาน ศรีลังกา และติมอร์-เลสเต

 

[caption id="attachment_280463" align="aligncenter" width="377"] พีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. พีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ.[/caption]

ทั้งนี้ สพพ. ได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 4 ปี (2561-2564) ของ สพพ. ซึ่งมีความสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) รวมกับสอดคล้องกับนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาความร่วมมือทางการเงินและวิชาการกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

โดยแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เป็นนโยบายที่รัฐบาลไทยจะสามารถส่งเสริมให้เศรษฐกิจของไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีความมั่นคงและยั่งยืน โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายการคมนาคมและขนส่ง โดยเฉพาะจากชายแดนไทยและเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญของไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวภายในภูมิภาค


messageImage_1526030711762

นายพีรเมศร์ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ปี 2548 สพพ. ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินและความช่วยเหลือทางวิชาการไปแล้ว จำนวน 74 โครงการ วงเงินรวม 15,732 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ความร่วมมือทางการเงินในรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนและเงินให้เปล่า จำนวน 23 โครงการ วงเงิน 15,466 ล้านบาท (2) ความร่วมมือทางการวิชาการในรูปแบบเงินให้เปล่า จำนวน 16 โครงการ วงเงิน 244 ล้านบาท และ (3) โครงการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 35 โครงการ วงเงิน 22.19 ล้านบาท โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม ทั้งสิ้น 439 คน โดยความร่วมมือทางการเงินและทางวิชาการที่ผ่านมา ประกอบด้วย โครงการ ถนน สนามบิน รถไฟ เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งในภูมิภาคให้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุน การค้าชายแดน และการท่องเที่ยวให้มีการขยายตัว โดยนอกจากนี้ สพพ. ยังสนับสนุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้าและประปา รวมถึงการพัฒนาชุมชนเมือง เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการดำรงชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินการที่กล่าวจะเกิดประโยชน์กับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้ เกิดความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้นและประเทศไทยได้รับการยอมรับ รวมถึงประชาชนมีความเข้าใจและความรู้สึกที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านและในบริเวณชายแดนประเทศไทยมีความมั่นคงและปลอดภัย รวมถึงกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากขึ้น มีการขยายตัวทางการค้าและบริการของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน


messageImage_1526030730224

ในระหว่างปี 2561-2564 สพพ. มีแผนที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศเพื่อนบ้านในหลายโครงการ อาทิเช่น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้แก่ โครงการก่อสร้างช่องทางเชื่อมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายสู่ชายแดนไทย-เมียนมา โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเมืองย่างกุ้ง (เขต North Okkalapa และ เขต North Dagon) ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) โครงการพัฒนาถนนหมายเลข 11 (ช่วงครกข้าวดอ-บ้านโนนสะหวัน-สานะคาม-บ้านวัง-บ้านน้ำสัง) โครงการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 12 (R12) (ท่าแขก-ยมมะราด-ลังคัง-นาพาว) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เมืองเชียงแมนแล้วต่อไปยังเมืองหลวงพระบาง และในราชอาณาจักรกัมพูชา ได้แก่ โครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 (NR 67 เสียมราฐ-อัลลองเวง-จวม/สะงำ) กัมพูชา

นายพีรเมศร์ กล่าวอีกว่า ส่วนงานด้านการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงานของ สพพ. นั้นมีแนวทางในการดำเนินงานทางด้านการเงิน โดยเน้นที่มีความมั่นคง โปร่งใส และตรวจสอบได้โดยเป็นภาระต่องบประมาณน้อยที่สุด ช่วงที่ผ่านมาในบางโครงการ สพพ. จะใช้เงินสะสมที่เกิดจากรายรับดอกเบี้ยมาเป็นแหล่งเงินทุน รวมถึงใช้การกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงินภายในประเทศมาสนับสนุนในบางโครงการ


neda3

"ปี 2561 จะมีการเตรียมความพร้อมการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนปี 2562 จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ระยะสั้นด้วยการออกตราสารหนี้ระยะยาว ปี 2563-2564 จะระดมทุนศึกษาความเหมาะสมปีละจำนวน 1 โครงการ ส่วนในอนาคต สพพ. อาจจะแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ เช่น การกู้ต่อจากกระทรวงการคลัง หรือแหล่งเงินทุนอื่น โดยในปี 2561 สพพ. มีแผนที่จะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ระยะสั้นเดิม โดยการออกพันธบัตรภายใต้ชื่อของ สพพ. ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2561 ในวงเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ สพพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งในระดับ AAA จากบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด มีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น"

……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“สกุลไทยฯ”รุกพัฒนาสินค้าสร้างแบรนด์ด้วยนวัตกรรมใหม่มือจับสไตล์ไทยโมเดิร์น
ทีเส็บ เปิดเวทีให้นักศึกษา โชว์ไอเดียนวัตกรรม แก้ปัญหาอุตสาหกรรมไมซ์

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว